ใครทำหน้าที่อะไร?? เมื่อมีเหตุไฟไหม้เกิดขึ้น ในอาคาร คอนโด หรือ ห้างสรรพสินค้า

Fire

เหตุการณ์อัคคีภัยหรือไฟไหม้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับอาคารของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นกิจการห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารที่ทำงาน ที่พักอาศัย เช่น คอนโดมิเนียม เพราะนอกจากจะสร้างความเสียหายในทันทีจากเพลิงที่ลุกลามแล้ว ยังตามมาด้วยการต้องปิดอาคารหรือหยุดกิจการชั่วคราว เพื่อซ่อมบำรุงและกู้คืนชื่อเสียงด้านความปลอดภัยด้วย

ดังนั้น เพื่อที่จะลดความรุนแรงและความสูญเสียจากเหตุการณ์อัคคีภัย หรือไฟไหม้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการซักซ้อมแผนรับมือต่ออัคคีภัย ด้วยการแบ่งหน้าที่อย่างเป็นระบบ แจกแจงงานด้านต่าง ๆ เพื่อร่วมกันรับผิดชอบแบบสอดประสานเพื่อความสมบูรณ์แบบในการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งแต่ละฝ่ายควรทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ดังที่ ร้านไทยจราจร ได้รวบรวมมา คือ

1. ฝ่ายประสานหรือแจ้งเหตุไฟไหม้กับองค์กรรัฐ เช่น หน่วยบรรเทาอัคคีภัย หรือสถานีดับเพลิงที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่เพลิงไหม้ หรืออยู่ใกล้ที่สุด เพื่อรีบระงับเหตุด้วยอุปกรณ์ที่ครบถ้วนและมีความเป็นมืออาชีพมากที่สุด โดยการตั้งให้ผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงสุดด้านงานความปลอดภัย หรือผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เป็นประธานงานฝ่ายนี้ เพื่อเป็นคำสั่งสุดท้ายเด็ดขาดในการใช้แผนอพยพหนีไฟและมีการประสานความช่วยเหลือกับองค์กรภายนอกอย่างเป็นระบบ

ซึ่งในระหว่างที่มีการแจ้งเหตุการณ์ไฟไหม้กับหน่วยงานภายนอก จะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งทั้งคนภายในอาคารให้ทราบว่าเกิดอัคคีภัย ด้วยการใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่ทรงประสิทธิภาพ เช่น

– ไซเรนเสียง เป็นเครื่องมือส่งสัญญาณเสียงเตือนภัยที่มีความดังมากถึง 180 เดซิเบล ในรัศมีที่ไกลถึง 0.8 กิโลเมตร

– ไซเรนเสียงพร้อมไฟหมุน

สามารถใช้เตือนภัยได้อย่างดีทั้งทางสี (ไฟที่หมุนเป็นสีแดง) และเสียงที่มีความดังถึง 110 เดซิเบล ทำให้สามารถเตือนให้บุคลากรภายในอาคารทราบได้ทันทีว่ากำลังเกิดเหตุฉุกเฉิน

– ไซเรนมือหมุน

เป็นสัญญาณเตือนที่เป็นระบบมือ ไม่ใช้ไฟฟ้า จึงเป็นการเตือนภัยด้วยสัญญาณเสียงแบบพกพาง่ายที่สุด ด้วยความดังของเสียง 110 เดซิเบล ทำให้ได้ยินไกลถึงครึ่งกิโลเมตร เพียงพอที่จะเตือนภัยในอาคารพักอาศัยและคอนโดมิเนียม รวมถึงออฟฟิศที่ทำงานขนาดเล็กถึงขนาดกลางได้

2. ฝ่ายติดตามความเสียหาย หรือสำรวจสอดส่องเพื่อประเมินความเสียหายจากอัคคีภัย ในกรณีที่เป็นห้างสรรพสินค้า จะมีการแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ อยู่แล้ว เช่น แผนกเครื่องสำอาง แผนกรองเท้า แผนกเสื้อผ้า เป็นต้น เมื่อเกิดเพลิงไหม้ อาจมีความวุ่นวายโกลาหลในระหว่างการเคลื่อนย้ายคน ทั้งลูกค้า เจ้าหน้าที่ พนักงานหรือบุคลาการฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งแต่ละฝ่าย ต้องแต่งตั้งให้หัวหน้าแผนกของสินค้านั้น ๆ เป็นประธานในการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากเหตุเพลิงไหม้โดยตรง หรือเกิดจากเหตุการณ์วุ่นวายต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่เคยปรากฏเป็นข่าวต่างประเทศ เช่น เกิดเหตุการณ์คนเหยียบกันเพื่อหาทางออกจากจุดไฟไหม้ หรือเกิดการโจรกรรมของมีค่าภายในห้างร้านเมื่อมีเหตุการณ์ไฟไหม้ โดยอาศัยจังหวะช่วงชุลมุน เป็นต้น ทั้งนี้สามารถลดปัญหาการชุลมุนได้ด้วยการติดตั้ง ป้ายทางออกฉุกเฉินในจุดต่าง ๆ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน หรือจะทำการติดตั้ง ไฟทางออกฉุกเฉินแบบฝังพื้น (เป็นแบบหลอด LED กลมแบน) แทนก็ได้ และต้องควบคุมไม่ให้การจราจรบริเวณเส้นทางออกเป็นคอขวดที่เสี่ยงต่อการหกล้มหรือแย่งชิงกันออก ซึ่งจะทำให้ยิ่งทวีความเสียหายหรืออุบัติเหตุได้

3. ฝ่ายดูแลให้บุคลากรที่ทำงานอยู่ในอาคารรายงานตัวตามจุดที่ได้นัดหมาย โดยพิจารณาเลือกบริเวณที่มีความปลอดภัย เป็นที่โล่งแจ้งและสามารถจุคนได้มาก เช่น สนามฟุตบอล ลานจอดรถที่เป็นลานกว้างนอกอาคาร เป็นต้น โดยการโบกกระบองไฟกระพริบ เป็นการให้สัญญาณบอกเส้นทางการย้ายคน หรือ การใช้ป้ายกล่องไฟที่สั่งทำข้อความพิเศษ เช่น จุดรวมพล จุดปลอดภัย เพื่อให้ทุกคนมุ่งหน้าสู่พื้นที่เดียวกันให้เร็วที่สุด

หลังจากเจ้าหน้าที่รัฐเดินทางมาถึงสถานที่เกิดเหตุแล้ว ควรปล่อยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างสะดวกเพื่อค้นหาผู้ประสบภัย และช่วยชีวิตคนที่ติดในอาคารที่เหลือ เนื่องจากฝ่ายบรรเทาอัคคีภัยของรัฐมีทักษะความชำนาญ และมีอุปกรณ์ที่ครบมือ อาทิ ถังดับเพลิง สายยางฉีดน้ำแรงดันสูง ชุดและหมวกนิรภัยป้องกันตัว ฯลฯ ซึ่งสำหรับผู้ที่ออกมาจากอาคารแล้ว ควรทำการสำรวจว่าสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมแผนกหรือฝ่ายงานต่าง ๆ มีการสูญหายหรือไม่ โดยหากเป็นกรณีห้างสรรพสินค้าเกิดเพลิงไหม้ ต้องแจ้งให้หัวหน้าแผนกเป็นผู้รับทราบและประสานกับเจ้าหน้าที่รัฐต่อไป หากเป็นเหตุเพลิงไหม้ตามอาคารที่พักอาศัยหรือออฟฟิศ ก็ต้องทำการแจ้งนิติกรให้ทราบเช่นกัน

ภายหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ได้สงบลงแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการต่อไป คือการติดตามความเสียหายต่ออุปกรณ์เครื่องจักร เครื่องใช้สำนักงาน หรือความเสียหายที่เกิดกับแต่ละห้องของลูกบ้านหากเป็นอาคารพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียม ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติกรที่ต้องเป็นผู้ประสานความช่วยเหลือ และการดำเนินการตามกฎหมาย เช่น หากเกิดจากเหตุวางเพลิงหรือความประมาท ก็ต้องแจ้งความเพื่อทำบันทึกและหาบุคคลรับผิดชอบทางกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ในส่วนการรักษาพยาบาล การพักฟื้นทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้านตัวเอง เป็นสิ่งที่ฝ่ายดูแลด้าน HR หรือด้านบุคลากร ขององค์กรต่าง ๆ ต้องประสานเพื่อรักษาสิทธิ์ให้ผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ กรณีที่เป็นพนักงานของบริษัทหรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

ร้านไทยจราจรมีความเห็นว่า เหตุการณ์อัคคีภัย เป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายแบบฉับพลัน และเกิดผลกระทบตามมาอีกหลายเดือน ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเร่งกู้สถานการณ์ หรือช่วยคืนกลับสู่สภาพปกติให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอาคารพักอาศัยหรือสถานที่ประกอบกิจการธุรกิจต่าง ๆ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการเสริมความปลอดภัยในการรับมือกับเหตุการณ์ไฟไหม้ เชิญชมสินค้าคุณภาพของเราได้ตลอดเวลาที่ www.trafficthai.com