แจกบทความฟรี
เผย 7 ขั้นตอน หลังจากคุณชนะการประกวดราคางานราชการ
เมื่อหน่วยงานราชการต้องการที่จะปลูกสร้างหรือซ่อมแซม ตึกอาคาร สะพาน ถนน ฯลฯ จะต้องมีการประมูลงาน หรือประกวดราคา เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างในค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมตามงบประมาณที่หน่วยงานราชการตั้งไว้ ซึ่งในบทความนี้ ร้านไทยจราจร จะกล่าวถึง 7 ขั้นตอนที่ผู้รับเหมาจะต้องทำ เมื่อชนะการประมูลเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนี้
1.การทำสัญญาจ้างงานกับหน่วยงานราชการ
เพื่อเป็นหลักฐานที่ยืนยันระหว่างว่าบริษัทจะทำงานตามลำดับขั้นตอน มีความคืบหน้าของงานตามระยะเวลาที่ระบุในโครงการ และมีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพตามที่ระบุในเอกสารเสนอราคา เช่น ในการซ่อมแซมผิวถนน จะมีการเลือก หมุดถนน ที่มีคุณภาพสูงสำหรับเสริมสร้างความปลอดภัย มีดีไซน์ที่ตรงกับเลือกไว้ เช่น แบบลูกแก้วสะท้อนแสงได้ 360 องศา แบบสะท้อนแสงสองด้าน แบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) เป็นต้น
2.การเตรียมสิ่งของและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ต้องใช้ในการทำงาน เช่น การก่อสร้างซ่อมแซมถนน จะต้องมีการใช้ ทราย ยาง เหล็กเส้น ฯลฯ ซึ่งอาจต้องมีการประสานงานกับผู้รับเหมา และร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างหลายราย เพื่อการเตรียมวัสดุให้เรียบร้อยเพียงพอสำหรับตลอดการใช้งานในโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้รับเหมาจะมีบริษัทอุปกรณ์ก่อสร้างที่เคยทำงานร่วมกันอยู่ก่อนแล้ว มักจะได้สินค้าในราคาต้นทุนหรือราคาพิเศษสำหรับการสั่งซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เป็นปริมาณมาก เช่น แผงกั้นจราจร เสาหลักอ่อนจราจร หมุดถนนสะท้อนแสง
3.ทำการประสานงานกับบริษัทในต่างประเทศ
กรณีเป็นสินค้าที่ต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เสาแบ่งเลนจักรยาน เสาแบ่งเลนคนเดินถนน และ เสาล้มลุกจราจร ผู้รับเหมาที่ประกวดราคางานราชการได้จะต้องทำการติดต่อกับบริษัทคู่ค้าที่อยู่ต่างประเทศให้เรียบร้อย โดยมีการระบุสเปคสินค้าที่ต้องใช้ให้ตรงต้องมีการเช็คสต๊อกอีกครั้งหนึ่งให้ตรงตามที่กำหนดในเอกสารที่ใช้ยื่นเสนอราคา
4.เนื่องจากช่วงเวลาในการประมูลกับช่วงเวลา
ในการทำงานก่อสร้างนั้นเป็นคนละช่วงเวลากัน ซึ่งภาวะเศรษฐกิจและสังคมเศรษฐกิจการเมืองสังคมย่อมส่งผลต่ออัตราการแลกเปลี่ยน ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์จึงต้องมีการเตรียมการไว้ให้พร้อมเพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายที่บานปลายจนทำให้ได้รับผลกำไรจากการรับเหมางานที่น้อยลง เช่น การตรวจสอบเรื่องของอัตราค่าแลกเปลี่ยนเงินที่ส่งผลกับต้นทุนทั้งด้านการผลิต ที่ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบ อุปกรณ์ หรือต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการยานพาหนะขนส่ง หากมีแนวโน้มค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่ม ก็ต้องมีการวางแผน เช่น กำหนดวันสั่งและจัดส่งสินค้าที่เหมาะสม เป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายตามสถานการณ์จริง
5.การเตรียมการด้านเงินกู้
เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างงานที่ประกวดราคามาได้ โดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทรับเหมาเป็นบริษัทที่ตั้งใหม่หรือว่ามีการประมูลได้งานที่มีค่าใช้จ่ายมากเกินกว่าปริมาณเงินหมุน (เงินสดที่มีอยู่) การเตรียมตัวปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเพื่อหาสถาบันเพื่อการกู้ทำกิจการธุรกิจแนว SME หรือธนาคารที่มีแผนกสินเชื่อที่มีการคิดค่าใช้จ่ายอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องใช้ระยะเวลากว่าจะผ่านการอนุมัติหลายขั้นตอน
6.สำหรับงานราชการจำพวกการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่
เส้นทางรถไฟฟ้า ฯลฯ จะต้องใช้คนงานจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ทั้งต้องมีการเร่งงานให้เสร็จสิ้นตามเวลาด้วย จึงต้องมีการวางแผนจัดสรรคนงาน ซึ่งอาจเป็นแผนกที่ดูแลเรื่องของคนงานก่อสร้างในบริษัทผู้รับเหมาเอง หรือเป็นการประสานกับบริษัทอื่นที่ดูแลเรื่องคนงานอย่างมืออาชีพอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่น การก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาทำงานตามสัญญา ซึ่งต้องมีการจัดเวรคนงานให้พร้อมทั้งกลางวันกลางคืน ไม่ให้ทำงานต่อเนื่องเกินที่กฎหมายแรงงานกำหนด เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ไม่ให้มีอาการอ่อนเพลียและขาดสมาธิในการทำงาน ซึ่งจะลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการทำงานได้ด้วย ซึ่งในส่วนนี้ก็จะต้องมีการควบคุมค่าใช้จ่ายในการจ้างคนงานที่เหมาะสม เพราะเป็นต้นทุนอีกอย่างหนึ่งของผู้รับเหมาที่ชนะการประกวดราคางานราชการด้วย
7.การเตรียมพื้นที่หน้างาน
การปรับสถานที่เพื่อเตรียมสำหรับการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นตึก ถนน สะพาน ฯลฯ ก็ต้องมีการทำป้ายประกาศ เพื่อให้ผู้คนที่เดินไปมาหรือขับรถสัญจรในบริเวณนั้นได้ทราบถึงสถานที่ก่อสร้าง ระยะเวลาก่อสร้าง เจ้าหน้าที่ผู้คุมงานและบริษัทผู้รับผิดชอบงานโครงการนั้น โดยต้องมีการใช้อุปกรณ์เพื่อการจราจรกั้นพื้นที่ เช่น กรวยจราจร แผงกั้นจราจร ไฟหมุน หรือ ไฟไซเรน ฯลฯ เพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ได้รับอุบัติเหตุในการก่อสร้างได้
การเตรียมพื้นที่ก่อนการก่อสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญ สามารถช่วยลดอุบัติเหตุจะได้มาก ทั้งยังสามารถสังเกตจุดเสี่ยงและวางแผนรับมือได้ล่วงหน้า เช่น บริเวณที่ดินอุ้มน้ำ ต้องถมที่เพิ่ม หรือ มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมขังในช่วงที่ฝนตก ฯลฯ จะทำให้การก่อสร้างดำเนินการได้ตามกำหนดอย่างปลอดภัย ทำให้ไม่เสียค่าปรับแก่หน่วยงานราชการในเรื่องงานเสร็จล่าช้า และไม่มีการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพิ่มกรณีมีอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่อาจจะเป็นคดีฟ้องร้องถึงขั้นศาลได้ด้วย (ถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จะไม่เป็นผลดีกับชื่อเสียงของบริษัทผู้รับเหมาและทำให้หน่วยงานราชการที่จ้างงานได้รับผลกระทบด้วย)
จะเห็นได้ว่าทั้ง 7 ขั้นตอน ที่ ร้านไทยจราจร ได้รวบรวมมา เป็นสิ่งที่ต้องทำหลังจากชนะการประมูลจัดซื้อจัดจ้างงานของหน่วยงานราชการ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักธุรกิจที่สนใจจะทำงานกับหน่วยงานราชการให้ปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006