10 จุดที่ควรติดตั้ง ที่ตรวจจับควัน (Smoke Detector)

       ที่ตรวจจับควันคืออุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่จำเป็นต่ออาคารสถานที่ต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เพราะช่วยส่งสัญญาณให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารสามารถทราบได้ถึงเหตุร้ายที่เกิดขึ้นภายในอาคารจนสามารถอพยพเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็ว ลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันจะทำงานแบบอัตโนมัติ โดยจะมี Sensor ที่สามารถตรวจจับปริมาณควันเมื่อมีความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปจะมีหลักการทำงานอยู่ 2 ลักษณะได้แก่อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด หลักการทำงานของเครื่องจะเกิดขึ้นเมื่อมีควันเข้ามากระทบกับ Sensor และเครื่องตรวจจับควันแบบลำแสงที่จะยิงออกมาจากเครื่องเพื่อตรวจสอบปริมาณควันที่มีมากผิดปกตินั่นเอง อย่างไรก็ตาม ร้านไทยจราจร เห็นว่าประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับควันนั้นจะขึ้นอยู่กับวิธีในการติดตั้งเป็นสำคัญ ซึ่งจุดที่ควรทำการติดตั้งเครื่องตรวจจับควันนั้นมีดังต่อไปนี้

1.บริเวณที่มีการใช้เชื้อเพลิงในอาคาร

      บริเวณที่มีการจัดเก็บเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถังแก๊ส เศษไม้ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการติดไฟชนิดต่าง ๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย ควรติดตั้งอุปกรณ์ดักจับควันในบริเวณดังกล่าว เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจริง ๆ จะได้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที และควรติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ช่วยระงับเหตุเพลิงไหม้อย่าง ป้ายตั้งถังดับเพลิง ด้วย เพื่อให้สามารถระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที ลดความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

2.บริเวณที่มีการจัดเก็บวัตถุไวไฟชนิดต่าง ๆ

      อาคารหลายแห่งโดยเฉพาะสถานที่ลักษณะพิเศษอย่างห้อง Lab โรงงาน หรือสถานที่จัดเก็บสินค้าต่าง ๆ มักมีการจัดเก็บวัตถุไวไฟอยู่ในปริมาณมาก ๆ ที่หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ก็จะเกิดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายจนไม่สามารถประเมินค่าได้ ดังนั้นจึงควรติดตั้งเครื่องตรวจจับควันเพื่อเพิ่มความสามารถในการระงับเหตุให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

3.บริเวณที่มีอุปกรณ์ความร้อนจัดเก็บอยู่

     อุปกรณ์ที่มีความร้อนอย่างกระติกน้ำร้อน เตาอบไฟฟ้า หรือตู้ควบคุมไฟฟ้า คือบริเวณที่มีความร้อนสะสมอยู่มาก ซึ่งง่ายต่อการเกิดเพลิงไหม้ จึงควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันเพื่อลดโอกาสการเกิดเหตุไม่คาดฝันที่ก่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.บริเวณที่เป็นจุดอับอากาศ

       พื้นที่ภายในอาคารบางแห่งจะไม่มีการไหลเวียนของอากาศ เกิดการสะสมแก๊สและความร้อนที่ทำให้ง่ายต่อการเกิดเพลิงไหม้ ยิ่งเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งก๊าซไวไฟก็ยิ่งทำให้ห้องที่อับอากาศเหล่านั้นเกิดการสะสมก๊าซและลุกไหม้เป็นเปลวเพลิงได้ง่าย จึงควรติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ร่วมกับอุปกรณ์ ไซเรนมือหมุน เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

5.บริเวณใกล้จุดร่วมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสายไฟ

      การทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกประเภทมักมีความร้อนเกิดขึ้น รวมถึงการรวมตัวของสายไฟต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ๆ ก็เสี่ยงที่จะเกิดการเสียดสีจนเกิดประกายไฟขึ้นมาได้ง่าย บริเวณดังกล่าวจึงควรมีการติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟ หรือตรวจจับความร้อนเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ก่อนลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของอาคารต่อไป

6.บริเวณทางเดิน

       บริเวณทางเดินตามอาคารต่าง ๆ โดยเฉพาะอาคารที่พักอาศัยที่มีลักษณะของผู้คนมาอาศัยอยู่รวมกับในปริมาณมาก ๆ อย่างคอนโดมิเนียม หอพัก หรืออาคารสำนักงานขนาดใหญ่ บริเวณทางเดินจึงมีโอกาสที่จะตรวจจับควันในส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้ดี จึงควรมีการติดตั้งเครื่องตรวจจับควันเอาไว้เพื่อความปลอดภัยของทุก ๆ คนที่อาศัยอยู่ภายในอาคารนั้น ๆ ด้วย

7.ห้องนอน หรือห้องรักษาพยาบาลผู้ป่วย

เนื่องจากในระหว่างที่นอนหลับ หรือกำลังเจ็บป่วยความสามารถในการช่วยเหลือตนเองจะลดลง หากเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างเพลิงไหม้ ก็อาจจะไม่สามารถหลบหนีหรือระงับเหตุได้ทัน บริเวณพื้นที่ดังกล่าวจึงควรมีการติดตั้งเครื่องตรวจจับควันเอาไว้เพื่อความปลอดภัย

8.ห้องพระ หรือบริเวณที่มีการวางเครื่องสักการะภายในอาคาร

     การไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ด้วยธูปหรือเทียนนั้นเป็นสิ่งที่ฝังแน่นอยู่ในความเชื่อของผู้คนมาช้านาน แต่การจุดธูปเทียนทิ้งเอาไว้ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ภายในอาคารที่มีการถวายเครื่องสักการะต่าง ๆ เหล่านั้นได้ง่าย หลายครั้งที่ผู้จุดธูปเทียนไปทำธุระอื่น ๆ จนหลงลืมไปว่ามีไฟจุดติดเอาไว้จนเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันอันตรายจากธูปเทียนที่จุดทิ้งเอาไว้ จึงควรนำเครื่องตรวจจับควันที่สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติมาใช้งาน

9.บริเวณพื้นที่อาคารสูง ๆ

    การอยู่บนพื้นที่สูง ๆ ย่อมทำให้ยากต่อการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องตรวจจับควันเพื่อเตือนภัยให้ผู้คนรู้และสามารถอพยพได้อย่างรวดเร็ว และควรติดตั้งควบคู่กับ ป้ายทางออกฉุกเฉิน ด้วย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้คนรู้ทางหนีไฟ หาทางออกได้ง่ายและรวดเร็ว

10.บริเวณที่จัดเก็บอุปกรณ์ดับเพลิง

บริเวณพื้นที่ดังกล่าวแม้ว่าจะไม่มีความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ แต่ก็จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องตรวจจับควันเอาไว้ด้วย เพื่อให้ทราบเหตุฉุกเฉินได้รวดเร็ว แล้วเข้าระงับเหตุได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง

     เพราะเหตุฉุกเฉินเพลิงไหม้นั่นไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ สาเหตุแห่งการเกิดเพลิงไหม้ก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความประมาทเลินเล่อ การทำงานหรือการใช้ชีวิตที่เสี่ยงอันตราย หรือการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ร้านไทยจราจร ขอเสริมว่าเราสามารถป้องกันและติดตั้งอุปกรณ์ระงับเหตุและเตือนภัยต่าง ๆ ทั้งเครื่องตรวจจับควัน ถังดับเพลิง ป้ายสแตนเลสถังดับเพลิง และ บันไดหนีไฟ ให้เพียงพอและเหมาะสม การติดตั้งเครื่องจับควันที่ดีควรมีความสูงที่เหมาะสม ในกรณีเครื่องตรวจวัดระดับควันความสูงของเครื่องไม่ควรเกิน 10.5 เมตร แต่หากเป็นเครื่องวัดแบบยิงลำแสงควรมีความสูงไม่เกิน 25 เมตร เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี

 

 

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน

ดาวน์โหลด แค็ตตาล็อก ร้านไทยจราจร แหล่งรวมอุปกรณ์จราจร กว่า 1,000 ชนิด!!

ร้านไทยจราจร
แค็ตตาล็อค ร้านไทยจราจร