9 เหตุผล ทำไม งานก่อสร้าง กับ งานไฟฟ้า ผู้รับเหมามักจะทะเลาะกัน!

สำหรับคนที่เคยสร้างอาคารหรือแม้แต่บ้านหลังเป็นของตนเองต้องเคยเจอกับสถานการณ์ทำนองผู้รับเหมาระหว่างงานก่อสร้างกับงานไฟฟ้ามีปัญหาทะเลาะกันอยู่บ่อย ๆ แน่นอน กรณีเคลียร์กันลงตัว พูดคุยกันได้เรื่องนี้ก็จบสิ้นไปแต่บางครั้งเรามักเห็นว่าผู้รับเหมาแต่ละฝ่ายต่างไม่ยอมกันสุดท้ายคนที่แย่ที่สุดคือผู้จ้างงาน ร้านไทยจราจร จึงอยากมาบอกถึง 9 เหตุผลว่าทำไมช่างรับเหมางานก่อสร้างกับงานไฟฟ้าจึงมักมีปัญหาทะเลากันเป็นประจำ! เผื่อว่าเมื่อรู้ปัญหาแล้วจะได้นำไปปรับหาวิธีแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งจนงานเสียหาย

  1. พื้นฐานการทำงานของทั้งสองประเภทไม่เหมือนกันตั้งแต่แรก – อันนี้เป็นความเข้าใจง่าย ๆ ที่ต่อให้ไม่ได้มีความเข้าใจทั้งเรื่องการรับเหมาก่อสร้างและงานรับเหมาระบบไฟฟ้าคงพอดูกันออก ทำนองว่าแต่ละฝ่ายก็มีแนวทางการทำงานของตนเองที่ชัดเจนมาก ๆ โดยอาจไมได้คำนึงถึงความยากลำบากของอีกฝ่าย เช่น มีการก่อสร้างที่ไปบดบังช่องทางในการเดินสายไฟ เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจกระทบกระทั่งกันได้อันมาจากพื้นฐานการทำงานและความเข้าใจรูปแบบงานตามแนวทางของตนเองมาตั้งแต่แรก
  2. ทำงานโดยยึดความสะดวกตนเองเป็นหลัก – หากบอกว่านี่เป็นเรื่องธรรมชาติคงไม่ใช่เรื่องผิดนัก ไม่ว่าใครเวลาทำงานต่างก็ต้องเอาความสะดวกสบายของตนเองไว้ก่อนทั้งสิ้น คราวนี้ปัญหาคือความสะดวกมันดันไปทำให้กลายเป็นความยากลำบากของช่างรับเหมาคนอื่นเขาเข้า ก็เลยกลายเป็นปัญหาที่ต้องมานั่งทะเลาะกันทั้งที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลย
  3. จำเป็นต้องทำงานในเวลาเดียวกัน – บ่อยครั้งที่เรามักเห็นว่าช่างก่อสร้างกับช่างไฟฟ้าจำเป็นต้องทำงานในเวลาเดียวกัน คราวนี้ปัญหาคือต่างคนต่างก็ต้องการทำงานของตนเองแต่มันติดที่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากอีกฝ่ายกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ จึงกลายเป็นการทะเลาะที่มีสาเหตุหลักมาจากเรื่องเวลา เช่น ช่างก่อสร้างต้องการติดตั้ง ไม้กระดกอัตโนมัติ เช่นกันกับช่างไฟฟ้าต้องการเดินสายไฟ โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ บริเวณหน้าทางเข้าอาคาร เป็นต้น
  4. ต้องรออีกฝ่ายทำงานจนเสร็จจึงต่องานได้ – บางครั้งการทำงานของช่างรับเหมาทั้งสองอาจต้องรอให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำตรงนั้นตรงนี้เสร็จก่อนแล้วตนเองจึงเข้าไปต่องานได้ แต่ปัญหาคือฝ่ายรอก็รอนานเพราะอีกฝ่ายทำไม่เสร็จทำให้เสียเวลาทำอย่างอื่นเยอะมาก ๆ หรือฝ่ายที่ทำก็พยายามรีบทำแต่โดนเร่งมากเกินไป ก็อาจกลายเป็นปัญหาที่เกิดการทะเลาะได้ง่าย ๆ เลย ซึ่งเรามักเห็นเรื่องราวแบบนี้บ่อยมากระหว่างช่างรับเหมากับช่างไฟฟ้า
  5. เกิดการเขม่นกันระหว่างลูกน้องทั้งสองฝ่าย – อันนี้เป็นเรื่องที่สามารถทำให้ทะเลาะกันได้จริง ๆ เนื่องจากลูกน้องของแต่ละฝ่ายก็มาจากร้อยพ่อพันแม่ ไม่ได้รู้นิสัยอะไรกันมากว่าคนนั้นคนนี้เป็นอย่างไร หากเจอหน้ากันแล้วมีการเขม่น ไม่ชอบหน้า หรือมีการกลั่นแกล้งก็อาจทำให้เกิดการทะเลาะได้ง่ายมาก ๆ แถมเรื่องมันจะไม่จบเอาด้วยหากเจอสาเหตุนี้เข้าไป
  6. อีกฝ่ายทำงานไม่เรียบร้อยจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ – บางทีการทำงานแบบไม่เรียบร้อยของช่างรับเหมาฝ่ายหนึ่งอาจสร้างอุบัติเหตุให้กับอีกฝ่ายจนกลายเป็นเรื่องทะเลาะกันได้ง่าย ๆ เลย เช่น ช่างก่อสร้างมีการทำงานที่เกี่ยวกับน้ำแล้วพื้นเปียก ปรากฏไม่มีการเอา ป้ายตั้งพื้น หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ไปติดไว้ ช่างไฟฟ้าเดินไฟมาเจอน้ำอาจทำให้เกิดการช็อตได้ง่าย ๆ จนเป็นเหตุให้อีกฝ่ายบาดเจ็บรุนแรง เป็นต้น
  7. ไม่เก็บอุปกรณ์ของตนเองให้เรียบร้อยเมื่อเสร็จงานในแต่ละวันทำให้อีกฝ่ายยุ่งยากมากขึ้น – แม้จะบอกว่ายังไงพรุ่งนี้ก็ต้องมาทำต่อ จึงคิดเองว่าวาง ๆ กันเอาไว้แบบนี้คงไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมว่าเมื่อไหร่ก็ตามหากมีช่างฝ่ายอื่นเข้ามาทำงานแล้วดันเจอกับอุปกรณ์ที่วางเรี่ยราดก็อาจทำให้เกิดการทะเลาะกันได้ง่าย ๆ เลย เช่น ช่างไฟฟ้าเตรียมติดตั้ง ไฟฉายสปอตไลท์ ในอาคารก็เลยนำมาวางกอง ๆ รวมกันไว้ พอช่างก่อสร้างมาก็ทำงานต่อไม่ได้ต้องเก็บให้เป็นที่เป็นทาง
  8. จุดประสงค์ของการทำงานบางข้อไม่เหมือนกัน – เข้าใจดีว่าเมื่อพื้นฐานการทำงานต่างกันวัตถุประสงค์การทำงานบางข้ออาจต่างกันตามไปด้วย เช่น ช่างก่อสร้างต้องการให้อาคารสำเร็จเป็นโครงก่อนแล้วค่อยเดินสายไฟทุกชั้น แต่ช่างไฟฟ้าอาจมองว่าเดินไล่ไปตามชั้นทีละชั้นก็ได้เพื่อไม่ให้เสียเวลา เป็นต้น ตรงนี้เป็นอีกเหตุของการทะเลาะ
  9. ไม่พอใจการกระทำของอีกฝ่าย – อันนี้เป็นสาเหตุโลกแตกที่บางครั้งเราอาจหาคำตอบไม่ได้และไม่รู้ต้องแก้ไขยังไงเหมือนกันนอกจากจะหาช่างรับเหมาเจ้าใหม่ที่มีทัศนคติดีกว่านี้เข้ามาทำงานด้วย เพราะเหตุผลบางอย่างมันก็ไม่มีเหตุผลในตัวเอง

 

ทั้ง 9 เหตุผลที่ทาง ร้านไทยจราจร ได้กล่าวมานี้ต้องบอกว่าสามารถเกิดขึ้นได้เสมอระหว่างช่างรับเหมาก่อสร้างกับไฟฟ้า ทางที่ดีการทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสมควรมีความเกรงใจกัน เข้าใจรูปแบบการทำงานของอีกฝ่าย อย่าเอาแต่ความสะดวกของตนเองมากเกินไป เห็นอกเห็นใจ ร่วมกันทำเป้าหมายให้สำเร็จลุล่วง เชื่อว่างานที่ออกมาจะต้องดีดังที่ทั้งคู่ตั้งใจอยากให้เป็นตั้งแต่แรกแน่ ๆ ผู้จ้างก็สบายใจด้วย