กฎหมายที่ต้องรู้ ก่อนที่คุณจะสร้าง “คลังสินค้า”

สำหรับการก่อร่างสร้างกิจการใด ๆ ก็ตามนั้น คลังสินค้า คือองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณจะขาดไปไม่ได้เลย เพราะเป็นที่ ๆ คุณสามารถใช้เก็บสินค้า สิ่งของสำคัญของบริษัทของคุณไว้ได้ หากบริษัทคุณมีสายการผลิตมาก แต่ไม่มีคลังสินค้าไว้เก็บของ ก็มีโอกาสที่สินค้าของคุณจะได้รับความเสียหาย กระทบกับการดำเนินงานของบริษัทได้

แต่การทำคลังสินค้า ไม่ใช่ว่าคุณนึกอยากจะสร้างขึ้นมาก็สร้างได้เลย เนื่องจากสิ่งของที่ต้องเก็บไว้ในคลังไม่ได้มีแค่ตัวสินค้าที่ผลิตออกมาเท่านั้น แต่ยังมีวัตถุอันตรายต่าง ๆ ที่ต้องใช้เป็นองค์ประกอบของการจัดทำสินค้าอีกมากมาย อย่างเช่นสารเคมี วัตถุไวไฟ ในคลังสินค้าบางแห่งยังถูกใช้เป็นที่เดินระบบไฟฟ้าแรงสูงหรือใช้เป็นที่ปฏิบัติงานอีกด้วย การทำกิจกรรมในคลังสินค้าจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตรายพอสมควร หากตัวคลังสินค้าไม่ได้มาตรฐานและไม่มีกฎหมายควบคุม ก็อาจสร้างอันตรายให้กับคนงานที่เข้าไปปฏิบัติงานภายในได้ เหมือนอย่างเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ในเหตุการณ์โรงงานตุ๊กตาแถวถนนพุทธมณฑลสาย 4 ที่เกิดเพลิงไหม้จนอาคารโรงงานและคลังสินค้าพังถล่มลงมา ฝังร่างคนงานนับร้อยชีวิตไว้ใต้อาคาร กลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ทุกวันนี้ใครหลายคนก็ยังไม่ลืม ดังนั้นในวันนี้ ร้านไทยจราจรจะขอพาคุณไปดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำคลังสินค้า โดยจะขอเลือกกฎหมายฉบับสำคัญมาพูดถึง นั่นก็คือ พระราชบัญญัติคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น พ.ศ.2558

พระราชบัญญัติคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น เป็นกฎหมายที่ถูกตราขึ้นอย่างใหม่เอี่ยมเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2558 เนื้อความในขั้นต้นได้ระบุว่าให้จัดตั้งคณะกรรมการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น เพื่อเป็นผู้พิจารณาจัดการจดทะเบียนคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง แต่สาระสำคัญของกฎหมายนี้ไม่ได้อยู่ที่คณะกรรมการชุดนี้เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดระเบียบคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นด้วย เมื่อร้านไทยจราจรได้อ่านพระราชบัญญัตินี้แล้ว สามารถสรุปได้ดังนี้

1.เมื่อผู้ใดต้องการจัดตั้งคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็นเป็นของตนเอง จะต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบการตามวิธีและแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด หลัก ๆ ก็เช่น ผู้ขอมีกิจการคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น จะต้องเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และสหกรณ์เท่านั้น พูดง่าย ๆ ก็คือก่อนจะมีห้องเย็น ผู้ยื่นขอจะต้องทำการจดทะเบียนกิจการของตนเองให้ถูกต้องก่อน ไม่ใช่ว่าใครจะขอก็ได้ เมื่อยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการคลังสินค้าแล้ว ใบอนุญาตดังกล่าวจะมีอายุอยู่ที่ 3 ปี พอครบอายุ เจ้าของกิจการจะต้องยื่นขอต่ออายุด้วยตนเอง หากปล่อยไว้ ไม่ยอมไปต่ออายุ จะถือว่าคลังสินค้า ไซโล หรือห้องเย็นนั้นกำลังดำเนินกิจการอย่างผิดกฎหมาย เจ้าของกิจการจะมีความผิด ต้องเสียค่าปรับ หรืออาจถูกสั่งปิดกิจการเลยก็ได้ นอกจากนี้ ใบอนุญาตประกอบกิจการคลังสินค้าจะต้องยังคงสภาพอยู่เสมอ ห้ามชำรุดเสียหาย หรือทำให้เกิดการสูญหายไปเด็ดขาด หากใบอนุญาตชำรุดสูญหาย จะเป็นหน้าที่ของผู้ดำเนินกิจการ ที่จะต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่ภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ใบสูญหายหรือชำรุดไป

