10 อุปกรณ์ที่ต้องมีในสถานที่ทำงาน ถ้าคุณต้องการรับคนพิการเข้าทำงาน

          ในปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้ออกกฎหมายกำหนดให้สถานประกอบการทุกแห่งที่มีพนักงานมากกว่า 100 คน จะต้องรับผู้พิการเข้าทำงานไม่น้อยกว่า 1 คนต่อพนักงานทั่วไป 100 คน สถานประกอบการหลายแห่งก็ได้มีการปรับตัวและตำแหน่งงานให้เหมาะสมกับผู้พิการ เพราะความพิการของบุคคลนั้น ๆ ไม่ได้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานแต่อย่างใด แต่ทางผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับแรงงานเหล่านี้ไว้ด้วย ซึ่งร้านไทยจราจรขอแนะนำอุปกณ์ที่ควรเตรียมเอาไว้สำหรับผู้พิการเอาไว้ดังต่อไปนี้

1. ทางเดินที่ไม่สูงเกินไป กรณีแรงงานเป็นผู้ที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์ บางคนอาจต้องใช้ไม้เท้าเพื่อช่วยให้เดินได้สะดวกมากขึ้น บางคนอาจต้องนั่งรถเข็นจึงจะสามารถเคลื่อนย้ายร่างกายได้ การใช้ทางเดินเหมือนอย่างคนทั่วไปจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก อย่างทางเดินที่เป็นขั้นบันได หรือทางเดินที่มีระดับแตกต่างกันสูงมากเกินไป ย่อมส่งผลต่อการสัญจรของผู้พิการเหล่านี้ได้ ดังนั้นสถานที่ทำงานที่รับผู้พิการในลักษณะดังกล่าวจึงควรลดความลาดชันหรือลดความต่างระดับของพื้นให้ดีอย่างการนำยางปีนไต่ฟุตบาทมาติดในบริเวณพื้นต่างระดับได้

2. การเตรียมห้องน้ำสำหรับคนพิการ คนพิการย่อมมีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายร่างกายจำกัดกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะกรณีพื้นที่ภายในห้องน้ำที่มักลื่นได้ง่าย หรือหากนั่งลงไปแล้วก็อาจลุกขึ้นยืนได้ยาก ภายในห้องน้ำจึงควรมีอุปกรณ์ช่วยในการพยุงตัวของพนักงานที่มีความพิการเอาไว้ด้วย อย่างราวที่ช่วยพยุงตัว การปูพื้นกระเบื้องแบบกันลื่น หรือมีสัญลักษณ์สำหรับคนตาบอด เพื่อให้พนักงานที่มีความพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้แบบไม่ต้องพึ่งพาใคร

 3. พื้นที่จอดรถสำหรับคนพิการ เพราะคนพิการอาจต้องอาศัยรถเข็นเพื่อการเคลื่อนไหว หลายคนอาจไม่สามารถเดินได้สะดวกเหมือนอย่างคนทั่วไป ทางผู้ประกอบการที่มีอาคารจอดรถเป็นของตนเองจึงควรอำนวยความสะดวกในรายละเอียดส่วนนี้ให้กับพนักงานที่มีความพิการด้วย และที่จอดรถสำหรับผู้พิการควรเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับอาคารสำนักงานมากที่สุด การกั้นพื้นที่สามารถทำให้ชัดเจนมากขึ้นด้วยป้ายช่องจอดรถคนพิการเพื่อป้องกันคนอื่น ๆ เข้ามาใช้พื้นที่จอดรถบริเวณดังกล่าว

   4. อักษรเบรลล์ตามป้ายประกาศ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้พิการทางสายตาก็เป็นอีกหนึ่งความพิการที่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ได้ แต่เจ้าของกิจการก็ควรอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตาด้วย อย่างกรณีที่ทางบริษัทมีการประกาศชี้แจงรายละเอียดให้พนักงานก็ควรมีเอกสารที่พิมพ์ด้วยอักษรเบรลล์ให้กับผู้พิการทางสายตาด้วย หรืออาจใช้การสื่อสารวิธีอื่นที่มั่นใจได้ว่าผู้พิการทางสายตาจะเข้าใจได้ ตามลิฟต์ สวิทช์ไฟ โทรศัพท์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็อาจเพิ่มเติมอักษรเบรลล์ให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น

5. การเพิ่มลิฟต์หรือทางขึ้นลงสำหรับผู้พิการ กรณีที่อาคารสถานที่ทำงานมีเพียงบันไดในการขึ้นลงแต่ละชั้นของสถานที่ทำงาน ก็ยังไม่เพียงพอต่อผู้พิการได้ ยิ่งในกรณีสถานทำงานมีหลายชั้นก็จะยิ่งไม่สะดวกต่อการสัญจรของผู้พิการอย่างแน่นอน จึงควรมีการติดตั้งลิฟต์หรือทางลาดชันแบบที่รถเข็นคนพิการสามารถใช้สัญจรได้เอาไว้ด้วย

 6. การเพิ่มป้ายสัญลักษณ์แทนการใช้เสียง ผู้พิการทางการได้ยินมักมีปัญหาทางการได้ยินที่ด้อยกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการใช้สัญญาณเสียงเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในสถานประกอบการต่าง ๆ จึงควรเพิ่มเป็นป้ายสัญลักษณ์เตือนผู้พิการทางการได้ยิน หรือใช้สัญญาณแสงแทนการใช้เสียง เพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินทราบเหตุการณ์และดำเนินการตามขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม

  7. การเว้นระยะทางเดินให้เหมาะสมกับผู้พิการ กรณีที่ผู้พิการต้องใช้รถเข็น หรือไม้เท้าช่วยในการเคลื่อนไหวหรือเดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในสถานที่ทำงานก็ย่อมต้องใช้พื้นที่มากกว่าคนปกติ ดังนั้นระยะห่างของทางเดิน ช่องว่างระหว่างโต๊ะทำงาน หรือประตูทางเข้าออกก็ต้องเหมาะสมและเพียงพอกับการสัญจรของผู้พิการ

8. การทำทางเดินให้ผู้พิการทางสายตา คนตาบอดนั้นจะมีปุ่มทางเดินคนพิการเอาไว้ด้วย โดยทางเดินในลักษณะดังกล่าวจะคล้ายกับอักษรเบรลล์ที่บอกทิศทางที่คนพิการจะเดินไปได้ถูกต้อง หรือบริเวณใดควรหยุดเพื่อเพิ่มความระมัดระวังตัว ดังนั้นหากติดตั้งก็ควรติดตั้งให้ถูกต้อง

 9. การเว้นพื้นที่โต๊ะทำงานสำหรับคนพิการ หากผู้พิการจำเป็นต้องนั่งรถเข็นตลอดเวลา การใช้โต๊ะทำงานเหมือน ๆ กับคนทั่วไปก็อาจไม่เหมาะสม ควรเลือกโต๊ะที่มีความสูงเหมาะสมกับการนั่งรถเข็น หรือมีระยะห่างที่เพียงพอให้รถเข็นเข้าไปจอดได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

10. การติดเทปกันลื่นบริเวณที่อันตราย คนพิการหลายคนอาจมีปัญหาในการทรงตัวไม่ว่าจะเนื่องมาจากความพร้อมของร่างกาย การมองเห็นที่ยากกว่าคนทั่วไป หรือความพิการอื่น ๆ ที่ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกาย และการทรงตัวเป็นเรื่องยาก ผู้ประกอบการจึงควรเพิ่มเทปกันลื่นป้องกันโอกาสลื่นล้มตามพื้นที่เสี่ยงอย่างบันได หรือบริเวณขอบทางเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในขณะสัญจรผ่านให้ดียิ่งขึ้น

              การเตรียมความพร้อมให้กับผู้พิการคือการมอบสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงานของบริษัทด้วย ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ต่อพนักงานแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับแขกผู้มาเยี่ยมชมสถานที่ทำงานได้อีกด้วย ร้านไทยจราจรขอแนะนำว่าการอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการนั้นเป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการควรส่งเสริมและจัดเตรียมความพร้อมให้ดีที่สุด

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน