เครื่องหมายจราจร ความปลอดภัยและความรับผิดชอบ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                              สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางบกในประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ก่อให้เกิดความสูญเสียในด้านชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะมาจาก “คน” รถ สภาพแวดล้อม พื้นถนน ไฟสัญญาณจราจร และ เครื่องหมายจราจร ตามลำดับ เพื่อให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรลดลง ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจัดการอบรมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ป้ายจราจร และไฟจราจรให้กับผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางสัญจรอยู่เป็นประจำผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้และทราบความหมายต่าง ๆ ของ  ป้ายจราจร

                        ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการจัดระเบียบการจราจรทางบก พ.ศ.2521 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ได้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยด้านการจราจรและขนส่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางและมีการนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ เครื่องหมายจราจร สัญลักษณ์บนพื้นถนน และไฟสัญญาณต่าง ๆ เพื่อลดความสับสนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบจราจรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

หลักพื้นฐานในการติดตั้ง เครื่องหมายจราจร และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • สำรวจและวางแผน ก่อนที่จะติดตั้งป้ายสัญญาณ ไฟจราจร ต่าง ๆ สิ่งแรกที่สถานประกอบการต้องทำคือ การสำรวจและวางแผนก่อนการติดตั้ง โดยอาจพิจารณาจากพื้นที่ขององค์กรและเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสม โดยจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงของอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น จากนั้นค่อยกำหนดจุดดังกล่าวให้เป็นพื้นที่ควบคุม เช่น โรงเรียนอาจเลือกทำเนินลูกระนาด ยางชะลอความเร็ว บริเวณถนนภายใน พร้อมกับป้ายจำกัดความเร็ว เนื่องจากภายในโรงเรียนจะมีแต่เด็กนักเรียน ดังนั้นการควบคุมการจราจรจะต้องเข้มงวดเป็นพิเศษ ในส่วนของทางเข้าหมู่บ้านหรือทางเข้าบริษัท จำเป็นจะต้องมีแผงกั้นจราจรเพื่อให้บุคคลภายนอกแลกบัตรหรือสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนขับขี่เข้ามาภายใน ติดป้ายลดความเร็ว หรือ ป้ายจำกัดความเร็ว เมื่อต้องขับรถผ่านบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน เป็นต้น

 

 

  • เลือกอุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสม หลังจากที่มีการสำรวจพื้นที่และวางแผนในการติดตั้ง ลำดับต่อไปจะเป็นในส่วนของการเลือกอุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อที่จะบังคับใช้ได้ถูกต้อง เช่น ป้ายห้ามเข้า ป้ายระวังทางแยก ป้ายหยุด หากต้องการความปลอดภัยเพิ่มเติมอาจจำเป็นต้องใช้ กรวยจราจร เสาหลักจราจรหรือแบริเออร์ หากพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญและอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายหรือเสี่ยงที่จะมีความเสียหายที่รุนแรงได้ จึงควรใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อลดอุบัติเหตุและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น 
  • จัดการอบรมพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อติดตั้งอุปกรณ์จราจรแล้วก็อย่าลืมจัดอบรมและให้ความรู้แก่พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมถึงบุคคลภายนอก เช่น ลูกค้า เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาติดต่องาน เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจความหมายของ เครื่องหมายจราจร ไฟจราจร และสัญลักษณ์อื่น ๆ ได้อย่างถูกต้องและมีความเข้าใจไปในทางเดียวกัน โดยเฉพาะ อปพร. หรือ อาสาสมัครต่าง ๆ ที่เข้าไปเป็นผู้ช่วยตำรวจ ผู้ใหญ่บ้าน ยิ่งต้องได้รับการอบรมที่เข้มงวด เพราะต้องมีเหตุให้ออกไปปฏิบัติงานจราจรในพื้นที่จริง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นโดยที่ไม่คาดคิด เช่น การใช้ สัญญาณ ไฟจราจร การใช้มือในการสื่อสาร เป็นต้น

 

 

