10 เหตุผล ที่คุณต้องมีบันไดหนีไฟแบบพกพาไว้ติดบ้าน

บันไดหนีไฟแบบพกพา คืออุปกรณ์สำหรับหนีไฟที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองพื้นที่อาคารที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัด หรืออาคารที่ไม่สามารถสร้างบันไดถาวรมาใช้งานได้ วิธีการใช้งานอุปกรณ์บันไดสำหรับหนีไฟชนิดนี้จะถูกนำมาใช้เมื่อเกิดเพลิงไหม้และต้องการอพยพออกจากห้อง ให้รวบรวมผู้ที่อยู่ในบ้านเข้าไปในห้อง จากนั้นปิดประตูห้องเสียก่อนเพื่อป้องกันแรงลมที่อาจโหมให้ไฟในตัวบ้านรุนแรงมากขึ้น ก่อนวางบันไดที่หน้าต่าง ควรตรวจสอบก่อนว่าความกว้างของตะขอเหมาะสมหรือไม่ ควรปรับให้พอดีโดยการวางแล้วเช็คว่าไม่มีการขยับหรือเคลื่อนไหวของตัวอุปกรณ์ เพราะหากอุปกรณ์สามารถเคลื่อนไหวไปมา อาจส่งผลให้เกิดอันตรายในขณะใช้งานได้ จากนั้นวางตะขอพาดขอบหน้าต่างให้ส่วนตัวบันไดหันออกไปนอกหน้าต่าง ปลดล็อคที่รัดบันไดออก ตรวจสอบว่าขั้นบันไดกางเรียบร้อยดีแล้ว จึงค่อย

อันตราย!! ถ้าไม่มี 10 อุปกรณ์เหล่านี้เมื่อเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร

เพลิงไหม้นับเป็นอุบัติภัยร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอาคารสถานที่ ขอเพียงมีเชื้อเพลิง ออกซิเจน และความร้อนที่เหมาะสมก็สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกันกลายเป็นเพลิงไหม้ได้ ยิ่งภายในอาคารมีเชื้อเพลิงจัดเก็บไว้ในปริมาณมาก หรือมีลักษณะของการไวไฟมากเท่าไรความเสียหายจากการเกิดเพลิงไหม้ก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเหตุดังกล่าวสามารถป้องกันหรือเตรียมการรับมือเพื่อให้สามารถระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสียหายอันเกิดจากเพลิงไหม้ให้ลดลง เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ที่อยู่ภายในอาคารและสถานที่นั้น ๆ ซึ่งหนึ่งในการเตรียมการณ์ที่จำเป็นที่ทางร้านไทยจราจรอยากจะขอแนะนำนั้นก็ก็คืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยป้องกันและบรรเทาอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้  

ถังดับเพลิง ควรใช้ขนาดเท่าไหร่ ติดยังไง มาดูกัน !

ถังดับเพลิง คืออุปกรณ์ที่ช่วยระงับเหตุเพลิงไหม้ที่ใช้งานได้สะดวก อาคารทุกประเภทสามารถนำไปใช้งานได้เพื่อเพิ่มมาตรการความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินได้เป็นอย่างมาก แต่เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่ดี การเลือกซื้อถังดับเพลิงจึงต้องเริ่มตั้งแต่การพิจารณาประเภทของถังดับเพลิง ขนาด และคุณภาพของตัวถังดับเพลิง เมื่อเลือกซื้อถังดับเพลิงได้แล้วยังต้องติดตั้งอย่างเหมาะสม เพื่อการหยิบใช้งานสะดวก เข้าถึงได้ง่าย รวมถึงการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ดี ซึ่งตามที่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมระบุว่าขนาดของถังดับเพลิงแบบพกพาที่ดีจะต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 4.5 กิโลกรัม มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา

7 ข้อกำหนด มาตรฐาน การติดตั้ง ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)

ไฟฉุกเฉินเป็นระบบแสงสว่างที่จะทำงานเมื่อระบบไฟฟ้าตามปกติถูกตัด หรือดับไปอันเนื่องมาจากสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างการเกิดเพลิงไหม้ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารสามารถมองเห็นและจัดการสถานการณ์ตรงหน้าให้ดีและปลอดภัยมากขึ้น นับเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและมีการกำหนดเป็นมาตรฐานของอุปกรณ์ และวิธีการติดตั้ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งาน ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทุกคนที่อยู่ภายในอาคาร ทางร้านไทยจราจรขอชี้แจงรายละเอียดตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ ดังต่อไปนี้   1.การเตรียมการก่อนติดตั้ง ความปลอดภัยจากแสงสว่างฉุกเฉินจะเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับความร่วมมือจากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่ต่าง ๆ เพื่อความพร้อมที่มีประสิทธิภาพและตรงตามที่กฎหมายกำหนดนั้น

9 อุปกรณ์ ที่ช่วยให้คุณรอดตาย ในขณะเกิดเพลิงไหม้

“โจรปล้น 10 ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว” ประโยคนี้คือข้อความที่แสดงให้เห็นว่าการเกิดเพลิงไหม้คือภัยที่ใหญ่หลวง สามารถทำความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารนั้น ๆ มากมายกว่าการถูกปล้นถึง 10 เท่าเลยทีเดียว ดังนั้นการเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงนี้จึงมีความสำคัญมาก ทั้งอุปกรณ์ที่ดีและเหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงความเตรียมความพร้อมในการใช้งานของผู้อยู่อาศัยทุกคน ซึ่งทางร้านไทยจราจรขอแนะนำอุปกรณ์ที่สามารถช่วยให้คุณรอดตายในกรณีเกิดไฟไหม้ ดังต่อไปนี้ 1.ถังดับเพลิง

9 จุดที่ต้องมี!! ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) ในอาคาร

ไฟฉุกเฉินคืออุปกรณ์ให้แสงสว่างที่ทำงานเมื่อไฟฟ้าดับเพื่อนำทางให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารสามารถหาทางออกมายังภายนอกอาคารได้อย่างถูกต้อง หลักการทำงานของไฟที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินคือการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 แบบ คือแบบที่ต้องเติมน้ำกลั่น และแบบแห้งที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ซึ่งเมื่อไฟฟ้าดับจะมีการดึงไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไปใช้ให้หลอดไฟส่องสว่าง แต่หากยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่วงจรจะแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นกระแส DC แล้วส่งไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ โดยไม่มีการจ่ายกระแสไฟไปที่หลอดไฟ หลอดไฟจึงดับสนิทอยู่ นับเป็นอุปกรณ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่พักอาศัยอยู่ภายในอาคารมีความปลอดภัยมากขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไฟฟ้าดับในเวลากลางคืน

10 เหตุผลที่คุณควรใช้ “เหล็กชะลอความเร็ว”

สำหรับสถานที่บางแห่งที่มีพื้นที่ค่อนข้างแคบ มีช่องทางสำหรับเดินรถค่อนข้างจำกัด หรือเป็นสถานที่ที่มีคนค่อนข้างพลุกพล่าน มีกิจกรรมหนักตลอดทั้งวัน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุนั้น อุปกรณ์ชะลอความเร็ว คือสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องมีติดตั้งไว้ในสถานที่เหล่านั้น เพื่อยับยั้งไม่ให้รถที่เข้ามาในสถานที่ขับเร็วเกินไปจนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อุปกรณ์ชะลอความเร็วที่มีการผลิตออกมาในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ยางชะลอความเร็ว และเหล็กชะลอความเร็ว

10 มาตรฐานการกรมทางหลวง ในการติดตั้ง ป้ายจำกัดความเร็ว

ป้ายจำกัดความเร็ว คือป้ายจราจรชนิดหนึ่งที่ในปัจจุบันถูกนำออกมาใช้งานกันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าคุณจะขับรถไปตามถนนสายไหน คุณก็คงจะเคยเห็นป้ายนี้ตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ ทั้งสิ้น  โดยปกติ คุณคงจะคุ้นเคยดีกับป้ายจำกัดความเร็วที่มีลักษณะเป็นป้ายวงกลม มีขอบสีแดง พื้นหลังสีขาว มีตัวเลขที่เป็นหมึกดำพิมพ์อยู่ตรงกลางป้าย ซึ่งนั่นก็คือตัวเลขความเร็วที่อนุญาตให้วิ่งได้นั่นเอง แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ที่จริงแล้ว ป้ายจำกัดความเร็ว

10 อุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย ถ้าต้องการจอดรถไหล่ทางเพื่อส่งสินค้า

สำหรับการส่งสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ นั้น การจอดรถไหล่ทางเพื่อส่งสินค้า น่าจะเป็นหนึ่งในวิธีการที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการจอดรถที่สะดวกที่สุด รวมถึงยังขนย้ายสิ่งของได้สะดวกที่สุดด้วย แต่ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่า การจอดรถไหล่ทางเพื่อส่งสินค้า มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายระหว่างที่กำลังจอดอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการถูกรถที่ขับตามหลังมาชนท้าย และอื่น ๆ  เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้

10 ข้อ ที่ตำรวจจะตรวจคุณ ถ้า “คุณมีรถบรรทุก”

ปัจจุบันมีธุรกิจงานบริการด้วยรถบรรทุกมากขึ้น เพราะการขยายตัวของกิจการตามนโยบายเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศ ทำให้งาน logistics หรือการขนส่งสินค้ามีการขยายตัวอย่างสูง ร้านไทยจราจรจึงได้รวบรวม 10 ข้อควรทราบสำหรับผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับรถบรรทุก สำหรับการถูกเรียกตรวจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ดังนี้ ต้องมีเอกสารราชการที่แสดงถึงการได้รับอนุญาตถูกต้องครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ จากนายทะเบียนของกรมการขนส่งเสียก่อน หากไม่มีส่วนนี้ให้ตรวจสอบได้