5 มาตรฐานวัสดุทำป้ายเซฟตี้ มาตรฐาน มอก. ที่โรงงานอุตสาหกรรมเลือกใช้

ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ความปลอดภัยในการทำงานถือว่าเป็นมาตรฐานงานที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะบริเวณดังกล่าวมักเต็มไปด้วยสิ่งของต่าง ๆ มากมาย เครื่องมือเครื่องจักรที่ทำงานตลอดเวลา และมีส่วนประกอบมากมายจนง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างคาดไม่ถึง รวมถึงการทำงานของพนักงานที่จะต้องเคลื่อนไหว และอยู่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์อันตรายอย่างมีด ใบเลื่อย หรือแม้แต่สารเคมีอันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องมีมาตรการควบคุมความปลอดภัยอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกัน และระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนงาน อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากนั้นก็คือ ป้ายเซฟตี้ ใช้เพื่อเตือนให้พนักงานปฏิบัติตามกฎและระมัดระวังตัวเมื่อเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงแยกพื้นที่ส่วนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษออกจากพื้นที่ปฏิบัติงานปกติ แต่การใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้นั้นมีการควบคุมตามมาตรฐาน มอก. เอาไว้ ซึ่ง ร้านไทยจราจร ขอชี้แจงรายละเอียดมาตรฐานป้ายชนิดนี้ตามรายละเอียดต่อไปนี้

1.สีของป้าย สีของป้ายความปลอดภัยนั้น ถูกจำแนกตามรูปแบบหรือความหมายที่ต้องการสื่อสารออกมา อาทิเช่น สีน้ำเงิน สื่อถือข้อบังคับให้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ สีแดง สื่อถึงกฎข้อห้ามต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัย สีเหลือง ใช้เตือนให้ระมัดระวังอันตราย และสีเขียว แสดงถึงพื้นที่ปลอดภัย หรือจุดที่เหมาะสมกับการเคลื่อนย้ายอพยพออกจากอันตราย อย่าง ป้ายทางออกฉุกเฉิน หรือจุดรวมพล เป็นตัน

2.รูปทรงของป้ายความปลอดภัย รูปทรงของป้ายความปลอดภัยจะต้องเป็นรูปทรงเรขาคณิตเท่านั้น ทั้งรูปทรงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โดยรูปทรงข้อห้ามต่าง ๆ จะต้องเป็นทรงกลม เช่นเดียวกับเครื่องหมายบังคับ ส่วนเครื่องหมายสามเหลี่ยมจะใช้สำหรับป้ายสัญญาณเตือนให้ระมัดระวัง ป้ายแสดงสภาวะความปลอดภัยอย่างเช่น พื้นที่อพยพ หรือบริเวณทางออกที่ใช้ออกนอกอาคารเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น แต่ในกรณีอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย อย่างป้ายแจ้งที่ตั้งถังดับเพลิง หรืออุปกรณ์เพื่อการดับเพลิงต่าง ๆ

3.กรณีเครื่องหมายทรงเรขาคณิต การใช้เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยนั้นนอกจากรูปทรงเรขาคณิตอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ยังสามารถใช้ร่วมกันได้ อย่างป้ายเตือนทรงสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมเพื่อเตือนให้เพิ่มความชัดเจนในการระมัดระวัง หรืออย่างป้ายเตือนสัญญาณไฟแรงสูงที่นอกจากสัญลักษณ์รูปสายไฟสีเหลืองทรงสามเหลี่ยมแล้ว ยังใช้ควบคุมกับการแสดงข้อความระวังไฟฟ้าแรงสูงในกรอบสี่เหลี่ยมเพิ่มเติม การจัดวางร่วมกันอาจวางในลักษณะแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ตามความเหมาะสม เพื่อความชัดเจนในการใช้งานป้ายความปลอดภัยนั้น

4.การร่วมกันของเครื่องหมายเพื่อความชัดเจน ในบางกรณีในป้ายความปลอดภัยก็อาจประกอบด้วยรูปทรงสัญลักษณ์ 2 อย่างเพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนในการควบคุมจนเกิดความปลอดภัย อย่างในกรณี ป้ายทางออกฉุกเฉิน มักทำเป็นรูปคนกำลังวิ่งออกจากประตู เพื่อสื่อถึงทางออกจากอาคาร หรืออพยพเพื่อหนีออกนอกอาคาร แต่บางครั้งก็อาจไม่แสดงถึงทิศทางการเคลื่อนย้ายได้ชัดเจนมากขึ้น จึงมีการเพิ่มสัญลักษณ์ลูกศรชี้ทิศทางที่จะต้องออกจากอาคาร หรืออาจจะเพิ่มข้อความให้ผู้พบเห็นป้ายทราบว่าป้ายสื่อถึงทางออกอะไร โดยการใช้ป้ายความปลอดภัยเหล่านี้จะต้องพิจารณาว่าใครมีโอกาสอ่านป้ายบ้าง อย่างกรณีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีชาวต่างประเทศทำงานอยู่มาก ๆ การใช้สัญลักษณ์ที่ชัดเจน อาจใช้สัญลักษณ์เป็นหลัก เพราะมีความชัดเจนกว่าข้อความที่อาจต้องพิจารณาว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

5.การเว้นระยะของกับสัญลักษณ์กับขนาดของป้ายเพื่อความชัดเจน ขนาดของป้ายและรูปทรงสัญลักษณ์ หรือข้อความภายในป้ายนั้นต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม โดยอัตราส่วนของขนาดป้าย : รายละเอียดของป้ายคือ 100 : 80 และหากเป็นป้ายร่วมทั้งสัญลักษณ์ร่วมกับข้อความ อัตราส่วนของขนาดป้าย : สัญลักษณ์ : ข้อความ คือ 100 : 80 : 6.6 ยกตัวอย่างเช่นกรณีที่ป้ายมีขนาดทั้งหมด 75 มิลลิเมตร สัญลักษณ์ต้องมีขนาด 60 มิลลิเมตร หากเพิ่มเติมข้อความ ความสูงของข้อความคือ 5.0 มิลลิเมตร หรือหากขนาดของป้ายเป็น 1200 มิลลิเมตร ขนาดของสัญลักษณ์ต้องเป็น 960 มิลลิเมตร ส่วนข้อความมีความสูง 80 มิลลิเมตร เป็นต้น

 

นอกจากนี้ ลักษณะสีบนป้ายความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นสีพื้นหรือสีของสัญลักษณ์หรือข้อความ สีดังกล่าวจะต้องสามารถสะท้อนแสง และความเข้มของสีตรงตามกับที่มาตรฐานของมอก.กำหนด ซึ่งรายละเอียดของสีแต่ละประเภทนั้นก็จะมีมุมสะท้อนกลับหรือความเข้มแสงแตกต่างกัน อย่างกรณีสีฟ้ามีระดับความเข้มสี RAL 5005 และต้องมีจุดตัดกับพื้นหรือเส้นสัญลักษณ์สีขาว ค่าความเปรียบเทียบแสง<15 เป็นต้น ซึ่งจะต้องระมัดระวังเลือกใช้ให้เหมาะสม เพราะหากมีการสะท้อนแสงมากเกินไป ก็จะส่งผลต่อความเข้มสีและการมองเห็นในระยะไกล ๆ ได้

ส่วนการกำหนดระยะการมองเห็น ขนาดของป้ายและข้อความสัญลักษณ์ต่าง ๆ จะต้องสัมพันธ์กับระยะในการมองเห็น อันเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากขนาดโครงสร้างของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งสามารถคำนวณตามความสัมพันธ์ได้ดังนี้ ความสูงของเครื่องหมาย = ระยะการมองเห็น / ตัวประกอบของระยะทาง เมื่อคำนวณได้ดังนี้แล้วก็จะสามารถกำหนดขนาดของตัวป้ายและเครื่องหมายได้อย่างเหมาะสม

การตรวจสอบมาตรฐาน ป้ายเซฟตี้ ตามมาตรฐาน มอก. อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับผู้ซื้ออยู่บ้าง ดังนั้นเพื่อลดความยุ่งยากดังกล่าว ร้านไทยจราจร ขอแนะนำผู้ซื้อหรือผู้ที่สนใจสามารถพิจารณาเลือกซื้อป้ายที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมมาแล้ว ซึ่งจะมีการออกใบรับรองหรือป้ายสัญลักษณ์ที่ผลิตภัณฑ์เอาไว้แทนได้ ซึ่งทางร้านเองยังมีข้อแนะนำให้ผู้ที่สนใจ สามารถเลือกซื้อป้ายเตือนความปลอดภัยที่เหมาะสมกับรูปแบบของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งได้มาตรฐาน มอก.ที่ออกโดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ลูกค้าจึงสามารถเชื่อมั่นได้ในคุณภาพป้ายของเรา

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน