เทคนิคเปลี่ยน ที่จอดรถจักรยานยนต์ ให้กว้างขึ้นโดยใช้พื้นที่เท่าเดิม ทำอย่างไร

               สำหรับบ้านเราแล้ว รถจักรยานยนต์หรือรถจักรยานยนต์คือยานพาหนะประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้รถค่อนข้างมาก ด้วยความสะดวกสบายในการใช้งานและความคล่องตัวในการเดินทางที่มากกว่ารถยนต์ ส่งผลให้จำนวนรถจักรยานยนต์บนท้องถนนมีปริมาณที่มากรวมไปถึงทำให้ในแต่ละสถานที่จำเป็นที่จะต้องมีการเตรียม ที่จอดรถจักรยานยนต์ ให้เพียงพอต่อการเดินทางเข้ามาใช้บริการด้วย สำหรับบางสถานที่ที่อาจมีพื้นที่จำกัด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการใช้เทคนิคในการบริหารและจัดการที่จอดรถเพื่อให้สถานที่จำกัดสามารถรองรับจำนวนรถให้เพียงพอต่อความต้องการ

เทคนิคการจัดสรรพื้นที่ให้ลงตัว

เพื่อให้เทคนิคการบริหารจัดการที่จอดรถจักรยานยนต์สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดเริ่มต้นที่สำคัญก็คือการจัดสรรพื้นที่ที่จำเป็นจะต้องมีการวางแผนให้ลงตัวและเหมาะสม เพื่อสนับสนุนการแผนของจัดการที่จอดรถให้ทำได้ง่ายขึ้นและมีความชัดเจนในการจัดการที่มากกว่า

  • แยกประเภทของรถกับพื้นที่จอดให้ชัดเจน ประเด็นปัญหาหนึ่งที่จะทำให้ที่จอดรถสำหรับรถจักรยานยนต์ในสถานที่ไม่เพียงพอ ก็คือการขาดการจัดการเรื่องการกำหนดพื้นสำหรับใช้จอดรถแต่ละประเภทที่ให้ความชัดเจน จนในหลายครั้งก็จะทำให้เกิดการจอดรถปนกัน เช่น เกิดการแย่งพื้นที่จอดระหว่างรถยนต์กับรถจักรยานยนต์ อย่างนั้นแล้ว สิ่งที่เราต้องทำก็คือการวางผังสำหรับการจอดรถให้ชัดเจน มีการกั้นเขตพื้นที่ว่า ณ จุดนี้มีไว้สำหรับจอดรถประเภทไหน ซึ่งจะช่วยให้เราได้พื้นที่สำหรับจอดรถจักรยานยนต์มากขึ้นเพื่อนำไปใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ต่อไป
  • สำรวจปริมาณรถที่เดินทางเข้ามาใช้พื้นที่ หลังจากที่ได้ทำการจัดสรรพื้นที่สงวนไว้สำหรับใช้เป็น ที่จอดรถ ของรถจักรยานยนต์แล้ว เทคนิคต่อมาก็คือการสำรวจข้อมูลว่าปริมาณของรถที่เดินทางเข้ามาใช้พื้นที่นั้นมีจำนวนเท่าไร แบ่งตามช่วงเวลา ซึ่งตรงนี้จะทำให้รู้ว่าจำนวนรถที่มากที่สุดจะอยู่ที่กี่คัน แล้วจำนวนช่องจอดรถที่เราจัดสรรไว้นั้นมีเพียงพอหรือไม่ โดยวิธีการสำรวจนี้จะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการที่จอดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักการโดยยึดจากข้อมูลจริง รวมไปถึงจะช่วยให้รู้ด้วยว่าเวลาไหนที่รถเยอะ แล้วเราจะต้องแก้ไขปัญหาในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร
  • จำกัดการเข้าใช้งานพื้นที่ ในหลายครั้งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์มีไม่พอต่อจำนวนรถที่มาเข้าจอด ก็เพราะว่าเราไม่ได้มีการจำกัดการเข้าใช้งานพื้นที่ไว้โดยเฉพาะกลุ่ม เช่น การสงวนพื้นที่ไว้สำหรับลูกค้า ผู้เข้ามาใช้บริการ พนักงาน ผู้อยู่อาศัย หรือผู้มาติดต่อ จึงทำให้มีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้งานพื้นที่ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ของลานจอดรถจักรยานยนต์เพียงพอต่อความต้องการ เทคนิคนี้แนะนำให้เรากำหนดมาตรการว่าจะอนุญาตให้ใครเข้ามาใช้งานพื้นที่นี้ได้บ้างเอาไว้เลย รับรองว่าจะได้ที่จอดรถเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
การจัดการการจอดและสัญจรภายในที่จอด

         เพื่อให้การใช้งาน ที่จอดรถ สำหรับรถจักรยานยนต์เกิดความสะดวกและมีการใช้งานพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด เราจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการเรื่องของทั้งการสัญจรเข้า-ออก และการเข้าจอดรถจักรยานยนต์ให้เป็นไปอย่างคล่องตัว และมั่นใจได้ว่าพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดจะถูกใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

จัดการช่องจอดให้ได้มาตรฐาน

ถึงแม้ว่าเราจะต้องการให้พื้นที่สำหรับการจอดรถจักรยานยนต์สามารถรองรับการจอดรถในปริมาณที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เราก็ไม่อาจที่จะเลือกการบีบช่องจอดรถเพื่อเพิ่มปริมาณช่องจอดให้มากขึ้นได้ ด้วยเพราะว่าการบีบช่องจอดที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมาได้ เพื่อเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ และป้องกันปัญหา เราควรกำหนดขนาดของช่องจอดให้มีความเหมาะสม ตามมาตรฐานแล้วสำหรับรถจักรยานยนต์ขนาดธรรมดา ขนาดของช่องจอดรถควรอยู่ระหว่าง 1 x 2 ม. ที่จะช่วยให้สามารถเข้าจอดได้ง่าย การขึ้นและลงก็จะสะดวกไม่ไปเบียดกับรถจักรยานยนต์คันอื่น

เส้นทางสัญจรต้องเหมาะสมและปลอดภัย

หลังจากที่ได้มีการกำหนดขนาดของช่องจอดตามมาตรฐานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญก็คือเรื่องของเส้นทางเดินรถในลานจอด ที่ตามมาตรฐานแล้วสำหรับลานจอดรถขนาดใหญ่ เช่น ในห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ราชการที่มีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ และมีรถจักรยานยนต์เข้ามาใช้บริการเยอะ ช่องทางสัญจรควรจะมีความกว้างอยู่ที่ 2.5 ม. ซึ่งจะช่วยให้รถจักรยานยนต์สามารถวิ่งได้สะดวก ปลอดภัย รวมไปถึงยังช่วยให้การตีวงเลี้ยวทำได้ง่ายกว่าด้วย แต่สำหรับในลานจอดรถที่มีพื้นที่น้อย อาจเลือกใช้การปรับให้เส้นทางสัญจรเป็นเส้นทางรอบนอกแทนได้

ตัดเส้นทางให้เป็นการเดินรถทางเดียว

ในพื้นที่ที่มีพื้นที่จำกัด อาจไม่สะดวกในการจัดให้มีเส้นทางสัญจรรถที่กว้างพอได้ เช่น ที่จอดรถในหอพัก ร้านค้า ร้านอาหาร หรือตลาดขนาดเล็ก เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ที่จะถูกนำไปใช้ทำเป็นช่องจอดรถให้ลานจอดมีความสามารถในการรองรับจำนวนรถจักรยานยนต์ในจำนวนที่มากขึ้น เราสามารถเลือกจัดรูปแบบให้ในลานจอดใช้การเดินรถทางเดียว ตั้งแต่ทางเข้า จนถึงทางออก ด้วยการติดตั้ง สัญลักษณ์จราจร เพื่อบอกเส้นทางให้ผู้ใช้ลานจอดรถจักรยานยนต์ได้ทราบ ซึ่งจะช่วยให้เราได้พื้นที่คืนมาค่อนข้างมากที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีก

เทคโนโลยี ความคล่องตัว และความปลอดภัย

อีกหนึ่งประเด็นซึ่งเป็นเทคนิคช่วยเพิ่มให้ลานจอดรถจักรยานยนต์มีพื้นที่เพิ่มขึ้นได้ ก็คือการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน เพื่อทำให้การเข้าใช้งานพื้นที่มีความคล่องตัว และปลอดภัยได้มากกว่าเดิม ที่จะทำให้พื้นที่ที่มีอยู่เท่าเดิมสามารถรองรับรถได้มากขึ้นผ่านการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

  • ปรับทางเข้าออกให้คล่องตัว เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ลานจอดรถให้มากขึ้น โดยการใช้เทคนิคการเพิ่มความคล่องตัว เราสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนได้ เช่น ประตูเข้าออก ไม้กั้น ที่ทำงานอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการเข้าออกให้รถเข้าจอดได้ง่าย และออกได้ไว ผลก็คือจะทำให้ที่จอดรถว่างได้ไวขึ้น เสมือนกับการเป็นตัวช่วยเพิ่มพื้นที่จอดรถได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เพิ่มแต่อย่างใด ทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการใช้พนักงาน ใช้คนน้อยลง แต่ได้ความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการใช้ลานจอดรถที่มากกว่า
  • การกั้นที่จอด เพื่อระเบียบ และความปลอดภัย อีกหนึ่งตัวเลือกเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้ลานจอดรถสามารถรองรับจำนวนรถจักรยานยนต์ได้มากขึ้นโดยที่ใช้พื้นที่เท่าเดิมก็คือการนำที่กั้นที่จอดรถมาใช้งาน ซึ่งจะทำให้เจ้าของรถจอดรถจักรยานยนต์อย่างเป็นระเบียบมากขึ้น ช่วยลดปัญหาในการแย่งที่จอด ทำให้การใช้พื้นที่มีความเป็นระเบียบมากขึ้น ลดปัญหาการจอดซ้อนคัน รวมไปถึงว่าที่กั้นที่จอดรถยังช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยได้อีกด้วย กับการกำหนดกั้นพื้นที่เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ทรัพย์สินเกิดความเสียหาย
  • ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากการเพิ่มพื้นที่ลานจอดจะเป็นเรื่องที่ทุกคนอยากได้แล้ว ยังมีอีกเรื่องที่ไม่ควรจะมองข้ามเลย นั่นก็คือการดูแลเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งกล้องวงจรปิดตามจุดต่าง ๆ การติดตั้ง สัญลักษณ์จราจร เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานพื้นที่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดตามมาตรฐานความปลอดภัย เช่น การควบคุมความเร็ว เส้นทางเดินรถ และ วิธีลดอุบัติเหตุ ซึ่งเมื่อพื้นที่ลานจอดรถมีความปลอดภัยแล้ว ก็จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการสัญจรและใช้พื้นที่ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการรองรับจำนวนรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ด้วยการใช้เทคนิคเพื่อการบริหารจัดการ ที่จอดรถจักรยานยนต์ ให้มีความสามารถในการรองรับปริมาณของรถที่จะมาเข้าจอดได้มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการที่ใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่ามากที่สุด และเพื่อประสิทธิภาพที่ยิ่งกว่าในการจัดการที่จอดรถ ให้ไทยจราจรเป็นผู้ช่วยในการจัดหาอุปกรณ์จราจรคุณภาพ กับตัวเลือกที่หลากหลายที่คุณสามารถเข้าไปเลือกชมสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้เลยที่ trafficthai.com

ที่มาของข้อมูล

– https://trafficthai.com/content_blog-207.html