ข้อควรระวังสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ก่อสร้าง

          ข้อควรระวังสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ก่อสร้าง ในเขตพื้นที่ของการก่อสร้างนั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายค่อนข้างมาก ทั้งจากวัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงเครื่องจักรที่มีความอันตราย และนอกจากนั้นความประมาทของผู้ปฏิบัติงานก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ก่อสร้างด้วยเช่นกัน

แม้ว่าอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาอย่างไม่คาดคิด แต่การวางแผนการทำงานในพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้นหรือช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ นั้นสามารถทำได้

ข้อควรระวังสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ก่อสร้าง สาเหตุของการเกิดอันตรายในพื้นที่ก่อสร้าง

  1. ความประมาทในการทำงาน

ถือเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญของการเกิดอุบัติเหตุในเขตก่อสร้าง ทั้งจากผู้ควบคุมงานหรือหัวหน้าไซต์งานเอง และผู้ปฏิบัติงานที่ละเลยหลักการของความปลอดภัย อาจจะมาจากสาเหตุเรื่องของความเคยชินจนไม่ใส่ใจระบบความปลอดภัยหรือการปฏิบัติงานโดยไม่มีความชำนาญในการใช้เครื่องจักร เครื่องมือในการก่อสร้าง

  1. สถานที่ทำงานไม่มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน

ในพื้นที่ก่อสร้างบางแห่งละเลยเรื่องของมาตรการความปลอดภัยที่ไม่เข้มงวดมากเพียงพอ เช่น ไม่ระบุกฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุม เข้มงวด , อุปกรณ์การทำงานชำรุด ขาดการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อยู่เสมอ , ขาดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงานที่เหมาะสมกับประเภทของงาน , ไม่มีการจัดระเบียบพื้นที่การจราจร การควบคุมความเร็วให้มีความปลอดภัย หรือการจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องจักรที่ไม่เป็นสัดส่วน เหตุผลทั้งหมดนี้จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายในการทำงานได้

  1. ภัยธรรมชาติ

อุบัติเหตุในพื้นที่ก่อสร้างในบางครั้งอาจเกิดจากเหตุสุดวิสัยจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมอันเป็นสาเหตุที่ทำให้โครงสร้างของอาคารทรุดหรือถล่ม เกิดฝนตกและมีฟ้าผ่าจนอาจส่งผลต่อระบบไฟฟ้าภายในไซต์ก่อสร้างจนทำให้เกิดไฟไหม้และมีอันตรายต่อคนงานก่อสร้างได้

จากสาเหตุดังกล่าว สามารถป้องกันได้ด้วยการใส่ใจระบบความปลอดภัย เพื่อเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ในบริเวณของพื้นที่ที่มีการก่อสร้างได้ ซึ่งร้านไทยจราจรจะมาแนะนำข้อควรระวังสำหรับการปฏิบัติงานในเขตพื้นที่การก่อสร้าง ที่ควรนำไปปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสำหรับทุกชีวิต ซึ่งจะขอแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ๆ ดังนี้

ข้อควรระวังสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ก่อสร้าง ด้านความปลอดภัยในสถานที่การปฏิบัติงาน

  1. ทำรั้วกั้นบริเวณก่อสร้าง

ในการก่อสร้างอาคาร จะต้องมีการทำรั้วกั้นบริเวณที่เป็นเขตพื้นที่การก่อสร้างเอาไว้โดยรอบและต้องครอบคลุม ทั้งในส่วนของอาคารที่กำลังก่อสร้าง สถานที่จัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงส่วนที่ถูกแบ่งเอาไว้ให้เป็นสำนักงานและบ้านพักคนงาน ที่จะมีการแบ่งเอาไว้อย่างเป็นสัดส่วนในสถานที่ก่อสร้างที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ผู้คนทราบว่าเป็นเขตอันตรายและยังเป็นการป้องกันบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามา ซึ่งอาจจะใช้ รั้วตาข่าย มาสร้างขึ้นเป็นรั้วล้อมรอบ ซึ่งก็มีให้เลือกทั้งรั้วแบบตาข่ายเหล็กที่มีความทนทาน แน่นหนาในการติดตั้งและรั้วแบบตาข่ายพลาสติกที่เหมาะสำหรับล้อมพื้นที่แบบชั่วคราวหรือในบริเวณที่ไม่อันตรายมากนัก

  1. คลุมตาข่ายตัวอาคาร

ในส่วนของตัวอาคารที่กำลังมีการก่อสร้างนั้นต้องมีตาข่ายคลุมโดยรอบเพื่อป้องกันวัตถุ เช่น เศษฝุ่น เศษปูน แผ่นกระเบื้อง อุปกรณ์ก่อสร้างอื่น ที่อาจหล่นลงไปสร้างอันตรายแก่คนข้างล่างหรือสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนในกรณีที่การก่อสร้างนั้นอยู่ในเขตชุมชนที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่โดยรอบ โดยตาข่ายนี้มีคุณสมบัติที่แสงสามารถลอดผ่านได้ ทำให้ภายในอาคารมีแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

  1. บริหารการจราจรภายในพื้นที่ก่อสร้าง

ในเขตพื้นที่การก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ จะมีรถเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากไม่มีการวางแผนการบริหารพื้นที่การเดินรถภายในให้มีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการดังนี้

  • บริเวณทางเข้า-ออก ผู้ควบคุมควรมีการกำหนดทางเข้า-ออกสถานที่ก่อสร้างให้ชัดเจน โดยใช้แผงกั้นมาใช้เพื่อควบคุมและตรวจสอบผู้ที่ต้องการเข้าไปยังเขตก่อสร้าง มีการติดป้ายบอกอย่างชัดเจนว่าทางใดคือทางเข้าหรือทางใดคือทางออก หรืออาจจะใช้ไม้กระดกมาเป็นอุปกรณ์ในการควบคุมการเข้า-ออก ที่มีทั้งแบบเปิดด้วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหรือเป็นไม้กระดกแบบอัตโนมัติก็จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีความสะดวก รวดเร็ว สามารถจัดการจราจรในบริเวณทางเข้า-ออกให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นเพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี
  • บริเวณทางเดินรถในเขตก่อสร้าง สิ่งที่ต้องระวังในการใช้รถในบริเวณเขตก่อสร้าง คืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งจากการมีกองวัสดุกีดขวาง หรืออาจจะมาจากความประมาทของผู้ขับขี่เอง เพราะถนนในพื้นที่ก่อสร้างนั้นเป็นเส้นทางที่ถูกสร้างขึ้นมาเพียงชั่วคราวเพื่อใช้ในการสัญจรและขนส่งวัสดุ อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน การนำ ป้ายจราจร มาใช้จะช่วยในการบริหารการจราจรให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น ติดตั้ง เครื่องหมายจราจร ประเภทป้ายต่าง ๆ ตรงบริเวณจุดสำคัญของทางเดินรถ เช่น ติดตั้งป้ายห้ามจอดบริเวณที่เป็นจุดที่อาจกีดขวางการจราจร ทางเลี้ยวที่จะทำให้รถเกิดการติดขัด ติดตั้งป้ายบังคับเลี้ยวในกรณีที่จัดการจราจรให้เป็นการเดินรถทางเดียว เพื่อความคล่องตัวในการจราจร ติด ป้ายห้ามเข้า กำกับเอาไว้เพื่อเตือนไม่ให้มีผู้ใดเข้าไปในเขตหวงห้าม เช่น เส้นทางที่นำไปสู่หลุมขนาดใหญ่ที่มีการขุดเจาะ หรือบริเวณที่เป็นบ้านพักคนงาน โดยทั้งนี้ต้องมีการแจ้งเตือนให้ผู้ขับขี่รถในเขตก่อสร้างปฏิบัติตาม สัญลักษณ์จราจร อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย
  1. ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงตามจุดต่างๆ

การติดตั้งอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่สถานที่ก่อสร้างทุกแห่งต้องปฏิบัติ เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ตลอดเวลา จึงต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงอย่าง ถังดับเพลิง เอาไว้ตามจุดต่าง ๆ เช่น บริเวณหม้อแปลงไฟฟ้า บริเวณ ที่จอดรถ บริเวณบ้านพักคนงาน และส่วนที่เป็นสำนักงานอย่างเพียงพอที่จะใช้งานได้ทันทีหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ และต้องไม่ตั้งวางสิ่งกีดขวางจุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อให้สามารถใช้งานได้ทันที อาจจะใช้ กรวยจราจร วางเอาไว้บริเวณจุดเก็บอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อป้องกันการนำสิ่งกีดขวางมาวางก็ไ

ด้านความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องจักร

ในงานก่อสร้างนั้น มีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องจักรหลายรูปแบบตามแต่ลักษณะของงานก่อสร้างนั้น ซึ่งมีทั้งเครื่องมือขนาดเล็กทั่วไป เช่น เครื่องโม่ปูน สว่านไฟฟ้า เครื่องเจาะ เครื่องเจียรเหล็ก เครื่องเชื่อมเหล็ก ค้อนปอนด์ ที่อาจไม่มีอันตรายมาก แต่สำหรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น เครื่องตอกเสาเข็ม เครนขนาดใหญ่ รถตักดิน รถไถ ลิฟต์ขนของ ซึ่งค่อนข้างมีความอันตรายสูง จำเป็นต้องมีการควบคุมการใช้งานอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  1. ไม่ใช้เครื่องจักรผิดวัตถุประสงค์การใช้งาน

การใช้งานเครื่องจักรผิดวัตถุประสงค์ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น ไม่ใช้ลิฟต์ขนของบรรทุกคนขึ้นลงอาคาร เป็นต้น

  1. ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ต้องมีการตรวจสภาพในส่วนของเครื่องมือก่อสร้างที่ใช้ไฟฟ้าก่อนการใช้งานทุกครั้ง สำรวจสายไฟว่ามีการชำรุดหรือไม่ และต้องมี ป้ายเตือน ติดอยู่ที่บริเวณการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความระมัดระวังเป็นพิเศษ และเมื่อใช้งานเสร็จต้องมีการจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ มีการซ่อมบำรุงก่อนการเก็บรักษา

ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานส่วนบุคคล

เหตุอันตรายในพื้นที่ก่อสร้างเกิดจากความประมาท จึงต้องมีการควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเข้มงวด ดังนี้

  1. แต่งกายให้รัดกุม

ผู้ปฏิบัติงาน เช่น คนงาน หรือผู้ควบคุมงานต้องสวมเครื่องแต่งกายให้รัดกุม ควรสวมเสื้อโดยไม่ปล่อยชายเสื้อให้หลุดลุ่ย สวมกางเกงขายาวเสมอและต้องสวมรองเท้าแบบหุ้มส้นเมื่ออยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน

  1. สวมอุปกรณ์ป้องกันภัย

ในพื้นที่ก่อสร้างนั้น ผู้ปฏิบัติงานต้องไม่ละเลยที่จะสวมอุปกรณ์สำหรับป้องกันภัย เช่น หมวกนิรภัย แว่นตา รองเท้าเซฟตี้ ที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในการเข้าไปยังไซต์ก่อสร้าง นอกจากนี้ควรสวม เสื้อกันฝน เมื่อต้องเข้าไปในไซต์ก่อสร้างในกรณีที่ฝนตก โดยทางร้านไทยจราจรนั้น มีให้เลือกทั้งแบบที่เป็นชุดกันฝนแบบโค้ต ที่สวมใส่ง่าย , แบบชุดเสื้อ-กางเกง ที่มีความคล่องตัว ทะมัดทะแมงมากขึ้น หรือจะเป็น เสื้อกันฝน ที่มีแถบสะท้อนแสง ช่วยให้มองเห็นได้ในการปฏิบัติงานในที่มีแสงน้อยท่ามกลางฝนตก จะช่วยให้มีความปลอดภัยมากขึ้น 

          การปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ก่อสร้างนั้นเต็มไปด้วยอันตราย การเน้นย้ำในข้อควรระวังสำหรับผู้ปฏิบัติงานนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย นอกจากนี้ยังควรฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้เกิดความเชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้ทำงานได้อย่างปลอดภัย สิ่งเหล่านี้จะเป็นการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุในไซต์งานก่อสร้างได้เป็นอย่างดี