รถเข็น อุปกรณ์ใกล้ตัวที่ช่วยให้บริหารคลังสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ

            คลังสินค้า (Warehouse) หมายถึง สถานที่ที่ใช้ในการพักและเก็บรักษาสินค้า วัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อให้สินค้าคงอยู่ในสภาพที่พร้อมจะส่งมอบต่อร้านค้าหรือลูกค้าต่อไป สำหรับความสำคัญของคลังสินค้านั้นไม่ใช่เพียงเป็นสถานที่แค่เก็บสินค้า เพราะหากมีการบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดีจะมีส่วนช่วยในการลดต้นทุนทั้งระบบโลจิสติกส์ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำได้อย่างมหาศาล ตัวอย่างเช่น ช่วยลดต้นทุนในการจัดส่งสินค้า เมื่อมีการกระจายคลังสินค้าให้อยู่ใกล้กับผู้บริโภค หรือบางครั้งมีการเปิดคลังสินค้าแล้วให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อเอง ก็เป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการส่งมอบเช่นกัน

           การบริหารคลังสินค้า หรือการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการบริหารจัดการในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การรับ การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพและการส่งมอบสินค้า โดยมีจุดประสงค์ในการดำเนินการทั้งระบบเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำที่สุดและใช้พื้นที่ในคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

         ในการทำธุรกิจแทบจะทุกธุรกิจจะต้องมีการทำสต็อกสินค้าเพื่อตรวจสอบปริมาณการหมุนเวียนของสินค้าแต่ละรายการ นำไปสู่การวางแผนในการจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบในปริมาณที่เหมาะสม หรือหากมีรายการสินค้าและปริมาณสินค้าที่มากก็จำเป็นจะต้องมีการหาพื้นที่ในการทำเป็นคลังสินค้า โดยบทบาทของคลังสินค้า เช่น

1. รับสินค้า (Receiving)

        การรับสินค้าเข้าสู่คลังสินค้านั้นจำเป็นต้องมีการแยกเป็นหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบตั้งแต่แรกเพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำสินค้าขึ้นชั้น และควรมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งลักษณะของสินค้าและจำนวน

2. การควบคุมและจัดเก็บสินค้า (Storage & Controlling)

         ในขั้นตอนนี้ต้องมีการใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น รถเข็น รถยก เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการบริหารจัดการคลังสินค้า ทั้งในส่วนของการจัดเก็บสินค้าและการนำสินค้าออก นอกจากนี้ควรพิจารณาประเภทสินค้า วันหมดอายุ และอื่น ๆ ว่าสินค้าต้องมีการควบคุมอุณหภูมิหรือไม่ เพื่อจัดเก็บให้สินค้าไม่เสื่อมสภาพ

3. การคัดแยกสินค้า (Sorting)

        การคัดแยกสินค้าถือว่าเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่มีความสำคัญในการบริหารคลังสินค้าอย่างมาก เพราะจะทำให้สามารถจัดเก็บวัตถุดิบ หรือสินค้าต่าง ๆ ได้เป็นระเบียบ แบ่งตามประเภทและ Lot เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและส่งมอบต่อลูกค้า ในการคัดแยกสินค้าในคลังสินค้านั้นสามารถใช้เทคนิคต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น

  • การติดป้ายแยกตามสี
  • การมีบาร์โค้ดแยกประเภทสินค้า
4. การส่งมอบและกระจายสินค้า (Delivery & Distribution)

            เมื่อมีออเดอร์หรือคำสั่งซื้อก็จะมีการกระจายสินค้าออกจากคลังสินค้าและส่งมอบสินค้าไปยังผู้จัดจำหน่ายหรือลูกค้าต่อไป ซึ่งในการนำสินค้าออกจากบริเวณต่าง ๆ ในคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ชั้นวาง หรือตู้จัดเก็บสินค้า จำเป็นต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพื่อช่วยผ่อนแรงในการขนย้ายสินค้า และควรมีหลักในการบริหารสต็อก เช่น หลักการ First in First out (FIFO) เป็นหลักการที่จะส่งมอบสินค้าที่เข้าสู่คลังสินค้าก่อน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของสินค้า และยังลดโอกาสที่ของจะค้างสต็อกจนหมดอายุ สำหรับสินค้าที่มีวันหมดอายุอีกด้วย

อุปกรณ์ใกล้ตัวที่ช่วยให้ บริหารคลังสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. อุปกรณ์ที่ช่วยในการจัดเก็บและส่งมอบ

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดเก็บสินค้าเข้าชั้นวางหรือสถานที่จัดเก็บ และช่วยทุ่นแรงหรือเพิ่มความรวดเร็วในการนำสินค้าออกจากสถานที่จัดเก็บในคลังสินค้าเพื่อส่งออกหรือส่งมอบต่อไป ซึ่งความสำคัญของขั้นตอนนี้ คือ จะต้องเคลื่อนย้ายสินค้าโดย

  • สินค้าต้องไม่เสียหาย
  • บรรจุภัณฑ์ของสินค้ายังคงสภาพเดิม
  • ประเภท ชนิด และจำนวนของสินค้าถูกต้อง
  • จัดเก็บถูกที่

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ช่วยในการจัดเก็บและส่งมอบ เช่น

  • รถเข็นสินค้าอเนกประสงค์
  • รถเข็นช้อปปิ้งที่มีลักษณะเป็นตะกร้า
  • รถยกสินค้า สำหรับขนสินค้าที่มีขนาดใหญ่และไว้ในที่สูง

2. อุปกรณ์ที่ช่วยในการคงสภาพของสินค้า

เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้สินค้ายังอยู่ในสภาพที่ดี ไม่เกิดความเสียหายระหว่างการจัดเก็บอันอาจจะเกิดได้จากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด 

เนื่องจากหัวใจสำคัญในการเก็บสินค้าในคลังสินค้า คือ การส่งมอบสินค้าที่ยังคงสภาพที่ดี ปริมาณที่ถูกต้อง ในระยะเวลาที่กำหนด ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ช่วยให้การคงสภาพของสินค้า เช่น

  • เครื่องปรับอากาศ
  • เครื่องควบคุมความชื้น
  • เครื่องฆ่าเชื้อ UV
  • เครื่องควบคุมอุณหภูมิ
[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]

3. อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้องกันความเสียหาย

            เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลให้วัตถุดิบหรือสินค้าที่จัดเก็บในคลังสินค้าเกิดความเสียหาย โดยตัวอย่างเหตุการณ์ที่อาจทำให้สินค้าในคลังสินค้าเกิดความเสียหาย เช่น

[row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]
3.1 ไฟไหม้

         โอกาสในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือเกิดประกายไฟในคลังสินค้านั้นสามารถเกิดได้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะคลังสินค้าที่ต้องมีการเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศอยู่ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ซึ่งเมื่อหากเกิดไฟไหม้แล้วจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลอย่างแน่นอน ดังนั้น ควรมีแนวทางในการจัดการกับความเสี่ยง และแนวทางในการป้องกันการเกิดเหตุไฟไหม้ เช่น

  • การติดตั้งระบบดักจับควันไฟและระบบดับเพลิง
  • การจัดการซ้อมเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
  • ให้พนักงานได้อบรมการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัย

อุปกรณ์ในการป้องกันการเกิดเหตุไฟไหม้ เช่น

  • ถังดับเพลิง ควรมีตั้งไว้ในคลังสินค้า โดยให้มีจำนวนที่เพียงพอต่อการใช้งานและเหมาะสมต่อขนาดพื้นที่ของคลังสินค้า
  • สัญญาณเตือนควันไฟ
  • สปริงเกอร์ หัวฉีดน้ำดับเพลิง
[row_inner_5] [col_inner_5 span__sm=”12″] [row_inner_6] [col_inner_6 span__sm=”12″]
3.2 น้ำท่วม

         คลังสินค้าบางแห่งมีทำเลที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่อาจจะเกิดน้ำท่วมได้ ทั้งจากธรรมชาติ หรือการเกิดน้ำท่วมขังเวลาฝนตกหนักก็ตาม ซึ่งเมื่อเกิดน้ำท่วมจะส่งผลเสียต่อคลังสินค้า ดังนี้

  • ทำให้สินค้าที่วางอยู่ที่พื้นของคลังสินค้าเกิดความเสียหาย ทั้งในส่วนของบรรจุภัณฑ์และสินค้าที่อยู่ด้านใน
  • อาจเสียค่าใช้จ่ายในการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสินค้า
  • เกิดความชื้นในคลังสินค้า ส่งผลต่อสินค้าบางประเภท เช่น สินค้าประเภทอาหารอาจเกิดเชื้อราได้
  • นำไปสู่การเพิ่มโอกาสในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร

ตัวอย่างอุปกรณ์ในการป้องกันการเกิดน้ำท่วม เช่น

  • ชั้นวางสินค้าแบบยกพื้นสูง
  • เครื่องควบคุมความชื้น
  • เครื่องสูบน้ำ
3.3 การโจรกรรม

          นอกจากการรักษาสินค้าในคลังสินค้าให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แล้ว ในการบริหารคลังสินค้ายังต้องพึงตระหนักถึงการดูแลสินค้าให้มีอยู่อย่างครบถ้วน ไม่ตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรม แต่เนื่องจากในคลังสินค้าจะประกอบด้วยสินค้าหลายประเภทและมีจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี มีมาตรฐาน และมีแนวทางในการป้องกัน ดังนี้

  • มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในทุกมุมอย่างทั่วถึง
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าและออกคลังสินค้า
  • นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัย 
  • มีการทำ Internal audit ตรวจสอบพนักงานอย่างสม่ำเสมอ

ตัวอย่างอุปกรณ์ในการป้องกันการเกิดโจรกรรม เช่น

  • อุปกรณ์ล็อกสินค้า ร่วมกับประตูสแกนบาร์โค้ด
  • ชั้นวางอัตโนมัติเชื่อมโยงกับข้อมูลน้ำหนักของสินค้า
[row_inner_7] [col_inner_7 span__sm=”12″]

จะเห็นได้ว่า รถเข็น ถือเป็นอุปกรณ์ใกล้ตัวที่มีประโยชน์หลากหลาย มีความสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีคุณภาพ โดยประโยชน์ของรถเข็นในการบริหารคลังสินค้า เช่น

  1. เพิ่มความรวดเร็วในการจัดเก็บและส่งมอบสินค้า 
  2. ช่วยให้การขนสินค้าภายในคลังสินค้าไม่ตกหล่น
  3. สามารถหยิบสินค้าและตรวจสอบสินค้าตามคำสั่งซื้อได้อย่างครบถ้วน
[row_inner_8] [col_inner_8 span__sm=”12″]

4. เป็นหนึ่งใน วิธีลดอุบัติเหตุ จากการขนสินค้าภายในคลังสินค้า

          สำหรับบริษัทใดที่กำลังมองหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การบริหารคลังสินค้าเป็นเรื่องง่าย ได้มาตรฐาน ร้านไทยจราจร ศูนย์รวมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในคลังสินค้าที่จะทำให้ธุรกิจของคุณมีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพมาตรฐาน ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ และทำให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมั่นใจ สามารถเข้าไปชมสินค้าได้ที่ https://trafficthai.com/shop/ และถ้าต้องการข้อมูลรายละเอียดไปเลือกสินค้าก่อน ก็สามารถดาวน์โหลดแคตาล็อกฟรีได้ที่ https://trafficthai.com/shop/catalog_download/

[row_inner_9] [col_inner_9 span__sm=”12″]

ร้านไทยจราจร บริการส่งสินค้าทั่วประเทศ และมีบริการดูหน้างานจากผู้ที่มีความชำนาญกว่า 10 ปี เพื่อให้คลังสินค้าของคุณมีมาตรฐาน สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และทำให้สามารถบริหารจัดการร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ ได้อย่างคล่องตัว ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการตลาด เป็นต้น

[row_inner_10] [col_inner_10 span__sm=”12″] [/col_inner_10] [/row_inner_10] [row_inner_10] [col_inner_10 span__sm=”12″]

ที่มาข้อมูล

  • https://logistic.riverplus.com/warehouse-mean/
  • https://trafficthai.com/shop/?s=%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%99&post_type=product
  • https://www.tot.co.th/sme-tips/SME-tips/2020/08/05/5-tips-for-warehouse-management
[/col_inner_10] [/row_inner_10] [/col_inner_9] [/row_inner_9] [/col_inner_8] [/row_inner_8] [/col_inner_7] [/row_inner_7] [/col_inner_6] [/row_inner_6] [/col_inner_5] [/row_inner_5] [/col_inner_4] [/row_inner_4] [/col_inner_3] [/row_inner_3]