  • สรุปผลและประเมินจากเหตุการณ์จริง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสรุปผลการอบรมถึงความเข้าใจของผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับ ป้ายจราจร สัญลักษณ์จราจรและความสำคัญของอุปกรณ์จราจรที่เกี่ยวข้อง จากนั้นให้ประเมินจากสถานการณ์จริง โดยอาจเก็บเป็นสถิติของผู้ที่ไม่เคารพกฎจราจร เช่น ไม่หยุดรถเมื่อเจอป้ายหยุด หรือจอดในที่ห้ามจอด เป็นต้น สถิติการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อทำการปรับปรุงและแก้ไขต่อไปให้ดียิ่งขึ้น 

 

แนะนำเครื่องหมายจราจร

  • ประเภท ป้ายบังคับ ป้ายบังคับ มีไว้เพื่อบังคับให้ทุกคนปฏิบัติตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดและได้รับโทษทางกฎหมาย

 

 

  • ป้ายห้ามจอด ความหมาย ห้ามรถทุกชนิดจอด ณ บริเวณที่ป้ายกำหนด เว้นแต่หยุดรถได้ชั่วขณะเพื่อรับหรือส่งคนและควรกระทำอย่างรวดเร็ว ห้ามชักช้า การใช้งานให้ติดตั้งไว้ตรงบริเวณที่ไม่ต้องการให้รถทุกชนิดจอด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรือทำให้จราจรติดขัด เช่น หน้าโรงเรียน, หน้าบริษัท, หน้าอาคารสำนักงาน เป็นต้น
  • ป้ายห้ามหยุดรถ ความหมาย ห้ามรถทุกชนิดหยุดหรือจอดทุกกรณี ณ บริเวณดังกล่าว แม้จะหยุดเพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารก็ไม่ได้ ซึ่งบริเวณที่ติดตั้งป้ายอาจเป็นถนนที่มีการจราจรพลุกพล่าน เช่น หน้าโรงเรียน หรือ บริเวณที่มีรถใหญ่เข้าออกเป็นประจำ เป็นต้น
  • ป้ายห้ามเลี้ยวซ้ายและห้ามเลี้ยวขวา ความหมาย ห้ามรถทุกชนิดเลี้ยวไปยังทิศทางที่ห้าม เช่น ห้ามเลี้ยวขวา ก็ห้ามขับขี่รถไปทางขวา, ห้ามเลี้ยวซ้าย ก็ห้ามขับขี่รถไปทางซ้าย 

 

 

  • ป้ายหยุด STOP ความหมาย หากรถทุกคันมาถึงบริเวณดังกล่าวที่ติดตั้งป้าย จะต้องหยุดรถ เพื่อพิจารณาถึงความปลอดภัย หากพบว่ามีความปลอดภัยดีแล้ว ค่อยเคลื่อนรถออกไปอย่างช้า ๆ เช่น ทางแยกที่ไม่มีไฟจราจร ทางรถไฟ หรือบริเวณรถใหญ่เข้าออก 
  • ประเภท ป้ายเตือน ป้ายเตือนใช้สำหรับเตือนผู้ขับขี่ให้ระมัดระวังหรือแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงทางข้างหน้าหรือสภาพทางที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือให้ระวังการเกิดอุบัติเหตุ หากผู้ขับขี่พบเห็นจะต้องชะลอความเร็วลงและขับขี่ด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น การใช้ป้ายดังกล่าวไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อหรือมากเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้ขับขี่ขาดความใส่ใจได้
  • ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก ความหมาย ในระยะทางอันใกล้นี้จะมีโรงเรียนตั้งอยู่ ให้ระมัดระวังเด็กข้ามถนนและควรขับรถให้ช้าลง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นแก่นักเรียน หรือภายในบริเวณโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องการเตือนผู้ขับขี่ให้ระมัดระวังพนักงานข้ามถนน ณ จุดที่มีการใช้ทางเดินทางร่วมกับถนน 

 

 

                                         ประเภท อุปกรณ์ อุปกรณ์จราจรเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยบังคับให้รถสามารถปฏิบัติตามกฎจราจรได้ดี โดยเฉพาะการนำไปใช้ควบคู่กับเครื่องหมายจราจรและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น

