7 เทคนิค ซ้อมการหนีไฟ ให้มีประสิทธิภาพ

อัคคีภัย คือภัยอันตรายอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดได้กับทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นตามบ้าน อาคารสูง หรือแม้แต่ในป่าหญ้ารกร้างที่ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ก็สามารถเกิดได้ ซึ่งเมื่อเกิดอัคคีภัยแล้ว ย่อมสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าโชคดีหน่อย ก็มีแค่ทรัพย์สินที่เสียหายเท่านั้น แต่ถ้าโชคร้าย ก็อาจทำให้คุณต้องได้รับอันตราย บาดเจ็บ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ด้วยเหตุนี้ การเตรียมการเพื่อรับมือกับเหตุเพิ่งไหม้จึงเป็นสิ่งสำคัญ กิจกรรมที่เจ้าของอาคารอย่างคุณต้องเตรียมการไว้ให้ทุกคนมีความรู้ ก็คือ การหนีไฟและการดับไฟ แต่สำหรับการดับไฟ ถ้าคุณไม่มีความรู้มากพอ ก็อาจส่งผลให้การดับไฟไม่สามารถทำได้ หรือแย่กว่านั้น อาจจะทำให้ไฟยิ่งลุกลามไปมากกว่าเดิม เราจึงต้องเรียนรู้การดับไฟและรู้จักเรียนรู้ถึงการประเมินความรุนแรงของไฟไว้ด้วย หากเป็นกองเพลิงขนาดเล็กและมีอุปกรณ์อย่างถังดับเพลิงพร้อม ก็ให้รีบจัดการดับกองเพลิงด้วยตัวเองได้ทันที แต่หากเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่ ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยบรรเทาสาธารณภัย ผู้มีความรู้เฉพาะด้านมาดำเนินการให้ดีกว่า นอกจากนี้ควรฝึกหัดทำกิจกรรมหนีไฟให้เกิดความเคยชิน ให้เตรียมพร้อม รู้ทันทีว่าหากเกิดไฟไหม้จะต้องทำตนอย่างไร คุณควรซักซ้อมให้ผู้ที่อยู่ในอาคารมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อที่เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา จะได้ไม่เกิดความสูญเสียในชีวิต

การซ้อมหนีไฟ เมื่อพูดถึงกิจกรรมนี้ คุณอาจจะคิดว่าคือการให้คนในอาคารมารวมกัน แล้วซ้อมเดินแถวให้เป็นระเบียบไปยังทางหนีไฟเท่านั้น …หากว่าอาคารของคุณมีการซักซ้อมเพียงเท่านั้น ถึงแม้จะได้ผลดี แต่ก็ได้แค่ตอนซ้อมเท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่เกิดเพลิงไหม้ขึ้นมาจริงๆ คนในอาคารย่อมต้องมีอาการตื่นตกใจ แล้วสิ่งที่คุณซ้อมไว้ก็จะถูกลืมไปโดยพลัน ดังนั้นในวันนี้ ร้านไทยจราจรจะขอมาแนะนำวิธีการซักซ้อมหนีไฟให้มีประสิทธิภาพกัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ข้อ ดังนี้

1.ควรสร้างสถานการณ์จำลองไฟไหม้ขึ้นมาในอาคาร โดยเริ่มจากให้ใครสักคนทำเหมือนกับว่าพบเห็นไฟไหม้ขึ้นในอาคารที่ไหนสักจุด แล้วรีบวิ่งมาบอกผู้ที่อยู่ในอาคาร ส่วนคนอื่นๆ ให้ทำเหมือนกับกำลังใช้ชีวิตปกติอยู่ในอาคาร ไม่รู้มาก่อนว่ากำลังจะมีเพลิงไหม้เกิดขึ้น แล้วค่อยเข้าสู่กระบวนการซ้อมหนีไฟต่อไป อย่าใช้วิธีเรียกระดมพลมาอยู่จุดเดียวก่อนเริ่มซ้อม เหมือนอย่างเวลาเข้าแถวเคารพธงชาติ เพราะเมื่อสถานการณ์จริงมาถึง จะทำให้เกิดความสับสน ยิ่งถ้าจุดระดมพลถูกเพลิงไหม้ไปแล้ว เท่ากับว่าทำให้คนที่ติดอยู่ในอาคารทำอะไรไม่ถูก

