แจกบทความฟรี
7 มาตรฐานการตีลูกศรจราจร ขนาดเท่าไหร่ ระยะห่างเท่าไหร่?
จากข้อมูลจำนวนรถจดทะเบียนในประเทศไทยที่กรมการขนส่งฯ ได้เปิดเผยออกมา พบว่าประเทศไทยมีรถทุกประเภทรวมกันกว่า 38 ล้านคัน ในขณะที่พื้นที่เส้นทางการจราจรยังคงมีเท่า ๆ เดิม รถเหล่านี้ต่างก็ต้องใช้ถนนร่วมกัน … บนท้องถนนที่มียวดยานพานะแล่นผ่านไปมามากมายและผู้ขับขี่ล้วนมาจากต่างถิ่นฐาน ต่างคนต่างความคิด ต่างจิตสำนึก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการออกกฎระเบียบทางการจราจรขึ้นมาเพื่อควบคุมการใช้รถใช้ถนนให้เป็นไปอย่างมีระเบียบราบรื่น
เมื่อเราขับรถไปบนถนน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะพบเห็นเส้นสีขาว สีเหลือง มีเส้นประ เส้นทึบ เสาหลักนำทาง ข้อความและเครื่องหมายต่างๆ เต็มไปหมดตลอดเส้นทาง เครื่องหมายเหล่านี้มีชื่อเรียกว่าเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางและเครื่องหมายนำทางซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทางการจราจรที่ช่วยควบคุมการจราจรให้เป็นระบบระเบียบ ผ่านการสื่อสารด้วยความหมายของเครื่องหมายที่แตกต่างกันให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้รู้ว่าในบริเวณที่ตนกำลังสัญจรอยู่นั้นควรขับรถแบบใด หรือควรเลี่ยงการขับรถแบบใด แบบใดที่ทำแล้วอาจเป็นอันรายต่อตนเองและผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่น
เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางและเครื่องหมายนำทางมีด้วยกันอยู่หลายประเภท แต่ในบทความนี้ ร้านไทยจราจร จะมาแนะนำให้รู้จักกับ “ลูกศรจราจร” และมาตรฐานในการตีลูกศรจราจร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องหมายที่ทุกคนคงจะคุ้นหน้าคุ้นตาเจ้าเครื่องหมายนี้กันดี
ลูกศรจราจร (Arrow Markings) มีลักษณะเป็นลูกศรขนาดใหญ่สีขาวหรือเหลือง (โดยส่วนมากจะเป็นสีขาว) แสดงทิศทางการสัญจรทั้งตรงไป เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ย้อนกลับหรือทั้งสองทิศทาง เป็นเครื่องหมายเชิงบังคับให้ผู้ขับขี่ยวดยานต้องทำการปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น ลูกศรใช้กำกับช่องจราจรบริเวณก่อนเข้าทางแยกที่มีหลายช่องจราจร เพื่อให้เจ้าของยานพาหนะทราบว่าควรขับไปยังช่องจราจรใดจึงจะไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยปกติจะใช้ลูกศร 2 ถึง 3 ตำแหน่งในการกำกับเส้นทางเพื่อให้รถสามารถเตรียมตัวขับไปได้ถูกช่อง โดยที่ลูกศรควรมีระยะห่างที่พอเหมาะต่อการเตือนให้ผู้ใช้รถเตรียมตัว คือ ลูกศรแรก ควรอยู่ห่างจากเส้นหยุดหรือแนวของเส้นหรือทางที่ขวางหน้า 15 ถึง 25 เมตร จากนั้นลูกศรที่ 2 ควรถูกตีให้ห่างจากลูกศรแรก 25 เมตร และถ้าหากมีลูกศรที่ 3 ก็ควรอยู่ห่างจากลูกศรที่ 2 50 เมตร ทั้งนี้หากเป็นกรณีบนทางหลวงที่มีการบังคับให้ขับขี่ยวดยานพาหนะด้วยความเร็วสูง สามารถเพิ่มระยะห่างระหว่างลูกศรได้อีกร้อยละ 50
มาตรฐานการวางตำแหน่งเครื่องหมายลูกศรตามระเบียบของกรมทางหลวงยังกำหนดไว้ว่า ไม่ให้ลูกศร 1 อันบอกทิศทางได้มากเกินสองทิศทาง เพื่อความชัดเจนและป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ถนนเกิดความสับสน เช่น ถ้าเป็นทางแยกที่สามารถเดินรถไปได้ทั้งตรงไปและเลี้ยวซ้าย ลูกศรที่ใช้บอกทางเดินรถนี้ก็จะเป็นลูกศรบอก 2 ทิศทางที่ชี้ไปทางตรงและทางเลี้ยวซ้าย ทั้งนี้การใช้ทิศทางของลูกศรก็ต้องคำนึงถึงปริมาณการจราจรของรถในแต่ละทิศทาง และลูกศรต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับสัญญาณไฟจราจรด้วย เช่น หากลูกศรบนถนนกำหนดทิศให้ตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย สัญญาณไฟจราจรก็ต้องถูกเปิดในทิศทางตรงไปและเลี้ยวซ้ายด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายและเพื่อไม่ให้การจราจรบนท้องถนนติดขัด
ลักษณะลูกศรจราจร มี 7 แบบ ได้แก่ เครื่องหมายลูกศรตรงบนผิวทาง , เครื่องหมายลูกศรเลี้ยวบนผิวทาง , เครื่องหมายลูกศรตรงไปหรือเลี้ยวบนผิวทาง , เครื่องหมายลูกศรยาวสำหรับทางหลวงทั่วไป , เครื่องหมายลูกศรยาวสำหรับทางคู่ , เครื่องหมายลูกศรกลับรถ และ เครื่องหมายลูกศรเบี่ยงเข้า โดยในการตีลูกศรจราจรแบบต่าง ๆ มีขนาดและระยะห่างมาตรฐาน ดังนี้
1.เครื่องหมายลูกศรตรงบนผิวทาง
ลูกศรขนาดความยาว 5 เมตร แบ่งออกเป็นส่วนหัวลูกศรและหางลูกศร ส่วนหัวลูกศร ความกว้าง 0.75 เมตร ยาว 2.05 เมตร ส่วนหางความกว้าง 0.15 เมตร ยาว 2.95 เมตร
2.เครื่องหมายลูกศรเลี้ยวบนผิวทาง
ลูกศรขนาดความยาว 5 เมตร แบ่งออกเป็นหัวลูกศรขนาดความยาว 3 เมตร ความกว้าง 2.5 เมตร โดยความกว้างแบ่งส่วนออกเป็น 8:5:5:7 เซนติเมตร ส่วนหางที่หักออกทำมุมกับเส้นตั้งฉาก 45 องศา ความกว้าง 0.71 เมตร ส่วนหางที่เป็นเส้นตรงยาว 2.60 เมตร กว้าง 0.15 เมตร
3.เครื่องหมายลูกศรตรงไปหรือเลี้ยวบนผิวทาง ลูกศรขนาดความยาว 5 เมตร
– ส่วนที่เป็นลูกศรทางตรง
แบ่งออกเป็นส่วนหัวลูกศรและหางลูกศร ส่วนหัวลูกศร ความกว้าง 0.75 เมตร ยาว 2.05 เมตร ส่วนหางความกว้าง 0.15 เมตร ยาว 2.95 เมตร
– ส่วนที่เป็นทางเลี้ยว
กางออกจากลูกศรทางตรงทำมุม 45 องศา แบ่งออกเป็นหัวลูกศรขนาดความยาว 0.30 เมตร ความกว้าง 2.5 เมตร โดยความกว้างแบ่งส่วนออกเป็น 8:5:5:7 เซนติเมตร ส่วนหางความกว้าง 0.71 เมตร มีระยะห่างจากส่วนหางของลูกศรทางตรงเป็น 0.60 เมตร
4.เครื่องหมายลูกศรยาวสำหรับทางหลวงทั่วไป
ลูกศรขนาดความยาว 10 เมตร แบ่งเป็น
– ส่วนที่เป็นลูกศรทางตรง
ส่วนหัวความยาว 2.5 เมตร ความกว้าง 1.20 เมตร ส่วนหางยาว 7.5 เมตร กว้าง 0.20 เมตร
– ส่วนที่เป็นลูกศรทางเลี้ยว
ส่วนหัวความกว้าง 1.20 เมตร ยาว 2 เมตร ส่วนหางกว้าง 0.20 เมตร อยู่สูงขึ้นมาจากหางของลูกศรทางตรง 1.5 เมตร
5.เครื่องหมายลูกศรยาวสำหรับทางคู่
ลูกศรขนาดความยาว 20 เมตร แบ่งเป็น
– ส่วนที่เป็นลูกศรทางตรง
ส่วนหัวความยาว 5 เมตร ความกว้าง 1.20 เมตร ส่วนหางยาว 1.5 เมตร กว้าง 0.20 เมตร
– ส่วนที่เป็นลูกศรทางเลี้ยว
ส่วนหัวความกว้าง 1.20 เมตร ยาว 4.30 เมตร ส่วนหางกว้าง 0.20 เมตร อยู่สูงขึ้นมาจากหางของลูกศรทางตรง 3 เมตร
-
เครื่องหมายลูกศรกลับรถ ลูกศรความยาว 5 เมตร
– ส่วนหัวกว้าง 0.75 เมตร ยาว 2.05 เมตร
– ส่วนหางโค้งยาว 1.70 เมตร กว้าง 1.80 เมตร
– ส่วนหางตรงยาว 4 เมตร กว้าง 0.15 เมตร
7.เครื่องหมายลูกศรเบี่ยงเข้า
ลูกศรความยาวในแนวทแยง 5.30 เมตร สูง 5.08 เมตร
– ส่วนหัวกว้าง 1.60 เมตร ยาว 2.40 เมตร
– ส่วนหางกว้าง 0.60 เมตร ยาว 2.30 เมตร
ที่กล่าวมาเป็นมาตรฐานในการวาดลูกศรจราจรบนท้องถนนซึ่งสามารถทำได้ด้วยการทาสีหรือพ่นสี แต่ในปัจจุบันการทำลูกศรสามารถทำได้อย่างสะดวกสบายด้วยการใช้เทปติดถนนชนิดลูกศร ซึ่งเทปติดถนนชนิดลูกศรนี้มีคุณสมบัติคงทน อยู่ได้นานโดยสีไม่ซีด อีกทั้งยังสามารถสะท้อนแสงไฟในยามค่ำคืนได้
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาอุปกรณ์จราจรชนิดนี้ ทาง ร้านไทยจราจร ก็มีจำหน่ายเช่นกัน มีทั้งเทปติดถนนชนิดลูกศรและรับทำสี ตีเส้นลูกศรจราจร เรามั่นใจในคุณภาพสินค้าและประสบการณ์ในการทำงานที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน หากท่านใดที่สนใจใช้บริการของเราหรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์การจราจร ทางเรายินดีต้อนรับทุกท่านตลอดเวลาที่ www.trafficthai.com
ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006