  • กรวยจราจร คือ อุปกรณ์สำหรับวางกั้นทาง หรือใช้บังคับให้รถวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน หรือเพื่อเตือนให้ระมัดระวังทางข้างหน้า ข้อดีคือเคลื่อนย้ายได้ง่าย ส่วนใหญ่ผลิตจากยาง EVA เพราะมีขนาดเบา ทนทานและยืดหยุ่นสูง รองรับการกระแทกได้ดีและทนการเหยียบทับของรถได้ กรวยจราจรจะต้องมีแถบสะท้อนแสง มองเห็นได้ชัดในเวลากลางคืน 

 

8 สถานที่ ที่ควรใช้ แบริเออร์พลาสติก กั้นถนน

 

  • แบริเออร์ คือ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเหมือนกำแพง มีน้ำหนักในระดับหนึ่ง เคลื่อนย้ายได้ ส่วนใหญ่นำมากั้นเพื่อแบ่งเลนจราจรหรือห้ามรถวิ่งผ่าน เช่น การใช้แบริเออร์กั้นทางเพื่อแบ่งเลนจราจรในขณะกำลังสร้างหรือปรับปรุงถนน 
  • เสาหลักจราจร ส่วนใหญ่จะได้รับการติดตั้งแบบถาวร เพื่อบังคบให้รถวิ่งในทิศทางที่กำหนด ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ มีให้เลือกใช้งาน 2 วัสดุได้แก่ แบบ PU รถยนต์สามารถขับผ่านหรือทับเสาจราจรได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อตัวรถ อีกแบบหนึ่งผลิตจาก ยาง อาจทำให้รถเป็นรอยได้หากขับเฉี่ยวชน หากไม่ต้องการให้รถได้รับความเสียหาย ควรขับด้วยความเร็วต่ำและระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น
  • ที่กั้นที่จอดรถ พบเห็นได้ทั่วไป ณ บริเวณลานจอดรถ โดยวัสดุผลิตจากยาง, โลหะและแท่งปูน เพื่อหยุดหรือห้ามล้อให้รถเคลื่อนที่ข้ามไปฝั่งตรงข้ามหรือป้องกันรถขึ้นไปบนขอบฟุตบาท 

 

 

  • เสื้อกั๊กสะท้อนแสง สำหรับเจ้าหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติงานจราจรในตอนกลางคืน เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ อปพร. รปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยตัวเสื้อจะมีแถบสะท้อนแสงอย่างน้อย 2 แถบ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อแสงไฟจากรถสาดส่องมาถึง
  • กระบองไฟกระพริบ ใช้สำหรับให้สัญญาณ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนที่เจ้าหน้าที่ต้องออกปฏิบัติงาน 
  • ป้ายไฟเตือน ป้ายไฟเตือนมีให้เลือกใช้งานหลายแบบทั้งติดท้ายรถ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่กำลังใช้รถปฏิบัติหน้าที่อยู่ หรือป้ายไฟบอกทางเพื่อบังคับให้ผู้ขับขี่ขับรถเข้าตามช่องไฟที่กำหนด เป็นต้น
  • ถังดับเพลิง แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการจราจร แต่เพื่อความปลอดภัยควรมีติดตั้งไว้บริเวณป้อมรักษาความปลอดภัย เผื่อเหตุฉุกเฉินในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้รถยนต์ได้

 

 

                       จะเห็นว่าทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานที่ดูแลงานจราจรและความปลอดภัยและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อความเป็นระเบียบวินัย การสำรวจ ออกแบบ วางแผนและติดตั้ง ล้วนต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทุกครั้ง พร้อมกับสามารถวัดผลการดำเนินงานได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและแก้ไขในอนาคต สำหรับหน่วยงานใดที่กำลังมองหา ป้ายจราจร อุปกรณ์ความปลอดภัย ต่าง ๆ ถังดับเพลิง ที่มีมาตรฐานในการผลิตและมีคุณสมบัติการใช้งานตามที่กฎหมายกำหนด ร้านไทยจราจร trafficthai.com ยินดีให้คำปรึกษาและจำหน่ายอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานทุกชนิด และพร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดอุบัติเหตุให้ทุกภาคส่วนได้รับความปลอดภัยจากการใช้รถใช้ถนน

 

ที่มาข้อมูล :