8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

           การออกแบบงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยจัดเป็นงานออกแบบที่ยากมากทีเดียว หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นผู้ที่ออกแบบอาจต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบด้วย อย่างบันไดหนีไฟที่ถือเป็นอีกสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างอาคารทุกชนิดไม่ใช่ว่าคิดอยากออกแบบอย่างไรก็ได้ แม้แต่อาคารที่ว่ากันว่ามีระบบความปลอดภัยดีที่สุดก็อาจเกิดเรื่องไม่คาดฝันได้เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ออกแบบบันไดหนีไฟทุกคนจึงต้องรู้เทคนิคดี ๆ เพื่อช่วยให้งานออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุด 

          ร้านไทยจราจร จะมาแนะนำเทคนิคดังกล่าวเพื่อช่วยให้คนที่กำลังมองหาวิธีออกแบบบันไดหนีไฟให้ออกมามีคุณภาพ ไร้ข้อผิดพลาด และใช้งานได้ตามมาตรฐานที่วางเอาไว้

8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

1.เริ่มจากการดูจุดที่เหมาะสมสำหรับการสร้าง

        เรื่องแรกก่อนการสร้าง บันไดหนีไฟ เลยนั่นคือต้องมองหาจุดที่เหมาะสมก่อนค่อยตัดสินใจว่าควรสร้างตรงไหนดี คำว่าจุดที่เหมาะสมในการสร้างคือต้องเป็นจุดที่ปลอดภัยจากไฟมากที่สุด ยิ่งถ้าอยู่ใต้ลมได้ยิ่งดีเพราะเวลาไฟโหมมาจะไม่เจอกับบริเวณดังกล่าว อีกทั้งเมื่อเปิดประตูออกมาแล้วระหว่างกำลังวิ่งลงทางหนีไฟช่องทางชั้นล่างสุดที่จะออกจากตัวอาคารต้องเป็นจุดที่ออกจากตัวอาคารได้ทันที ไม่ใช่พอลงมาแล้วยังอยู่ภายในอาคารโอกาสที่จะโดนตึกถล่มใส่มีสูง

8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

2.ช่องทางระหว่างวิ่งมาทางหนีไฟต้องมีการออกแบบให้ดี

         อย่างที่รู้กันว่าการออกแบบทางหนีไฟไม่ใช่แค่การให้ความสนใจในตัวบันไดเพียงอย่างเดียว แต่ช่องทางระหว่างที่จะวิ่งมายังตัวบันไดเองต้องเหมาะสมด้วย หลัก ๆ คือ ต้องออกแบบโดยไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ เข้าไปขวางกั้นจนไม่สามารถเดินได้ตามปกติ ยิ่งถ้าออกแบบให้ช่องทางเดินนั้นไม่มีสิ่งของอะไรวางอยู่เลยจะยิ่งเป็นเรื่องดีมาก ๆ เพราะเวลารีบเร่งที่ต้องใช้เส้นทางสามารถมั่นไจได้ทันทีว่าไม่มีสิ่งใดขวางทางแน่ ๆ 

8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

3.ตลอดเส้นทางของบันไดหนีไฟควรเป็นผนังกั้นเท่านั้น

         การออกแบบเรื่องต่อมาที่นับเป็นเทคนิคดี ๆ สำหรับคนที่ต้องการความปลอดภัยในการออกแบบ บันไดหนีไฟ มากที่สุดนั่นคือผนังระหว่างทางเดินทั้งหมดควรเป็นผนังที่กันไฟ โดยอาจเป็นผนังทั้งสองด้านหรือด้านหนึ่งเป็นผนังอีกด้านเป็นทางเปิดโล่ง (กรณีสร้างบันไดหนีไฟนอกตัวอาคาร) เพราะการทำเป็นผนังกันไฟเอาไว้จะช่วยป้องกันให้คนที่กำลังวิ่งหนีลงมาไม่โดนตัวไฟหรือความร้อนจากไฟโดยตรง เป็นการสร้างความปลอดภัยอีกระดับหนึ่ง

8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

4.การออกแบบขนาดของตัวบันไดต้องเป็นไปตามมาตรฐานชัดเจน

         ข้อนี้จริง ๆ อาจไม่เชิงเป็นเทคนิค ทว่ามันคือเรื่องที่นักออกแบบบันไดหนีไฟทุกคนพึงปฏิบัติให้ตรงกัน เพราะการสร้างขนาดของตัวบันไดให้เป็นไปตามมาตรฐานจะช่วยให้เวลาใช้งานจริงไม่มีปัญหาต่าง ๆ ตามมาภายหลัง โดยขนาดทั่วไปของบันไดหนีไฟก็คือความกว้าง 90 ซม. อันถือเป็นความกว้างที่กำลังพอดีไม่ใหญ่และเล็กเกินไป สามารถใช้เป็นทางวิ่งเพื่อหนีจากเหตุการณ์ไฟไหม้ได้อย่างสบาย ๆ ไม่ต้องกังวลว่าคนตัวใหญ่จะใช้ทางนี้ไม่ได้

8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

5.ควรมีราวจับเพื่อช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น

          หลายคนเวลาออกแบบตัวบันไดหนีไฟอาจลืมคิดไปว่าเรื่องของราวจับบันไดก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะเวลาที่เราวิ่งมาด้วยความรวดเร็วหากไม่มีราวบันไดให้จับก็มีสิทธิ์ล้มหรือร่วงตกบันไดเอาได้ง่าย ๆ เหมือนกัน โดยเฉพาะคนที่ออกแบบบันไดหนีไฟอยู่นอกตัวอาคารราวบันไดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ห้ามขาดโดยเด็ดขาด อีกทั้งราวพวกนี้ยังช่วยให้คนที่เดินไม่สะดวกสามารถจับเพื่อค่อย ๆ ลงได้ด้วย

8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

6.มีป้ายบอกทางติดไว้ให้ทั่วบริเวณ

          การออกแบบเรื่องนี้อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัว บันไดหนีไฟ โดยตรง แต่คิดดูว่าหากไม่มีป้ายบอกเส้นทางอะไรไว้เลยคนที่อยู่ในอาคารจะรู้ได้อย่างไรว่าทางหนีไฟอยู่ตรงไหน เมื่อไม่รู้ก็หมายถึงบันไดที่อุตส่าห์สร้างขึ้นมาไม่ได้มีความหมาย ไม่ได้ช่วยให้คนภายในอาคารปลอดภัยได้เลย ดังนั้นการติดตั้งป้ายบอกทางเอาไว้ให้ทั่วบริเวณหรือติดขนาดใหญ่เพื่อให้คนมองเห็นชัด ๆ จึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องทำ

8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

7.ต้องทำช่องเปิดเอาไว้ทุกชั้น

          การทำช่องเปิดบริเวณบันไดหนีไฟจะเป็นการระบายอากาศเพื่อไม่ให้ฝุ่นควันของไฟที่กำลังลุกไหม้อบอวลอยู่แต่ภายในอาคาร เนื่องจากถ้าควันไฟเหล่านี้คละคลุ้งภายในอาคารผู้คนที่กำลังหนีเองก็อาจสำลักควันจนไม่สามารถหนีต่อได้ หากมีช่องเปิดระบายอากาศดังกล่าวในทุกชั้นก็จะช่วยให้การสำลักควันมีน้อยลง

8 เทคนิคการออกแบบบันไดหนีไฟไม่ให้ผิดพลาด

8.ประตูสำหรับการเปิดไปตรงบันไดต้องเป็นแบบผลักออก

          เทคนิคสุดท้ายสำหรับการออกแบบเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดก็คือประตูที่ใช้สำหรับเปิดจากภายในอาคารไปยังตัวบันไดหนีไฟควรเป็นประตูแบบผลักโดยที่ต้องไม่เป็นระบบล็อกใด ๆ ทั้งสิ้น การทำประตูแบบนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการหนีเอาตัวรอดได้เร็วมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการปลดล็อกประตู

เทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับการออกแบบ บันไดหนีไฟ ที่ทาง ร้านไทยจราจร ได้บอกไปนี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญทั้งสิ้น หากต้องการให้เกิดความปลอดภัยกับทุก ๆ คนที่ต้องใช้งาน อย่างไรก็ต้องใช้เทคนิคเหล่านี้

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน

ดาวน์โหลด แค็ตตาล็อก ร้านไทยจราจร แหล่งรวมอุปกรณ์จราจร กว่า 1,000 ชนิด!!

ร้านไทยจราจร
แค็ตตาล็อค ร้านไทยจราจร