10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

                 ทางม้าลายที่เราคุ้นเคยกันดีคือสัญลักษณ์บนท้องถนนในลักษณะตัดขวางกับเส้นทางด้วยสีขาวสลับดำที่เรียงต่อเนื่องกัน แต่ในอดีตเส้นทางสำหรับคนข้ามชนิดนี้เคยมีสีสดใสมาก่อน โดยมีกำเนิดจากประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 หรือ พ.ศ. 2477 ลักษณะเริ่มแรกเป็นเส้นตรงสลับช่องตามแนวขวางของถนน เพื่อให้คนเดินเท้าได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการข้ามถนน ซึ่งทางอังกฤษได้ทดลองสีที่ใช้ทำสัญลักษณ์นี้หลายครั้ง 

               ทั้งสีเหลืองสลับน้ำเงิน, สีขาวสลับแดง และสีขาวสลับดำ ในที่สุดภายในระยะเวลาหลายปีต่อมา หรือในปี ค.ศ. 1951 หรือ พ.ศ. 2494 ก็ได้ข้อสรุปว่าสีมาตรฐานที่เหมาะสมคือสีขาวสลับดำเป็นสัญลักษณ์ และได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า Zebra Crossing ซึ่งยังคงใช้งานกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ได้มีการกำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการใช้งาน ซึ่งร้านไทยจราจรขอแนะนำขั้นตอนในการทำทางม้าลายให้ได้มาตรฐาน ตามรายละเอียดต่อไปนี้

1.การกำหนดตำแหน่งที่ต้องการติดตั้ง

               เนื่องจากสัญลักษณ์สำหรับคนข้ามถนนนั้นถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อความปลอดภัย ดังนั้นการเลือกตำแหน่งก่อนทำการติดตั้งจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงควรอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะจะมองเห็นได้ชัดเจน กรณีใช้สัญลักษณ์คนข้ามใกล้กับบริเวณทางแยกที่ยากต่อการมองเห็นนั้น จำเป็นต้องเว้นระยะให้ห่างออกมาจากบริเวณจุดอับสายตา หรือหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรมีการใช้ป้ายจราจรเตือน หรืออยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับป้ายสัญญาณไฟควบคุมการจราจรแทน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากยวดยานพาหนะที่ขับขี่มาด้วยความเร็วได้ดี

10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

2.การติดตั้งป้ายสัญลักษณ์

               หากเป็นบริเวณที่รถมีการขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วก็อาจส่งผลให้ผู้ขับขี่มองไม่เห็นคนที่กำลังข้ามถนน ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนได้ ดังนั้นควรพิจารณาติดตั้งป้ายสัญลักษณ์เพิ่มเติม เพื่อเป็นจุดสังเกตให้กับผู้ขับขี่รถยนต์ และยวดยานพาหนะอื่น ๆ ได้สังเกตเห็นและเพิ่มความระมัดระวังตัวก่อนจะถึงทางข้าม หรืออาจเพิ่มเติมไฟคนข้ามถนนคู่กับสัญญาณไฟจราจรเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ข้ามถนนได้เป็นอย่างดี

10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

3.ขนาดของทางม้าลาย

               ความกว้างของทางข้ามนี้ไม่ควรน้อยกว่า 2 เมตร แต่หากยวดยานพาหนะที่สัญจรบริเวณที่มีทางข้ามดังกล่าวมากกว่า 60 กม.ต่อชั่วโมง ให้เพิ่มความกว้างของทางม้าลายกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตรแทน อย่างไรก็ตามหากบริเวณที่ติดตั้งทางข้ามถนนมีปริมาณผู้ข้ามเป็นจำนวนมากก็สามารถขยายขนาดของทางม้าลายได้

10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

4.การเลือกใช้วัสดุในการทำทางข้าม

           ในการทำสัญลักษณ์สำหรับคนข้ามถนนนั้นสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษนั้นก็คือการสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน จึงควรเลือกใช้วัสดุที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนแม้ในที่มืด จึงควรเลือกใช้สีที่สามารถสะท้อนแสงและทนทาน หรือเลือกใช้ทางม้าลายสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน

10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

5.ลักษณะของแนวเส้น

 กรมทางหลวงได้กำหนดลักษณะรูปแบบของทางข้ามถนนไว้ 2 แบบตามรายละเอียดต่อไปนี้

  • แบบลายม้าลาย เป็นการใช้แถบสีขาว วางขนานกัน คล้ายลายของม้าลาย การวางเส้นจะวางในลักษณะขนานกับทางเดินรถ
  • แบบแนวคนข้าม เป็นลักษณะของเส้นทึบวางขนานกันในลักษณะขวางทางรถ โดยมีการเว้นช่องตรงกลางเพื่อให้คนเดินข้ามไปได้ โดยทางคนข้ามในลักษณะนี้จะใช้เมื่อถนนมีการติดตั้งไฟจราจร หรือสัญลักษณ์ควบคุมการจราจรอื่น ๆ รวมด้วย
10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

6.ขนาดของเส้นแนวขวาง

       เมื่อกำหนดขนาด และเลือกรูปแบบของแนวเส้นในการวางขวางถนนเพื่อเป็นสัญลักษณ์สำหรับผู้ข้ามถนนนั้นก็คือ ความกว้างของแถบสีขาว 0.6 เมตร โดยแนวตัดสีดำหรือสีพื้นถนนควรมีความกว้างที่ 0.8 เมตร

10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

7.การเพิ่มเส้นขวางเตือน

         ทางข้ามบางครั้งอาจจำเป็นต้องเพิ่มเส้นขวางสีขาวเพื่อเป็นสัญลักษณ์เตือนให้ผู้ขับขี่รถยนต์ทราบ โดยเส้นขวางเตือนควรมีความยาว 1 ช่องถนน ความกว้างของแถบสัญญาณประมาณ 0.3 – 0.6 เมตร และห่างจากทางข้ามประมาณ 1 – 2 เมตร

10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

8.ลักษณะพื้นผิวถนน

         พื้นผิวถนนที่ต้องการทำสัญลักษณ์คนข้ามก็มีความสำคัญต่อความทนทานของทางคนข้าม พื้นผิวที่ดีควรเรียบไม่มีหลุม หรือรอยชำรุด เพื่อให้การลงสีสามารถทำได้เรียบและไม่สึกร่อนได้ง่าย

10 ขั้นตอนการทำทางม้าลาย ให้ได้ตามมาตรฐาน

9.การเพิ่มแสงสว่าง

        หากการทำถนนคนข้ามอยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างน้อย หรือในบริเวณที่เป็นมุมอับที่ยากต่อการมองเห็น ควรพิจารณาเพิ่มเติมการให้แสงสว่างในพื้นที่บริเวณดังกล่าว หรืออาจเพิ่มเติมไฟกระพริบที่เป็นจุดสังเกตให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวัง

10.ระยะเวลาในการดำเนินการ

         การมาตีเส้นวัดขนาดเพื่อติดตั้งทางข้ามตามปกติอาจต้องใช้เวลานาน ซึ่งหากผู้ที่ต้องการนำไปใช้งานมีระยะเวลาในการดำเนินการไม่นาน ก็อาจเลือกใช้ทางม้าลายแบบสำเร็จรูปที่สามารถติดตั้งได้ทันที ใช้ทดแทนสัญลักษณ์คนข้ามแบบทั่วไปได้

         เมื่อทราบขั้นตอนต่าง ๆ ในการติดตั้งทางคนข้ามหรือทางม้าลายเป็นอย่างดีแล้ว ร้านไทยจราจรเชื่อว่าการติดตั้งจะทำได้อย่างรวดเร็ว เป็นไปตามมาตรฐานที่กรมทางหลวงกำหนดไว้ อย่างไรก็ดีควรมีการดูแลรักษาให้ทางข้ามอยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ สีสันของทางข้ามควรมีความชัดเจน สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแม้ในเวลากลางคืน เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้ทางข้ามถนนทุกคน

 

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน

ดาวน์โหลด แค็ตตาล็อก ร้านไทยจราจร แหล่งรวมอุปกรณ์จราจร กว่า 1,000 ชนิด!!

ร้านไทยจราจร
แค็ตตาล็อค ร้านไทยจราจร