การเลือก ป้ายจราจร หรือเครื่องหมายจราจรแบบไหน ที่ช่วยลดอุบัติเหตุบนถนนได้

traffic selection

อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นทั้งนั้น เพราะจะนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งต่อร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน โดยเราสามารถป้องกันหรือลดการเกิดอุบัติเหตุบนถนนได้ง่าย ๆ ด้วยการเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย หรือสังเกตป้ายเตือนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถขับรถได้อย่างระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น

วิธีลดอุบัติเหตุ  บนถนนง่าย ๆ เช่น

  • ขับรถโดยใช้ความเร็วที่เหมาะสม โดยเฉพาะการขับขี่รถในที่ชุมชนหรือในพื้นที่ที่เราไม่คุ้นชินเส้นทางยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น
  • ไม่คุยโทรศัพท์หรือเล่นโทรศัพท์ขณะที่กำลังขับรถอยู่ เนื่องจากจะทำให้เสียสมาธิในการขับขี่
  • ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
  • ทำความเข้าใจและหมั่นสังเกตป้ายจราจรอยู่เสมอเวลาขับขี่ไปยังที่ต่าง ๆ 
1. ป้ายจราจร  ที่ช่วยลดอุบัติเหตุบนถนน

ก่อนจะทราบรายละเอียดของป้ายจราจรแต่ละป้ายนั้น เรามาทำความรู้จักกับจุดประสงค์ของป้ายจราจรกันก่อนดีกว่า โดยป้ายจราจรนั้นได้ถูกนำมาใช้ในการอำนวยความสะดวกและควบคุมการจราจรบนท้องถนนให้เกิดความปลอดภัย ซึ่งผู้ใช้รถใช้ถนนควรที่จะทราบความหมายของป้ายพื้นฐานเหล่านี้ไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการขับขี่ในทุก ๆ วัน ป้ายจราจรสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ป้ายบังคับ (Regulatory Signs)

เป็นเครื่องหมายจราจรที่มักจะอยู่ในรูปแบบที่มีพื้นหลังสีขาว มีขอบเป็นสีแดง จุดประสงค์ของป้าย คือ เพื่อกำหนดให้ผู้ที่ใช้เส้นทางนั้น ๆ ต้องปฏิบัติตาม โดยสามารถแบ่งประเภทของป้ายบังคับได้เป็นประเภทย่อยต่าง ๆ ดังนี้

ป้ายบังคับประเภทกำหนดสิทธิ์ (Priority Signs)

เป็นสัญลักษณ์ทางจราจรที่ใช้ในการแจ้งให้ผู้ที่ใช้ทางได้ทราบถึงกฎที่แสดงถึงลำดับก่อนหลังในการใช้เส้นทาง มักนำมาใช้ในพื้นที่บริเวณทางแยก และบริเวณทางแคบ 

ตัวอย่างป้ายบังคับประเภทกำหนดสิทธิ์ เช่น ป้ายหยุด ป้ายให้ทาง ป้ายให้รถสวนทางมาก่อน

ตัวอย่างความหมายของป้ายบังคับประเภทกำหนดสิทธิ์ เช่น ป้ายให้ทาง หมายถึง ผู้ขับขี่ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่ด้วยยานพาหนะใดก็ตามจะต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถหรือคนผ่านไปก่อน โดยเมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่เป็นการกีดขวางการจราจรจึงจะขับขี่ยานพาหนะไปต่อ

ป้ายบังคับประเภทห้ามหรือจำกัดสิทธิ์ (Prohibitory or Restrictive Signs)  เป็น สัญลักษณ์จราจร ที่ใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกให้ผู้ใช้ทางได้ทราบถึงการห้าม การจำกัด และการสิ้นสุดการห้ามและการจำกัด  ตัวอย่างป้ายบังคับประเภทห้ามหรือจำกัดสิทธิ์ เช่น

ตัวอย่างความหมายของป้ายบังคับประเภทห้ามหรือจำกัดสิทธิ์ เช่น ป้ายห้ามเข้า หมายถึง ห้ามรถทุกชนิดเข้าไปในพื้นที่หรือบริเวณในเขตที่มีการติดตั้งป้าย

ป้ายบังคับประเภทคำสั่ง (Mandatory Signs)  เป็นป้ายจราจรที่ใช้แจ้งเพื่อให้ผู้ที่ใช้เส้นทางนั้นทราบเกี่ยวกับแนวทางในการใช้เส้นทางนั้น และปฏิบัติตาม ตัวอย่างป้ายบังคับประเภทคำสั่ง เช่น

ตัวอย่างความหมายของป้ายบังคับประเภทคำสั่ง เช่น ป้ายให้เลี้ยวซ้าย หมายถึง ผู้ขับขี่จะต้องเลี้ยวไปทางด้านซ้ายตามป้ายที่กำหนดเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจว่าทางจะสามารถเลี้ยวไปทางขวาได้หรือไม่ก็ตาม

Traffic signs that reduce road accidents
2. ป้ายเตือน (Warning Signs)

          ป้ายเตือนถือเป็น เครื่องหมายจราจร ที่ช่วยเตือนให้ผู้ใช้ทางหลวงหรือทางหลวงชนบททราบล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลหรือสภาพเส้นทาง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการใช้เส้นทาง เป็นการสร้างความตระหนักและทำให้ผู้ที่ใช้เส้นทางเกิดความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ลักษณะของป้ายเตือนนั้นจะมีความแตกต่างจากป้ายบังคับอย่างเห็นได้ชัด คือ ป้ายเตือนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นป้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีพื้นหลังเป็นสีขาว หรือสีเหลือง ขอบของป้ายเป็นสีดำ ตัวอย่างและความหมายของป้ายเตือนที่พบได้ทั้งบนถนนทางหลวงหรือทางหลวงชนบท เช่น

ป้ายทางคดเคี้ยว 

เป็นป้ายที่แสดงสัญลักษณ์ของเส้นทางที่คดเคี้ยวโดยเริ่มจากเส้นทางซ้าย

ความหมายของป้ายทางคดเคี้ยว คือ ทางข้างหน้าที่จะถึงนั้นมีลักษณะของเส้นทางหรือถนนที่เป็นทางคดเคี้ยว สิ่งที่ผู้ขับขี่ควรทำเมื่อพบเจอป้ายเตือนทางคดเคี้ยว คือ ควรลดความเร็วในการขับขี่ลง และขับรถชิดซ้ายด้วยความระมัดระวัง

ป้ายทางลื่น 

สัญลักษณ์จราจร ที่มีลักษณะของป้ายแสดงภาพรถยนต์และมีเส้นสื่อความหมายว่าถนนลื่น

ความหมายของป้ายทางลื่น คือ เส้นพื้นผิวจราจรของทางด้านหน้ามีผิวจราจรลื่น มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ สิ่งที่ผู้ขับขี่ควรทำเมื่อพบเจอป้ายทางลื่น คือ ควรลดความเร็วในการขับขี่ ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเหยียบเบรกหรือหยุดรถกะทันหันเพราะเสี่ยงที่รถของตนเองและรถผู้ที่ขับขี่ใกล้เคียงจะเกิดอุบัติเหตุได้

ป้ายทางข้ามรถไฟ 

ลักษณะของป้ายทางข้ามรถไฟจะเป็นเส้นสีดำคล้ายกับรางรถไฟบนพื้นหลังของป้ายที่เป็นสีเหลืองและมีขอบของป้ายเป็นสีดำ

