อย่าทำสิ่งนี้!! ถ้าคุณกำลังออกแบบ ลานจอดรถ

ปัญหาเรื่องการหาที่จอดรถเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับปัญหาจราจรติดขัด สำหรับกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะไปที่ไหน นอกจากต้องวางแผนเส้นทางที่รถจะวิ่งผ่านแล้ว ยังต้องวางแผนการจอดรถด้วย ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือหน่วยงานราชการต่าง ๆ หรือแม้แต่ในที่พักอาศัยอย่างคอนโดมิเนียม ลานจอดรถก็เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของโครงการคอนโดมิเนียมด้วย

การออกแบบลานจอดรถจึงมีความสำคัญที่ต้องเพียงพอต่อการใช้งาน และต้องทำให้ถูกต้องตามหลักการของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ พรบ.การควบคุมอาคาร ปี 2522

ร้านไทยจราจรจึงได้รวบรวม 12 ข้อ “อย่าทำ” สำหรับผู้ที่กำลังอยู่ระหว่างออกแบบอาคาร หรือแม้แต่อาคารที่สำเร็จแล้วก็ควรปรับปรุง หากมีลักษณะเข้าข่าย “ข้อห้าม” ดังต่อไปนี้

1. หากพื้นที่จอดที่มีอยู่เดิม หรือกำลังออกแบบให้มีดีไซน์ใหม่ ๆ แต่ไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถือว่าไม่ควรทำ เพราะมีผลต่อวิสัยทัศน์ในการกะระยะจอดรถและการเข้าออกจากช่องจอดรถ

2. มีมุมมืด จุดหักศอกหรือจุดบอดมากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่ออุบัติภัยได้สูง ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งกระจกโค้งจราจร เพื่อช่วยเพิ่มมุมมองการเห็นจุดหักศอกต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

3. หากมีพื้นที่จอดที่มีความกว้างที่น้อยกว่า 2.4 เมตร หรือความยาวน้อยกว่า 5.5 เมตร เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขโดยด่วน เพราะมาตรฐานขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คือกว้าง 2.4 เมตร ยาว 5.5 เมตร ซึ่งหากแก้ไขพื้นที่ให้กว้างและยาวกว่านี้ได้ จะช่วยลดอุบัติเหตุจากการตั้งองศาการจอดรถที่ยากลำบากได้ดีขึ้น เช่น ควรให้ความยาวของทรงพื้นที่สี่เหลี่ยมจอดรถแต่ละคันไม่น้อยกว่า 6 เมตร หากมุมองศาในการหักเลี้ยวแคบกว่า 30 องศา

ทั้งนี้ แนะนำให้ติดตั้ง ยางกันชนขอบเสา เพื่อเป็นจุดสังเกตที่ชัดเจนในการถอยรถเข้าซอง และลดความรุนแรงจากการเฉี่ยวชนเสาอาคารจอดรถได้ด้วย

4. การไม่มีไฟส่องสว่างสำหรับพื้นที่จอดรถแต่ละคัน ทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นสิ่งกีดขวางลดลง และทำให้ผู้เป็นเจ้าของรถรู้สึกไม่ปลอดภัยในการจอด เช่น หากต้องลงมาที่ลานจอดรถช่วงกลางคืนหรือเช้ามืด เพราะเสี่ยงต่อภัยรูปแบบต่าง ๆ

ในจุดนี้สามารถแก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการติด โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ บริเวณดังกล่าว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่สุดคุ้ม เพราะชำระแต่ค่าอุปกรณ์ติดตั้งครั้งเดียว ก็สามารถใช้พลังงานธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ที่แผงโซล่าเซลล์เก็บไว้เพื่อสองสว่างได้นานข้ามคืน ซึ่งการรันตีได้ว่าไม่มีผลทำให้ค่าไฟฟ้าของหน่วยงานหรือองค์กรเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน

5.  การไม่มีการตีเส้นที่พื้น สำหรับเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้ขับขี่ถอยจอดอย่างเป็นระเบียบ และที่สำคัญคือการตีเส้นจะทำให้การกะระยะถอยจอดรถเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับอาคารใหญ่อย่างคอนโดมิเนียมหรือโรงแรมห้าดาว หรือห้างสรรพสินค้าที่มีหลายอาคารจอดรถ ซึ่งมีคนใช้บริการมากตลอดทั้งวัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความรวดเร็วในการจอดรถมีผลต่อภาพรวมการบริหารจัดการลานจอดรถอย่างมาก

6. การไม่มี แผงกั้นจราจร แบบมีล้อเลื่อน หรือ กรวยจราจรสะท้อนแสง ในการกั้นเขตพื้นที่และระบุทิศทางการเคลื่อนตัวของรถ ทำให้เกิดความสับสนว่าควรเลี้ยวซ้ายหรือขวา ทิศใดเป็นทางเข้าหรือทางออกจากตัวอาคาร ทำให้เกิดการจราจรติดขัดภายในลานจอดรถ ส่งผลต่อความประทับใจ “ในเชิงลบ” ในการใช้งานอาคารจอดรถได้

7. การไม่ระบุความสูงของอาคาร ด้วย ป้ายจำกัดความสูง ที่กำหนดให้รถผ่านเข้าออกได้ ทำให้เกิดปัญหารถบรรทุกขนส่งความสูงเกินกำหนด และทำให้รถคันอื่น ๆ ที่ใช้ลานจอดรถร่วมกัน ต้องรอนานในการแก้ไขปัญหา

8. การไม่มี เสาหลักอ่อนสะท้อนแสง หรือ ที่บังคับเดินรถทางเดียว สำหรับบริเวณที่มีข้อจำกัดในการใช้พื้นที่ที่มีลักษณะเป็นคอขวดในบางจุด ทำให้ผู้ขับขี่ที่พลาด “ขับหลง” เข้ามาแบบสวนทาง ต้องหาที่กลับรถหรือเกิดปัญหารถติดขัด การจราจรชะงักในลานจอดรถได้

9. การไม่มี ที่กั้นที่จอดรถ สำหรับบริเวณที่ต้องการความเป็นส่วนตัวบริการระดับพรีเมี่ยมสำหรับลูกค้าพิเศษ หรือผู้บริหารขององค์กร ทำให้ขาดความเป็นมืออาชีพและส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทหรือหน่วยงาน หากพบว่ามีบุคคลอื่นเข้ามาจอดแทนที่

10. การไม่มี แถบเทปสะท้อนแสง หรือ หมุดจราจร ติดถนนตามจุดเสี่ยง เช่น มุมเลี้ยวโค้ง หรือทางลาดชันต่าง ๆ ทำให้เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ รถชนกำแพง หรือแหกโค้งได้ง่าย โดยเฉพาะลานจอดรถบนตึกสูงที่มีความชันมาก ๆ

11. การไม่มีตัวช่วยชะลอความเร็วลดอย่าง ยางกันกระแทก ทำให้รถที่แล่นมาด้วยความเร็ว ในลานจอดรถขนาดใหญ่ เช่น ตามโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม หรือตามศูนย์จัดแสดงสินค้าขนาดใหญ่ เกิดอุบัติเหตุรถชนกันได้ง่าย

12. การไม่มี ป้ายเตือน เช่น การบอกช่วงเวลาที่ ไม่อนุญาต สำหรับการจอดรถในบางโซน โดยเฉพาะสถานที่ราชการ หรือหน่วยงานที่มีบุคลากรดูแลงานจราจรจำนวนจำกัด ทำให้ผู้ขับขี่เกิดความล่าช้าในการหาที่จอดรถ

ร้านไทยจราจรหวังว่า 12 ข้อ อย่าทำ ที่กล่าวมา จะเป็นแนวทาง สำหรับการออกแบบลานจอดรถ รวมถึงเป็นคำตอบสำหรับการลดอุบัติภัยในลานจอดรถ ควบคู่กับการบริหารลานจอดรถได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากท่านสนใจสินค้าคุณภาพเพื่อการจราจร เชิญเข้าชมได้ที่ www.trafficthai.com ตลอด 24 ชั่วโมง