ข้อควรรู้เกี่ยวกับ เครื่องหมายจราจร ทางบก

                    ชีวิตผู้คนปัจจุบันล้วนต้องเดินทางบนท้องถนนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าเราจะขับขี่ยานพาหนะด้วยตัวเอง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยาน การใช้บริการโดยสารยานพาหนะที่เป็นสาธารณะ รถเมล์ รถแท็กซี่ สามล้อ grab วินมอเตอร์ไซค์ หรือแม้แต่การเดินเหินอยู่บนทางเท้าหรือถนน  เราแชร์พื้นที่สัญจรบนถนนและทางเท้าร่วมกัน การจัดระเบียบการปฏิบัติในการใช้พื้นที่ร่วมกันแบบนี้ก็ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎกติกาเพื่อให้บ้านเมืองเป็นระเบียบ และลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด

                เครื่องหมายจราจร ประกอบไปด้วย สัญญาณ ไฟจราจร ป้ายจราจร หรือ สัญลักษณ์จราจร อื่น ๆ หนึ่งในองค์ประกอบที่ช่วยเรื่องการจัดระเบียบการจราจรบนท้องถนนก็คือ เครื่องหมายจราจร โดย เครื่องหมายจราจร ทางบก แบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้

    1.      ป้ายบังคับ ป้ายบังคับคือป้ายที่มีวัตถุประสงค์ให้คนเห็นแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติตาม บังคับให้ปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติจะมีโทษถือว่าทำผิดกฎหมายจราจร  ป้ายจราจร ประเภทป้ายบังคับนี้มีทั้งแบบที่ ‘บังคับให้อย่าทำ’ และ ‘บังคับให้ทำตาม’ วิธีสังเกต ‘ป้ายบังคับอย่าทำ’ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปวงกลม ขอบสีแดง สัญลักษณ์สีดำ พื้นขาว คาดด้วยเส้นสีแดง เป็น ป้ายจราจร ที่เราเห็นบ่อย ๆ บนท้องถนน สัญลักษณ์จราจร ป้ายบังคับนี้ ส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยกันดีเพราะเห็นบ่อย ส่วน ‘ป้ายบังคับให้ทำ’ จะเป็นป้ายรูปวงกลม ขอบ 2 ชั้น สัญลักษณ์สีขาว พื้นเป็นสีน้ำเงิน 

แบบที่บังคับให้ทำ เช่น 

        • ป้ายหยุด ที่บังคับให้รถทุกคนที่ผ่านมาถึงจุดนี้ต้องหยุด หากเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงค่อยไปต่อ  
        • ป้ายให้ทาง เมื่อเห็นป้ายนี้ รถทุกคันต้องหยุดเพื่อให้รถหรือคนเดินถนนที่อยู่ด้านหน้าผ่านไปก่อน หากเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงค่อยไปต่อ 
        • ป้ายหยุดตรวจ ให้รถทุกคันต้องหยุดที่ป้ายนี้เพื่อให้ตรวจ เมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อยจึงค่อยไปต่อได้
        • ป้ายให้รถสวนทางมาก่อน เมื่อเจอป้ายนี้ให้รถทุกคันหยุดเพื่อให้รถที่สวนทางมาไปก่อน เมื่อรถที่สวนทางมาขับผ่านไปแล้วจึงค่อยไปต่อได้

 

 

แบบที่บังคับให้อย่าทำ เช่น 

  • ป้ายห้ามแซง หมายถึง ณ จุดที่ป้ายติดตั้ง ห้ามขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น 
  • ป้ายจำกัดความเร็ว หมายถึง ห้ามรถทุกชนิดขับเร็วเกินกว่าที่ป้ายกำหนดไว้ ในป้ายจะกำหนดไว้เป็นหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่น 50 กม. ก็แปลว่าห้ามใช้ความเร็วเกินกว่า 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตลอดทางจนกว่าจะพ้นระยะที่จำกัดความเร็ว 

 

 

  • ป้ายเตือน เป็น ป้ายจราจร ที่ติดเพื่อเตือนผู้ขับขี่หรือใช้เส้นทาง เป็น สัญลักษณ์จราจร ที่เตือนว่าทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เช่น ทางโค้งซ้าย ทางโค้งขวา ทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย ทางคดเคี้ยวเริ่มขวา ทางแยกรูปตัวที ทางโทเชื่อมทางเอกจากซ้ายหรือขวา วงเวียนข้างหน้า สะพานแคบ ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง ทางข้ามทางรถไฟไม่มีเครื่องกั้นทาง ทางลอดต่ำ ผิวทางขรุขระ ทางเอกตัดกัน ช่องจราจรปิดด้านซ้ายหรือขวา ทางลงลาดชัน ทางลื่น ผิวทางร่วน ไฟจราจร ระวังสัตว์ ฯลฯ โดยวัตถุประสงค์ของ เครื่องหมายจราจร ที่เป็นป้ายเตือนก็เพื่อให้ผู้ขับขี่ขับรถช้าลง ชะลอ ใช้ความระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้น วิธีสังเกตสำหรับป้ายเตือนจะเป็นป้ายสัญลักษณ์สีดำพื้นสีเหลือง ป้ายมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางทแยงมุม

 

 

 

 

      • เส้นแบ่งทิศทางจราจร เป็นเส้นแบ่งเลนบนถนน มีหลายแบบ
        • เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ เป็นเส้นประสีขาว ใช้แบ่งเลนการขับขี่ แต่รถสามารถเปลี่ยนเลนซ้ายขวาได้
        • เส้นแบ่งทิศทางจราจรคู่ เป็นเส้นประสีขาวคู่กับเส้นทึบสีขาว ใช้แบ่งเลนการขับขี่  รถที่อยู่ชิดเส้นประสามารถแซงได้ แต่รถที่อยู่ด้านเส้นทึบไม่สามารถแซงได้
        • เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง เป็นเส้นทึบเดี่ยวสีขาวหรือสีเหลือง ใช้แบ่งเลนในการขับขี่ และเตือนผู้ขับว่าห้ามแซงทั้งสองเลน
        • เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงคู่ เป็นเส้นทึบสีขาว 2 เส้นคู่กัน ใช้แบ่งเลนในการขับขี่ และเตือนผู้ขับว่าห้ามแซงทั้งสองเลน

 

 

 

 

  • สัญลักษณ์จราจร ที่ขอบทางเท้า

        • เส้นสีแดงขาว หมายถึง ห้ามหยุดรถ หรือจอดรถในบริเวณนั้น
        • เส้นสีเหลืองขาว หมายถึง ห้ามจอดรถ เว้นสามารถจอดรถรับส่งได้ไม่นาน
        • เส้นสีดำขาว หมายถึง ห้ามจอดรถ เว้นสามารถจอดรถรับส่งได้ไม่นาน แสดงให้เห็นว่าเป็นขอบทางหรือวงเวียน
        • เลนรถประจำทาง จะมีสัญลักษณ์เป็นเส้นประสีเหลืองบนพื้นถนน และมีอักษรว่า BUS สีเหลือง
        • ทางม้าลาย มีสัญลักษณ์เป็นเส้นสีขาวถี่ ๆ วางเรียงขนานกันจากถนนด้านหนึ่งจนถึงถนนอีกด้านหนึ่ง หมายถึง เป็นบริเวณสำหรับผู้ที่ต้องการข้ามถนน ให้รถชะลอหยุดให้คนเดินข้าม

 

 

 

 

        • เส้นลูกศรตรง หมายถึง เป็นเลนสำหรับรถตรงไป
        • เส้นลูกศรโค้งซ้าย หมายถึง เป็นเลนสำหรับรถที่ต้องการเลี้ยวซ้าย
        • เส้นลูกศรโค้งขวา หมายถึง เป็นเลนสำหรับรถที่ต้องการเลี้ยวขวา
  • ป้ายเตือนงานก่อสร้าง ป้ายจราจร ชนิดนี้พบเห็นได้ในไซด์งานก่อสร้าง หรือถนนที่มีการก่อสร้างหรือกำลังซ่อมแซม ป้ายมีรูปเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางทแยงมุม สัญลักษณ์สีดำ พื้นสีส้มเข้ม มีขอบ 2 ชั้น เป็นป้ายเตือนว่ามีงานก่อสร้างกำลังดำเนินอยู่ มีคนงานก่อสร้างกำลังทำงาน มีเครื่องจักรกำลังทำงาน มีการสำรวจทาง มีการเบี่ยงเบนทางจราจร เป็นต้น ผู้ใช้รถใช้ถนนเมื่อเห็น สัญลักษณ์จราจร นี้ควรชะลอ หลีกเลี่ยงเส้นทาง หรือขับขี่ด้วยความระมัดระวัง

 

 

 

 

  • ป้ายแนะนำ เครื่องหมายจราจร ประเภทนี้เป็นป้ายที่ให้ข้อมูลกับผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น ป้ายโรงพยาบาล ป้ายทางตัน ป้ายจุดกลับรถ ป้ายทางเข้า ป้ายทางออก ป้ายบอกระยะทาง เช่น สระบุรี 40 หมายถึง อีก 40 กิโลเมตร จะถึงตัวเมืองสระบุรี ป้ายบอกจุดหมาย เช่น ชัยภูมิ ทางซ้าย ฯลฯ เป็นต้น ป้ายแนะนำทั่วไป มีหลายรูปแบบ สัญลักษณ์สีขาวพื้นน้ำเงิน ตัวอักษรสีดำพื้นขาว หรือ ตัวอักษรสีขาวพื้นเขียว เป็น ป้ายจราจร ที่เราพบเห็นได้โดยทั่วไป

 

     เครื่องหมายจราจร มีประโยชน์คือเป็นสัญญาณเตือน ช่วยให้ผู้ขับขี่มีวินัยในการใช้รถใช้ถนน ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้เส้นทางจราจร ช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ ช่วยลดโอกาสการทำผิดกฎจราจร สัญลักษณ์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานสากลที่เข้าใจเหมือนกันทั่วโลก ทำให้ไม่ว่าคนชาติใดภาษาใดหรืออยู่ที่ใดก็เข้าใจ สัญลักษณ์จราจร เหล่านี้ ใช้รถใช้ถนนได้อย่างมั่นใจ ไม่เกิดความสับสน และยังช่วยแก้ ปัญหารถติด ได้

 

 

 

 

     หลายคนคิดว่าใส่ใจเฉพาะประเภทป้ายบังคับก็น่าจะเพียงพอ เพราะหากไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าผิดกฎจราจร แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เลย เราควรใส่ใจในทุกประเภทของป้ายจราจร ไม่ว่าจะเป็นป้ายบังคับ ป้ายเตือน เส้นบนผิวจราจร เส้นบนทางเท้า ฯลฯ ทั้งนี้ก็ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของใคร แต่เป็นประโยชน์กับตัวเราเอง ในเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของตัวเรา จะได้มีความระมัดระวังในการใช้เส้นทาง เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว ความสูญเสียไม่คุ้มค่ากัน

     การสอบใบอนุญาตขับขี่นอกจากสอบปฏิบัติขับขี่จริง มีการบรรจุให้มีการสอบในหัวข้อเรื่องของ เครื่องหมายจราจร และ ป้ายจราจร เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ได้ใบอนุญาตขับขี่ไปนั้นมีความเข้าใจในเรื่องเครื่องหมายต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอย่างดี และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบและป้ายเตือนได้อย่างถูกต้อง ไม่เพียงผู้ที่สอบใบอนุญาตขับขี่เท่านั้นที่ควรทราบเรื่อง เครื่องหมายจราจร บุคคลทั่วไปที่เดินเท้า ใช้ถนน ใช้ทางข้าม ก็ต้องรู้เรื่อง ป้ายจราจร ป้ายเตือนต่าง ๆ เพื่อให้ตนเองมีความปลอดภัยในการใช้ถนนและทางเท้าเช่นกัน หากทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องป้ายจราจร ปฏิบัติตามกฎจราจร ใช้ทางเท้าและถนนร่วมกันอย่างมีวินัย ก็ทำให้มั่นใจได้ว่าทั้งตนเอง ผู้อื่น และทุกคนในชุมชนใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย 

 

 

 

 

     ป้ายจราจรหรือเครื่องหมายจราจร เป็นสินค้าที่ไม่แต่เฉพาะภาครัฐที่ต้องจัดซื้อ แต่ภาคเอกชน อย่าง โรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า รวมไปถึงอาคารสำนักงาน อาคารที่จอดรถ ฯลฯ ก็ต้องจัดซื้อและติดตั้งป้ายจราจรเพื่อให้รถและผู้มาติดต่อได้รับความสะดวกและปลอดภัย โดยต้องป้ายเหล่านี้ควรจัดซื้อจากร้านค้าที่มีคุณภาพ ร้านไทยจราจรเราจำหน่ายป้ายที่ได้มาตรฐานทั้งเรื่องวัสดุ และขนาด มีประสบการณ์เรื่องงานจราจรมากว่า 10 ปี มีบริการดูหน้างาน มีบุคลากรพร้อมให้คำปรึกษา และพร้อมคำนวณงบประมาณให้คุณได้

 

ที่มาข้อมูล :