ความหมายของป้ายทางข้ามรถไฟ คือ เส้นทางเดินรถข้างหน้าเป็นเส้นทางที่มีรถไฟตัดผ่านและไม่มีเครื่องกั้นทาง สิ่งที่ผู้ขับขี่ควรทำเมื่อพบเจอป้ายทางข้ามรถไฟ คือ ก่อนที่จะข้ามทางรถไฟควรหยุดรถห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วมองทางซ้ายและขวาก่อนว่ามีรถไฟอยู่ในระยะใกล้หรือไม่ หากมีรถไฟกำลังตัดผ่านหรือกำลังจะมาให้หยุดรอจนรถไฟผ่านไปก่อน ไม่ขับรถตัดหน้ารถไฟ แต่หากตรวจดูแล้วว่าไม่มีรถไฟจะผ่านมา ก็สามารถขับผ่านทางรถไฟไปได้ 

ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก 

เป็นลักษณะของป้ายที่มีพื้นหลังสีเหลือง ขอบป้ายสีดำ มีรูปผู้ใหญ่และเด็กคล้ายกับเกาะแขนกัน

ความหมายของป้ายโรงเรียนระวังเด็ก คือ เส้นทางข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ขับขี่ควรทำเมื่อพบเจอป้ายโรงเรียนระวังเด็ก คือ ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังและควรลดความเร็วในการขับขี่เนื่องจากอาจมีเด็กเผลอวิ่งตัดหน้ารถไปหยิบของหรือเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้หากเด็กจะข้ามถนน ต้องหยุดรถให้เด็กข้ามถนนไปก่อน

give aways
3. ป้ายแนะนำ (Guide Sign)

เป็นเครื่องหมายจราจรที่มีจุดประสงค์เพื่อแนะนำผู้ใช้เส้นทางให้ทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น ข้อมูลการเดินทาง ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการจราจร ข้อมูลเกี่ยวกับระยะทางที่จะถึงที่หมาย ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทาง ลักษณะของป้ายแนะนำนั้นมีทั้งที่อยู่ในรูปป้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือป้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีพื้นหลังสีขาวและขอบป้ายสีดำ โดยป้ายแนะนำสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามหน้าที่ได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

ป้ายแนะนำที่ใช้ในการบอกทิศทาง บอกตำแหน่งหรือแสดงการใช้ทาง เช่น ป้ายที่มีชื่อของจุดหมายปลายทางและมีสัญลักษณ์ลูกศรชี้ขึ้น หมายถึง หากต้องการไปยังจุดหมายปลายทางนั้นให้ขับรถตรงไป

ป้ายแสดงข้อมูลข่าวสารและการบริการ เช่น ป้ายที่มีชื่อจังหวัดและมีตัวเลขบอกเพื่อแสดงถึงระยะทางที่จะถึงจุดหมายปลายทางนั้น

ป้ายประกอบหรือป้ายเสริม เช่น ป้ายทางออก ป้ายทางลง

ต้องยอมรับว่าผู้ขับขี่หลายคนยังมีความเข้าใจในป้ายหรือสัญลักษณ์ทางจราจรไม่ดีเท่าที่ควร สิ่งสำคัญในการขับรถไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใดก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับ เครื่องหมายจราจร และสังเกตป้ายหรือเครื่องหมายต่าง ๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้อาจหาอุปกรณ์ติดรถไว้หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ในพื้นที่ที่เราไม่ชินกับเส้นทาง

สำหรับฝ่ายอาคารสถานที่ในหน่วยงานที่กำลังพิจารณา ป้ายจราจร ให้เหมาะสมกับหน่วยงานของตนเองนั้น อันดับแรกควรต้องพิจารณาถึงเส้นทางเดินรถภายในหน่วยงาน ในอาคาร และบริเวณโดยรอบของอาคารต่าง ๆ

เพื่อนำมาวางแผนว่าควรใช้ป้ายหรือเครื่องหมายจราจรใดบ้าง และมาวางแผนจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถใช้ถนนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในองค์กร เพื่อนำไปสู่การบริหารพื้นที่อย่างเหมาะสมและใช้ป้ายจราจรที่ช่วยลดอุบัติเหตุบนถนนได้

ที่มาข้อมูล 

  • https://www.chiangmainews.co.th/social/1605971/
  • https://www.autospinn.com/2020/05/traffic-signs-mean-78705
  • https://trafficthai.com/