Zero Accident ลดความสูญเสีย ทุกคนก็ทำได้ แค่เคารพกฎ เครื่องหมายจราจร และไฟสัญญาณ

            อุบัติเหตุเป็นศูนย์ หรือ Zero Accident คือ หลักการที่ทุกองค์กรจะต้องนำไปปฏิบัติใช้ เพื่อให้ทุกกิจกรรมปลอดภัยไร้ซึ่งอุบัติเหตุหรือทำอย่างไรก็ได้เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเลย หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วย่อมส่งผลกระทบตามมาหลายอย่างจนไม่สามารถประเมินค่าได้ ตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งทุกการเกิดอุบัติเหตุย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งสิ้น งานที่ทำต้องหยุดชะงักส่งผลต่อกระบวนการผลิต ส่งผลให้เกิดขวัญและกำลังใจเพื่อนร่วมงานคอยหดหาย

            หากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนการจราจรติดขัดส่งผลกระทบให้ผู้อื่นเดือดร้อนตามไปด้วย หลายหน่วยงานจึงคิดค้นหา ป้ายเตือน และ วิธีลดอุบัติเหตุ เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้น ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อทุก ๆ คน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม เพราะนอกจากจะได้รับผลกระทบต่อกระบวนการผลิต อาจส่งผลกระทบถึงลูกค้าจนนำมาซึ่งการโดนปรับ รวมไปถึงการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนให้ภาครัฐเพิ่มขึ้น

ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุประกอบไปด้วย
  1. สภาพการณ์ หมายถึงสถานการณ์ในขณะนั้นเอื้ออำนวยให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่ เช่น ฝนตก ถนนลื่น, เครื่องจักรชำรุด, แสงสว่างไม่เพียงพอ, มีสิ่งของวางเกะกะ กีดขวางทางเดินหรือการทำงาน ไฟฟ้าชำรุด แผนผังโรงงานไม่สอดคล้องกับกระบวนการผลิต เป็นต้น ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวอาจนำพาไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  2. ขั้นตอนการทำงาน หรือ วิธีการทำงานที่ไม่ถูกต้อง การใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสมกับงานหรือการใช้เครื่องมือผิดประเภท ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับการอบรมวิธีการใช้งานเครื่องจักร, เครื่องมือที่ถูกต้อง 
  3. ผู้ปฏิบัติงาน อยู่ในสถานภาพที่ไม่พร้อมทำงาน เช่น ง่วงนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ เมา แฮ็งค์  กระทำการโดยประมาท ไม่ใส่ใจในความปลอดภัย ทำงานลัดขั้นตอน เป็นต้น
วิธีการแก้ไข
  1. ออกสำรวจและประเมินความเสี่ยงด้วยทีมงานความปลอดภัย ซึ่งประกอบไปด้วย จป. วิชาชีพ, จป.เทคนิค, จป.บริหารและเจ้าหน้าที่อาชีวอนามัย
  2. รวบรวมข้อมูลถึงสถานที่และความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
  3. จัดทำแผนและหาแนวทางในการแก้ไข 
  4. ประชุมให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม
  5. จัดหา จัดซื้ออุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ความปลอดภัยอื่น ๆ ตามความเหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนด
  6. จัดอบรมความปลอดภัยในการทำงานให้กับพนักงานในองค์กรทุกระดับ 
  7. ซ้อมและจำลองสถานการณ์
  8. สรุปและประเมินผลการทำงานตลอดทั้งปี

นำข้อมูล วิธีลดอุบัติเหตุ ที่ผิดพลาดหรือข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุมาประมวลผลและหาแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะทำให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ได้

Back to Basic 5 ส กิจกรรมพื้นฐานของความปลอดภัย

            เชื่อหรือไม่ว่าแค่การทำกิจกรรม 5 ส ภายในองค์กรก็สามารถที่จะช่วยลดการเกิดอุบิตเหตุให้เป็นศูนย์ได้ โดยเฉพาะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่นำมาประยุกต์ใช้ ปรับปรุง แก้ไขเพียงเท่านี้ก็ทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงานก็ดีขึ้นด้วย โดยหลักการทำ 5 ส จะประกอบไปด้วย

  • สะสาง การแยกของระว่างของจำเป็นกับไม่จำเป็นออกจากกันหรือทิ้งไป 
  • สะดวก การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้เป็นระเบียบ หยิบจับง่าย ใช้งานได้ทันที
  • สะอาด หมั่นทำความสะอาดสถานที่ทำงาน เครื่องมือ เครื่องจักร ให้สะอาดน่าใช้งานอยู่เสมอ ๆ 
  • สุขลักษณะ การปฏิบัติ 3 ส แรกให้ดีตลอดไป
  • สร้างนิสัย รักษาและปฏิบัติ 4 ส ข้างต้นให้ติดจนเป็นนิสัย

เมื่อสามารถทำ 5 ส จนติดเป็นนิสัยก็จะทำให้ลดอันตรายจากพื้นที่ในการทำงาน ลดอันตรายจากเครื่องจักรลงได้ ผลที่ตามมาคือสินค้าที่ผลิตได้ไม่มีของเสียหรือปัญหาการ Break down ของเครื่องจักรลง ทำให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]

ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับในการทำงาน

เมื่อทำการกำหนดเป้าหมายและนำไปใช้จริง จะต้องออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการทำงาน เพื่อให้พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากทรัพยากรใดที่ไม่เพียงพอสามารถที่จะจัดซื้อ จัดหาสิ่งของเหล่านั้นตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับการทำงานขององค์กร เช่น การติด เครื่องหมายจราจร การติดตั้งเนินชะลอความเร็ว การกำหนด สัญลักษณ์จราจร ตามพื้นถนนหรือพื้นที่ในการใช้งาน การติดตั้ง สัญญาณไฟจราจ ไฟฉุกเฉิน บริเวณทางเดินและห้องทำงาน เป็นต้น 

แนะนำ ป้ายเตือน เครื่องหมายจราจร และความปลอดภัย เบื้องต้น

  • เทปกั้นเขต ใช้สำหรับกั้นพื้นที่ในการทำงานหรือป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปใกล้บริเวณเครื่องจักร ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายได้ 
  • เสียงเตือน เสียงไซเรน พร้อมสวิทช์หรือปุ่มกดแจ้งเหตุฉุกเฉิน สำหรับพนักงานหรือผู้ประสบเหตุใช้แจ้งเตือนหรือแจ้งให้ผู้อื่นทราบ เพื่อที่จะได้เข้าช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
  • ไฟฉุกเฉิน ใช้สำหรับติดตั้งบริเวณทางเดิน ห้องทำงาน ห้องประชุมและพื้นที่อื่น ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อส่องสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าปกติดับหรือมีเหตุขัดข้องให้ไฟดับ เพื่อผู้อยู่ในเหตุการณ์จะได้มองเห็นทางเดินและอพยพออกนอกพื้นที่ได้
  • ป้ายทางออก ควรเป็นป้ายที่สามารถมองเห็นในที่มืด อาจใช้เป็นสีสะท้อนแสงหรือไฟฉุกเฉิน
  • ป้ายอัคคีภัย เป็นป้ายที่ใช้แสดงเกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น ป้ายถังดับเพลิง, ป้ายตู้ดับเพลิง, ป้ายหัวจ่ายน้ำดับเพลิง, ป้ายบันไดหนีไฟ, ป้ายปุ่มกดฉุกเฉิน, ป้ายสัญญาณแจ้งเหตุ เป็นต้น
  • ป้ายปลอดภัยไว้ก่อน แสดงถึงสัญลักษณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ โดยจะเป็นการทวนสอบและตรวจเช็กของบุคคลที่จะเข้าไปในพื้นที่ทำงาน เช่น ป้ายสวมหมวกนิรภัย, ป้ายสวมรองเท้านิรภัย, ป้ายสวมถุงมือนิรภัย, ป้ายห้ามสูบบุหรี่, ป้ายห้ามทำประกายไฟ, ป้ายห้ามถ่ายรูป ป้ายระวังวัตถุมีพิษ, ป้ายระวังเครื่องจักรหนีบมือ เป็นต้น
  • ป้ายจราจร ต่าง ๆ เช่น ป้ายห้ามจอด, ป้ายหยุด, ป้ายห้ามผ่าน, ป้ายให้เลี้ยวซ้าย-เลี้ยวขวา, ป้ายเตือนให้ระวังทางแยก, ป้ายเตือนให้ระวังทางโค้ง, ป้ายเตือนจำกัดความสูง, ป้ายบอกข้อมูลประชาสัมพันธ์, ป้ายจำกัดความเร็ว

อุปกรณ์จราจร กรวยจราจร, แบริเออร์, สัญญาณไฟจราจร, ไฟกระพริบ, คานจำกัดความสูง, เนินชะลอความเร็ว, ที่กั้นล้อรถ, แผงกั้นจราจร เป็นต้น

[row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]

สำหรับใครที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ และคำปรึกษาเกี่ยวกับระบบความปลอดภัย trafficthai.com หนึ่งในผู้ให้บริการสินค้าอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ยินดีให้บริการเพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับพนักงานทุกระดับชั้นในองค์กร เพื่อขวัญกำลังใจและยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความปลอดภัยในการทำงานมากยิ่งขึ้น

[row_inner_5] [col_inner_5 span__sm=”12″]

ที่มาของข้อมูล

[/col_inner_5] [/row_inner_5] [/col_inner_4] [/row_inner_4] [/col_inner_3] [/row_inner_3]