2.การสร้างสาขาให้กับคลังสินค้า ไซโล หรือห้องเย็นนั้น อนุญาตให้สามารถกระทำได้ แต่เจ้าของกิจการจะต้องยื่นขอใบอนุญาตให้มีสาขาได้เสียก่อน ซึ่งอายุของใบอนุญาตให้มีเท่ากับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการคลังสินค้าตามข้อ 1 หากใบอนุญาตให้ประกอบคลังสินค้ามีอายุสิ้นสุดลง ให้ถือว่าใบอนุญาตให้มีสาขาสิ้นสุดไปด้วย ต้องไปทำเรื่องขอต่ออายุ

3.การรับสินค้าเข้าเก็บในคลัง ผู้ดำเนินการคลังสินค้าจะต้องมีใบรับของคลังสินค้ามอบให้แก่ผู้นำมาฝากด้วยทุกครั้ง ซึ่งใบรับของนี้จะมีรูปแบบเฉพาะตัว ส่วนที่สำคัญที่สุดของใบรับของก็คือ ต้องมีเลขทะเบียนประจำใบที่ตรงกับทะเบียนการรับของและเป็นไปตามลำดับ หากต้องการรับของในบัญชีใหม่ จะต้องจัดการกับบัญชีเดิมให้เสร็จสิ้นเสียก่อน ห้ามเปิดบัญชีใหม่ทั้งที่บัญชีเดิมยังค้างคา เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่ส่อทุจริต

4.คลังสินค้า ไซโล หรือห้องเย็นที่ได้เปิดกิจการและมีการรับเข้าสินค้าแล้ว จะต้องยินยอมให้ผู้นำจ่ายสินค้า หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบสินค้าได้ตลอดเวลา และต้องยินยอมแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้านั้นให้ผู้ตรวจสอบทราบได้ทุกรายละเอียด 

5.ในคลังสินค้า ไซโล หรือห้องเย็น ที่ต้องมีการเก็บสินค้าประเภทควบคุม เช่น วัตถุไวไฟ สารอันตรายที่มีฤทธิ์กัดกร่อน หรือมีไอระเหยที่สร้างอันตรายให้กับผู้สูดดม จะต้องมีการติดตั้งป้ายเซฟตี้ไว้ตามจุดต่าง ๆ เช่น ป้ายเตือนวัตถุไวไฟ ป้ายเตือนสารอันตราย ป้ายเตือนให้สวมหน้ากาก เป็นต้น ทั้งนี้ รวมถึงในคลังสินค้าที่ต้องมีการดำเนินงานอันอาจก่อให้เกิดเสียงดัง ฝุ่น ควัน ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ปฏิบัติงานด้วย การไม่ติดตั้งป้ายเตือนไว้ในจุดหรือในจำนวนที่สมควร ย่อมถือว่าเจ้าของกิจการจงใจปล่อยปละละเลยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทำงาน ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

นอกจากข้อปฏิบัติต่าง ๆ แล้ว ในพระราชบัญญัติคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น ยังได้มีการกำหนดโทษสำหรับเจ้าของกิจการที่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ หรือจงใจหลบเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษ โดยโทษมีได้ตั้งแต่การเสียค่าปรับ การเพิกถอนใบอนุญาตดำเนินการ ไปจนถึงโทษจำคุก หากการปล่อยปละละเลยนั้นเอื้อต่อการทุจริต หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของผู้ปฏิบัติงานด้วย 

พระราชบัญญัติคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น จึงเป็นกฎหมายสำคัญ ที่ร้านไทยจราจรขอนำมาให้ผู้ที่อยากจะประกอบกิจการคลังสินค้าได้อ่านกัน ขอให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ของกิจการ และทำให้คลังสินค้าของคุณสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหา

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน