แนะนำ 10 ป้ายจราจร เพื่อความปลอดภัย สำหรับฝ่ายอาคารสถานที่

มือบังคับรถ กฎบังคับใจ ขับขี่ปลอดภัย ถ้าไม่ประมาท … นอกเหนือจากการขับขี่บนท้องถนนที่ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและผู้ร่วมทาง ในยามที่ต้องเดินทางไปสถานที่อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ, โรงเรียน, บ้านจัดสรร, ลานจอดรถ, อาคารสำนักงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ภายในโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะแขกหรือบุคคลภายนอก ยิ่งต้องปฏิบัติตาม เครื่องหมายจราจร ตามที่สถานที่เหล่านั้นกำหนด

.. ที่จอดรถ ถือเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล โดยเฉพาะพื้นที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมหรือโรงงานอุตสาหกรรม ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุมา ไม่เพียงแต่ทำให้ทรัพย์สินเสียหายเท่านั้น อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัท ในฐานะที่ไม่ปฏิบัติตาม ป้ายจราจร หรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยที่ติดไว้เพื่อบ่งบอกให้ผู้ใช้เพิ่มความระมัดระวัง

ประเภทของ เครื่องหมายจราจร

โดยปกติแล้ว เครื่องหมายจราจร หรือ ป้ายจราจร จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ได้แก่ ป้ายบังคับ, ป้ายเตือน, ป้ายแนะนำ และ สัญลักษณ์บนพื้นทาง ป้ายแต่ละประเภทก็จะมีสีและความหมายที่แตกต่างกัน ผู้ขับขี่ที่ผ่านการสอบใบอนุญาติขับขี่รถยนต์ทุกคนจะต้องรู้และเข้าใจถึงความหมายป้ายเหล่านี้กันมาแล้ว วันนี้มาทวนความจำกันว่าป้ายแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
ป้ายจราจร ประเภทป้ายบังคับ หมายถึง ป้ายที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องปฏิบัติตามความหมายที่ปรากฏบนป้าย ห้ามผู้ขับขี่กระทำการใด ๆ อันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติย่อมมีความผิดตามกฎหมาย ลักษณะของป้ายส่วนใหญ่จะมีพื้นสีขาว ขอบแดง เช่น ห้ามเลี้ยวซ้าย, STOP เป็นต้น
ป้ายจราจร ประเภทป้ายเตือน หมายถึง ป้ายที่ใช้เตือนผู้ขับขี่ให้ทราบล่วงหน้า หรือเป็นการแจ้งข้อมูลให้ผู้ขับขี่ได้รู้ถึงสภาพทางข้างหน้า เพื่อที่จะได้ระมัดระวังและปฏิบัติตามซึ่งเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ในการใช้ถนนได้ ป้ายเตือนจะมีลักษณะพื้นสีเหลือง ขอบดำ เช่น ป้ายทางโค้งต่าง ๆ, ป้ายทางแยก, จุดกลับรถ เป็นต้น
ป้ายจราจร ประเภทแนะนำ หมายถึง ป้ายที่ให้แนะนำการเดินทาง ป้ายจะมีพื้นสีเขียว ตัวหนังสือสีขาวเช่น ป้ายบอกระยะทาง, ป้ายบอกทางลัด, ป้ายทางออก, ป้ายทางด่วน เป็นต้น
⦁ สัญลักษณ์จราจร บนพื้นทาง โดยส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของเส้นจราจร หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนพื้นถนนเพื่อให้ผู้ขับขี่ได้ปฏิบัติตาม เช่น เส้นแบ่งทิศทางจราจร, เส้นแบ่งการเดินรถ, เส้นทแยงห้ามหยุดรถ, ข้อความบนพื้นถนน เช่น โรงเรียนขับช้า ๆ , ลดความเร็ว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมี เครื่องหมายจราจร บังคับอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ตามหน่วยงานเอกชนและภาครัฐ โดยจะมีลักษณะพื้นสีน้ำเงิน รูปสัญลักษณ์สีขาว ป้ายประเภทนี้เรียกว่า ป้ายจราจรบังคับ 2 เช่น ป้ายให้เดินรถทางเดียว, ป้ายให้เดินรถไปทางขวา, ป้ายให้ชิดขวา, ป้ายให้เลี้ยวซ้าย เป็นต้น