2.กำหนดจุดรวมตัวของคนในอาคารไว้อย่างน้อยชั้นละ 2 จุด เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นจริงๆ คนที่ติดอยู่ในอาคารแต่ละชั้นจะสามารถไปหากันได้หรือไม่ ดังนั้นควรให้คนที่อยู่เฉพาะชั้นนั้นๆ รวมตัวกันเท่าที่ทำได้ก่อน

3.ให้ทุกคนที่รวมตัวกันแล้วค่อยๆ เดินลงบันไดหนีไฟอย่างระมัดระวัง แต่ต้องใช้เวลาน้อยที่สุด และต้องควบคุมให้แถวอยู่ในสภาพที่เป็นระเบียบในระดับหนึ่ง เพื่อที่เวลาเกิดเพลิงไหม้ขึ้นมาจริงๆ จะได้นำวิธีการนี้ไปใช้ได้ ป้องกันไม่ให้เกิดการเหยียบกันเนื่องจากทุกคนต่างแย่งกันออก

4.ระหว่างการซ้อม ควรมีการบิ้วท์อารมณ์ว่าตอนนี้ไฟกำลังไหม้มาจากทางไหน สภาพภายในอาคารตอนนี้เป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ซ้อมแต่ละคนรู้สึกว่าตนกำลังอยู่ในสถานการณ์ไฟไหม้จริงๆ มีความรู้สึกแตกตื่นจริงๆ ประโยชน์ของการบิ้วท์อารมณ์อย่างนี้คือ คุณจะสามารถวัดอารมณ์ของผู้ที่ติดอยู่ในอาคารได้ว่า แต่ละคนเป็นอย่างไร ใครบ้างที่แตกตื่น ใครบ้างที่ระงับอารมณ์ได้ ข้อมูลส่วนนี้คุณสามารถนำไปใช้ประเมินเพื่อปรับปรุงการซ้อมในครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้

5.ควรให้มีการจำลองสถานการณ์เหนือความคาดหมาย เช่น ให้ผู้ที่อยู่ในอาคารบางคนติดอยู่ในห้อง ไม่สามารถหนีออกมาได้เนื่องจากไฟกำลังไหม้อยู่หน้าห้อง จัดให้มีสิ่งกีดขวางที่เกิดจากไฟไหม้ขวางทางออกอยู่ รวมทั้งจัดให้มีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนี้ด้วย เพื่อให้สมาชิกในอาคารมีความรู้ในด้านการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่าซ้อมแบบให้หนีออกมาอย่างราบรื่นอยู่ตลอด เพราะเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นจริงๆ ผู้ที่ไม่สามารถหนีออกมาได้จะทำตัวไม่ถูก แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ รวมทั้งยังช่วยเหลือเพื่อนคนอื่นๆ ที่บาดเจ็บอยู่ไม่ได้ด้วย

6.เจ้าของอาคารควรประสานงานกับหน่วยบรรเทาสาธารณภัยที่รับผิดชอบพื้นที่ของตนเอง ในการให้เข้ามามีส่วนร่วมในการซ้อม การปฐมพยาบาลผู้ที่บาดเจ็บ   การสาธิตการใช้ ถังดับเพลิง , ไฟฉุกเฉิน และป้ายทางออกฉุกเฉินด้วย เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายอาคารและฝ่ายดับเพลิงประสานงานกันได้อย่างลงตัวยิ่งขึ้น

7.หมั่นให้มีการซ้อมหนีไฟบ่อยๆ อย่างน้อยที่สุดก็เดือนละครั้ง เพื่อให้สมาชิกที่อยู่ในอาคารเกิดความเคยชินและคลายความตื่นเต้นตกใจลงเวลาที่สถานการณ์จริงมาถึง จะได้ไม่เกิดการแตกตื่นจนยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น 

ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ ก็คือเทคนิคการซักซ้อมหนีไฟที่ร้านไทยจราจรได้รวบรวมมาให้คุณได้ดูกัน ใครที่กำลังคิดหาหนทางการซ้อมหนีไฟให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขอให้นำเทคนิคนี้ไปใช้งาน แต่ข้อสำคัญอย่างหนึ่งของการหนีไฟ คือ นอกจากตัวผู้ที่อยู่ในอาคารแล้ว อย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์สำคัญๆ อย่างถังดับเพลิง สัญญาณเตือนภัย ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วยและต้องไม่ลืมสาธิตวิธีใช้ให้ผู้ที่อยู่ในอาคารได้ดู 

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน