บริหารความปลอดภัยในพื้นที่โรงพยาบาล ด้วยเครื่องหมายจราจร

          บริหารความปลอดภัยในพื้นที่โรงพยาบาล การดูแลความปลอดภัยในโรงพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน หากผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือประชาชนผู้เข้ารับการรักษาประสบอุบัติเหตุภายในโรงพยาบาล ย่อมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของโรงพยาบาล ซึ่งการบริหารความปลอดภัยนอกจากให้ความสำคัญต่อการออกแบบโครงสร้างอาคาร เครื่องมืออุปกรณ์แล้ว อุบัติเหตุที่เกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างอุบัติเหตุรถชนก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ฝ่ายอาคารสถานที่จึงควรมองหา วิธีลดอุบัติเหตุ ด้วยการใช้สัญลักษณ์จราจรอย่างเหมาะสมในพื้นที่ได้แก่ 1.ที่จอดรถในอาคาร 2.ที่จอดรถนอกอาคาร และ 3.การใช้ป้ายและสัญลักษณ์จราจรภายในอาคาร เพื่อให้การบริหารความปลอดภัยในพื้นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มารูปภาพ  : https://pixabay.com/th/photos/

บริหารความปลอดภัยในพื้นที่โรงพยาบาล และการใช้สัญลักษณ์จราจรในที่จอดรถภายในอาคาร

           โรงพยาบาลบางแห่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่พิเศษ แต่ละวันมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องขยาย ที่จอดรถ ให้เพียงพอต่อปริมาณรถเข้าและออก โรงพยาบาลเหล่านี้จึงเลือกออกแบบ  ที่จอดรถภายในอาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกและให้กลุ่มเปราะบางอย่าง เด็ก คนชราและคนท้อง สามารถหาทางเดินเข้าอาคารได้โดยง่าย เครื่องหมายจราจร จึงมีบทบาทให้คนในครอบครัวดูแลคนกลุ่มดังกล่าวได้ง่ายกว่าเดิม เริ่มต้นด้วยการออกแบบให้ทางเข้าอาคารที่จอดรถมองเห็นได้ชัดเจน ทางเข้าอาคารจอดรถควรมีการกำหนดส่วนสูง เช่น 2.50 เมตร – 4 เมตร และติดควบคู่ไปกับคานกำหนดส่วนสูง เพื่อป้องกันมิให้รถบรรทุกสิ่งของเข้ามา ที่อาจส่งผลให้อาคารเสียหาย และแบ่งเลนรถเข้า-รถออกภายในอาคารด้วยการใช้ กรวยจราจร หรือเครื่องหมายแบ่งเลนการเดินรถ เพื่อป้องกันรถยนต์ขับผิดเลนได้ หรือตั้งจุดรักษาความปลอดภัยบริเวณทางเข้าสำหรับป้องกันรถยนต์ผิดประเภทเข้ามาจอด เช่น รถบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าข้อบังคับตามกฎหมายกรมทางหลวง หรือเป็นรถที่มีความสูงมากกว่ากำหนด ในบริเวณลานจอดรถแต่ละชั้นทางฝ่ายอาคารสถานที่ อาจพิจารณาว่าควรติดตั้งอุปกรณ์ใดเพื่อให้การสัญจรในแต่ละชั้นเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ เช่น เพิ่มป้ายแสดงจำนวนรถว่างในลานจอดรถว่า เหลือพื้นที่จอดรถเท่าใด และรถเต็มหรือไม่ หากไม่มีที่จอดรถแล้ว ผู้ขับขี่อาจเปลี่ยนไปใช้ลานจอดรถชั้นอื่นๆ ลดการเสียเวลาของผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ภายในอาคารสามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้การสัญจรในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 

             (1) เครื่องหมายบอกทิศทางการจราจรของพื้นที่ เนื่องจากถนนในลานจอดรถโดยส่วนมาก เป็นถนนเลนสวน ขนาดของถนนค่อนข้างแคบ การบริหารทิศทางการขับรถจึงเป็นเรื่องสำคัญ ป้องกันรถขับสวนเลน เช่น เส้นแบ่งช่องทางเดินรถเส้นทึบสีเหลือง หรือใช้ลูกศรกำหนดช่องการเดินรถ และนำ ป้ายจราจร มาติดตั้งในพื้นที่เพื่อกำหนดข้อห้ามและข้อแนะนำในการขับรถยนต์ อาจเป็นป้ายกำหนดความเร็วในการขับขี่ หรือป้ายบังคับอย่างป้ายห้ามจอด ในบริเวณที่มีบุคคลเดินเข้า-ออกมา จึงควรทำเครื่องหมายทางม้าลายบริเวณทางเข้าอาคารเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานทางเท้า และ 

            (2) อุปกรณ์สนับสนุนในลานจอดรถ เช่น ไฟแจ้งเตือนในช่องจอดรถสำหรับแสดงสัญญาณไฟว่าที่จอดรถว่างหรือไม่ หากว่างจะแสดงสัญญาณไฟให้ผู้ขับรถเข้ามาจอดได้โดยไม่ต้องวนหาที่จอด หรือยางกั้นล้ออันมีคุณสมบัติแบ่งสัดส่วนที่จอดรถยนต์ให้มองเห็นได้ง่ายในเวลากลางคืน และเทปติดถนนสะท้อนแสงสำหรับการแสดงสัญลักษณ์บนพื้นทาง มีข้อดีคือไม่จำเป็นต้องทาสีภายในอาคารจอดรถ ซึ่งสีใช้เวลานานกว่าจะแห้ง ประกอบกับแสงแดดส่องเข้าถึงน้อย การใช้เทปจะช่วยย่นระยะเวลาในการทำสัญลักษณ์ ทั้งยังช่วยป้องกันถนนลื่น และไม่ต้องคอยทาสีใหม่บ่อย ๆ อีกด้วย

ที่จอดรถนอกอาคารกับสัญลักษณ์จราจร

              ที่จอดรถภายนอกสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในหลายสถานที่ตั้งแต่ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า จนไปถึงโรงพยาบาล แต่การออกแบบที่จอดรถของโรงพยาบาลมีข้อกำหนดแตกต่างไปจากสถานที่อื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ๆ 3 ข้อคือ 

         (1) เพื่อให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ และบุคลากรโรงพยาบาลมีที่จอดรถอย่างเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาแย่งหาที่จอดกับบุคคลภายนอก สามารถเข้าทำงานโดยรักษาคนไข้เคสฉุกเฉินได้ทันเวลา ซึ่งฝ่ายอาคารและสถานที่อาจพิจารณาติดตั้งป้ายจองสำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตรงที่จอดรถ 

         (2) บริการสำหรับการใช้งานตึกฉุกเฉิน โดยโรงพยาบาลมีข้อกำหนดว่าห้องฉุกเฉินจำเป็นต้องอยู่ในห้องมีความสะดวกที่สุด ส่วนมากเป็นชั้นแรก และตึกฉุกเฉินต้องตั้งอยู่ในจุดที่เหมาะสมบริเวณด้านหน้า มองเห็นได้ง่าย มีที่จอดรถรองรับสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ป่วย ด้วยการออกแบบมิให้บุคคลภายนอกมาจอดซ้อนทับพื้นที่สำหรับรถตู้รับผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น ใช้ป้ายเตือนกำหนดเขตห้ามจอด หรือแสดงสัญลักษณ์แถบแดงสลับกับสีขาวบริเวณขอบฟุตบาท นอกจากนี้การออกแบบทางขึ้นตึกฉุกเฉินต้องเป็นพื้นเรียบ ไม่มีผิวขรุขระบนทางขึ้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับรถเข็น และรถ wheel chair ที่มีโอกาสหกล้ม และ (3) ที่จอดรถสำหรับบริการทั่วไปภายในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นพื้นที่ลานจอดรถนอกอาคารขนาดกว้าง โรงพยาบาลขนาดใหญ่ต่างจังหวัดมักไม่สร้างอาคารที่จอดรถ เพราะไม่แออัดเหมือนกับโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ โดยหลักการออกแบบที่จอดรถต้องมีป้ายแนะนำบอกทางว่าอยู่ตรงจุดใดของโรงพยาบาล การติดตั้งป้ายจะช่วยลดระยะเวลาการเดินจากที่จอดรถไปยังอาคารต่าง ๆ 

            ผู้ป่วยสามารถถึงมือของแพทย์อย่างรวดเร็ว ทางเข้า-ทางออกของโรงพยาบาลควรมีจุดรักษาความปลอดภัยที่มีไม้กั้น ใช้สำหรับป้องกันบุคคลผู้ไม่หวังดีเข้ามาทำลายทรัพย์สินของโรงพยาบาล และเครื่องมือที่ช่วยลดอุบัติเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ยางชะลอความเร็วอันมีคุณสมบัติให้รถที่ขับเข้ามาลดความเร็วในการขับขี่ ในช่วงเวลากลางวัน และกลางคืนเพราะมีแสงสะท้อนจากพลาสติกที่ช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็น หรือการติดตั้งกระจกโค้งจะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถสังเกตรถที่ขับมาจากมุมอับในพื้นที่แคบ ๆ ของโรงพยาบาล 

           นอกจากนี้ ที่จอดรถมอเตอร์ไซค์ ควรสร้างไว้ใกล้เคียงกับที่จอดรถยนต์ และมีมากพอสำหรับรองรับการใช้งาน โรงพยาบาลบางแห่งอาจสร้างไม่เพียงพอต่อความต้องการ สังเกตได้จากในช่วงโควิด มักมีมอเตอร์ไซค์จอดซ้อนคันกับรถยนต์ ทำให้รถที่ขับเข้าและออกติดขัด ต้องรอให้เจ้าของรถมอเตอร์ไซค์มาถอยรถออกไป หรือจอดในบริเวณซอกตึก ดังนั้นการเตรียมพื้นที่รองรับกับเหตุฉุกเฉินสำหรับรถทุกประเภทจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กับการสร้างที่จอดสำหรับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ

การใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ ภายในอาคารโรงพยาบาล

              โรงพยาบาลประกอบด้วยพื้นที่ส่วนต่าง ๆ มากมาย อาทิ หอพักผู้ป่วยใน (IPD) ห้องจ่ายยา รวมไปถึงห้องตรวจโรคทั้งอายุรกรรมและโรคเฉพาะทาง การสัญจรในอาคารข้างในจึงจำเป็นต้องมีการใช้เครื่องป้ายและสัญลักษณ์ เพื่อบ่งบอกว่าภายในพื้นที่มีการเดินทางอย่างไร ผู้ใช้บริการรายใหม่ส่วนมากมีปัญหาในการเดินหาห้องตรวจโรค (โรงพยาบาลรัฐพบบ่อย) ดังนั้นในแต่ละชั้นควรมีแผนผังว่าประกอบด้วยห้องใดบ้าง ฝ่ายอาคารสามารถจัดทำป้ายระบุชื่อห้องและชื่อชั้น กับบริษัทที่รับทำป้ายรูปแบบเฉพาะทาง หรือใช้เทปสะท้อนแสงแบ่งเลนเข้าและออกบนทางเดินภายในอาคารก็ได้ หากโรงพยาบาลมีพื้นที่สัญจรจำกัด นอกจากใช้ป้ายบอกทางแล้ว ป้ายห้ามเข้า รวมไปถึงป้ายรูปแบบอื่น ๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เช่น 

           (1) ป้ายห้ามเข้าในพื้นที่หวงห้าม – โรงพยาบาลที่อยู่ในระหว่างการต่อเติมอาคารใหม่ หรือห้องที่มีสารเคมีและรังสี ควรมีการติดตั้งป้ายชนิดนี้ก่อนที่ผู้ใช้บริการจะเดินหลงเข้าไป เนื่องจากเป็นอันตรายต่อบุคคลภายนอกโดยเฉพาะบุคคลที่ไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกัน 

          (2) ป้ายทางหนีไฟและป้ายจุดรวมพล – ทุกโรงพยาบาลแม้จะมีการออกแบบอาคารให้ทนกับอัคคีภัย ก็ยังมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ ป้ายหนีไฟจะช่วยให้ผู้ป่วยที่ยังสามารถขยับร่างกายได้ มีโอกาสหนีออกจากพื้นที่ไฟไหม้ หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลก็อาจรอดชีวิตจากไฟไหม้ได้ และทุกโรงพยาบาลย่อมมีการฝึกซ้อมหนีภัยอยู่แล้ว เมื่อเกิดไฟไหม้เจ้าหน้าที่จะมายังจุดรวมพลเพื่อนับจำนวนคนที่หนีรอดออกมาได้ และมีโอกาสกลับเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายในอาคาร

เห็นได้ว่าการบริหารความปลอดภัยด้วยเครื่องหมายจราจร มีประโยชน์ทั้งพื้นที่จอดรถในอาคารและนอกอาคาร อีกทั้งยังนำมาประยุกต์ใช้งานกับการสัญจรภายในอาคารได้ด้วย หากกำลังมองหาเครื่องหมายจราจรที่ได้มาตรฐานกรมทางหลวง และอุปกรณ์ช่วยซัพพอร์ตความปลอดภัย รวมทั้งการเดินทางภายในพื้นที่ บริษัทไทยจราจรมีป้ายจราจรทุกชนิดที่มีคุณสมบัติรองรับกับรูปแบบของโรงพยาบาล ช่วยลดอุบัติเหตุได้แน่นอน