10 ป้ายจราจร เพื่อความปลอดภัย สำหรับฝ่ายอาคารสถานที่

สำหรับฝ่ายอาคารสถานที่ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชนจำนอกจากจะมีสัญลักษณ์จราจรทางพื้นแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี ป้ายจราจร เพื่อความปลอดภัยและความเป็นระเบียบสำหรับผู้มาติดต่องาน ณ สถานที่ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อลดการเข้าใจผิดและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นภายในอาคารองค์กรได้
⦁ ป้ายหยุด เป็นป้ายบังคับให้รถทุกคันต้องหยุด เมื่อปลอดภัยหรือได้รับอนุญาตจึงจะสามารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ โดย สัญลักษณ์จราจร จะเป็นรูป 8 เหลี่ยม ขอบสีแดง, พื้นสีแดง มีคำว่า หยุด หรือ STOP อยู่ตรงกลาง ส่วนใหญ่ป้ายจะได้รับการติดตั้งบริเวณทางแยกและทางเข้า เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่หรือพนักงานรักษาความปลอดภัย ในการสอบถามถึงสาเหตุการมาของผู้ขับขี่
⦁ ป้ายให้ทาง เป็นป้ายบังคับให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังหรือให้ทางแก่รถ หรือคนเดินเท้าบนทางขว้างข้างหน้ามาก่อน เมื่อเห็นว่าไม่มีอะไรกีดขวางและปลอดภัยสามารถที่จะเคลื่อนรถไปต่อได้ ส่วนใหญ่ป้ายจะได้รับการติดตั้งบริเวณทางโค้ง ที่เป็นทางร่วม ซึ่งจะมีป้ายแนะนำกำกับ เช่น ให้ทาง ระวังรถทางขวา, ระวังรถทางซ้าย หรือบริเวณคลังสินค้า เป็นต้น
⦁ ป้ายห้ามเข้า เป็นป้ายเพื่อใช้บอกให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในพื้น ที่จอดรถ บริเวณดังกล่าว
⦁ ป้ายห้ามจอดรถ จะมีลักษณะกลม ขอบวงสีแดง พื้นสีน้ำเงิน คาดเฉียงบนซ้ายลงล่างขวา เพื่อบอกให้ผู้ขับขี่ห้ามจอดรถบริเวณดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นบริเวณทางเข้าออกของรถขนส่งสินค้าหรือรถบรรทุกขนาดใหญ่ เพราะหากมีรถมาจอดบริเวณดังกล่าว อาจทำให้รถใหญ่ไม่สามารถเข้า-ออกได้
⦁ ป้ายห้ามใช้เสียง ปกติจะเห็นป้ายห้ามใช้เสียง หรือทำให้เกิดเสียงภายในบริเวณโรงพยาบาล หรือสถานศึกษา เพื่อป้องกันการรบกวนผู้ป่วยหรือนักเรียน นักศึกษาที่กำลังใช้สมาธิในการเรียนหนังสือ
⦁ ป้ายห้ามเลี้ยว โดยป้ายห้ามเลี้ยวจะแบ่งออกเป็น ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย และ ป้ายห้ามเลี้ยวขวา เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
⦁ ป้ายห้ามยานพาหนะต่าง ๆ ผ่าน เช่น ป้ายห้ามรถบรรทุกผ่าน, ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์ผ่าน หรือป้ายห้ามรถยนต์ทุกชนิดผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และผู้ดูแลว่าจะกำหนดรถชนิดใดผ่านได้หรือไม่
⦁ ป้ายจำกัดความเร็ว หมายความว่า ห้ามรถทุกชนิดวิ่งเร็วกว่าที่กำหนด ซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยป้ายจะเป็นวงกลม ขอบสีแดง พื้นสีขาว ตัวเลขที่จะกำหนดความเร็วเป็นสีดำ เช่น 30 >> รถจะต้องวิ่งด้วยความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนมากจะใช้ภายในบริเวณโรงงาน อาคารสถานที่ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะรถบรรทุกสินค้า
⦁ ป้ายจำกัดความสูง หมายถึง จำกัดรถที่มีความสูงเกินกำหนดวิ่งผ่าน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น ประตูโกดังสินค้า, ทางขึ้นที่จอดรถ เป็นต้น โดยป้ายจะมีลักษณะวงกลม ขอบสีแดง ตัวเลขระบุความสูงสีดำ พร้อมสามเหลี่ยมด้านบนและด้านล่างของตัวเลข
⦁ ป้ายห้ามแซง หมายถึง ห้ามรถคันหลัง วิ่งแซงคันหน้าในเขตทางที่มีป้ายห้ามแซงติดตั้งอยู่ ซึ่งทางดังกล่าวอาจเป็นทางแคบ หรืออาจมีเส้นขาวทึบอยู่บริเวณพื้น เพื่อป้องกันการเฉี่ยวชนรถคันที่จะสวนทางมา

แนะนำ ป้ายเตือน สำคัญที่คนขับรถควรรู้

 

⦁ ป้ายระวังคนข้ามถนน สัญลักษณ์จราจร จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขอบสีดำ พื้นสีเหลือง มีรูปคนกำลังข้ามถนน ป้ายนี้ทำขึ้นเพื่อบอกให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังบริเวณดังกล่าว เพราะอาจจะมีคนข้ามถนนก็เป็นได้ โดยเฉพาะทางสำหรับเชื่อมต่ออาคาร หรือบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน เช่น โรงอาหาร เป็นต้น
⦁ ป้ายเตือนรถกระโดด ป้ายเตือนดังกล่าวสามารถพบได้ตามโครงการบ้านจัดสรร, โรงงาน, ห้างสรรพสินค้า  โดยจะทำเป็นลูกระนาด เพื่อชะลอความเร็วและให้รถทุกคันระวังเมื่อเจอเนินดังกล่าว เพราะหากมาด้วยความเร็วอาจทำให้รถกระโดดและเกิดความเสียหายได้ ถือเป็นอีก 1 วิธีลดอุบัติเหตุ ภายในอาคารสถานที่ได้ดี
⦁ ป้ายวงเวียนข้างหน้า ส่วนใหญ่จะพบได้ตามห้างสรรพสินค้า ลานจอดรถ โรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถวนรถกลับได้แบบต่อเนื่อง โดยไม่ต้องหยุดรถเพื่อกลับรถ โดยทางดังกล่าวอาจมีตั้งแต่ 3 แยก ขึ้นไป เมื่อรถทุกคันมาถึงจะต้องชะลอตัวเพื่อวนรถตามที่กำหนด เป็นต้น
⦁ ป้ายทางเลี้ยว เป็นที่ใช้เตือนผู้ขับขี่ให้เตรียมเลี้ยวไปตามสัญลักษณ์ที่กำหนด เช่น ป้ายเลี้ยวซ้าย, ป้ายเลี้ยวขวา หรือเป็นทางแบบซิกแซก โดยจะมีขอบสีดำพื้นสีเหลือง สัญลักษณ์สีดำ
⦁ ป้ายบังคับให้รถเดินทางใดทางหนึ่ง เช่น ป้ายให้เดินรถทางเดียวไปทางซ้าย ซึ่งจะมีขอบสีน้ำเงิน เส้นรอบวงสีขาว พื้นสีน้ำเงิน สัญลักษณ์สีขาว เป็นป้ายที่บังคับให้รถเดินทางไปในทิศทางที่กำหนด
นอกจาก เครื่องหมายจราจร ที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีป้ายเตือนให้รถยนต์ที่ได้รับการติดตั้งระบบแก๊สต้องจอด ที่จอดรถ ภายนอกตัวอาคารอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์บนพื้นที่ผู้ขับขี่ต้องใส่ใจ สัญลักษณ์จราจร และขับขี่ด้วยความระมัดระวัง เมื่อไปเยือนสถานที่ที่เป็นพื้นที่ของเอกชน เพราะฝ่ายอาคารสถานที่และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะมีความเข้มงวดมากกว่าการจราจรภายนอก เนื่องจากบริเวณภายในถือเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล เจ้าหน้าที่จะต้องรักษาผลประโยชน์ให้กับองค์กรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหายที่จะตามมา เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้นจริงบางครั้งอาจประเมินมูลค่าความเสียหายไม่ได้