กฎหมายลานจอดคนพิการในห้าง !! ควรมีลานจอดคนพิการกี่ช่อง?

ปัจจุบัน เวลาเราไปห้างสรรพสินค้า สถานที่ราชการหรือโรงพยาบาล มักสังเกตเห็นได้ว่าจะมีช่องจอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนทุพพลภาพหรือคนพิการอยู่อย่างน้อย 1 – 2 ช่อง ซึ่ง ร้านไทยจราจร ขอเป็นหนึ่งเสียงที่ร่วมสนับสนุนสิ่งดี ๆ เพื่อแสดงความเอื้อเฟื้อต่อผู้ที่เรียกได้ว่าด้อยโอกาสทางสังคม และนำมาสู่การไขข้อข้องใจของหลายคนที่ว่า “จริง ๆ แล้วกฎหมายได้ระบุเรื่องที่จอดรถสำหรับคนพิการไว้อย่างไรบ้าง?”

สำหรับประเทศไทย มีกฎกระทรวง ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร สำหรับผู้พิการและคนชรา ไว้ เมื่อ ปี พ.ศ.2548 โดยมีการระบุถึงจำนวนที่จอดรถสำหรับคนพิการไว้ ในหมวดที่ 4 โดยสรุป คือ

  1. ถ้าสถานที่นั้น มีพื้นที่ให้จอดรถได้ 10 – 50 คัน จะต้องมีที่จอดรถให้คนพิการอย่างน้อย 1 คัน
  2. ถ้าที่จอดรถมี 51 – 100 คัน ให้มีที่จอดรถสำหรับคนพิการ อย่างน้อย 2 คัน
  3. ถ้ามีที่จอดรถ 101 คันขึ้นไป ต้องมีที่จอดรถให้คนพิการอย่างน้อย 2 คัน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสัดส่วนรถ 100 คัน ต่อที่จอดรถคนพิการ 1 คัน แต่หากมีเศษ ที่มากกว่า 50 คัน ให้ “ปัดขึ้น” เพิ่มที่จอดให้คนพิการอีก 1 คัน ไปเรื่อย ๆ 

ดังนั้น ปริมาณที่จอดรถสำหรับคนพิการจึงไม่มีกฎตายตัว เพราะกฎหมายใช้คำว่า “อย่างน้อย” ดังนั้น หากสถานที่มีเพียงพอ หรือเป็นสถานที่ทางราชการ หรือหน่วยงานเอกชน ที่ต้องการส่งเสริม “ภาพลักษณ์องค์กร” และ “กระตุ้นจิตสำนึกด้านความมีน้ำใจในสังคม” ก็สามารถเพิ่มพื้นที่จอดรถคนพิการ อาจจะกระจายตามจุดต่าง ๆ บริเวณหน้าตึกหรืออาคารแต่ละตึก ก็จะเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียด เช่น สัญลักษณ์รูปคนพิการ ที่เป็นรูปคนนั่งเก้าอี้มีล้อ สำหรับพื้นที่จอดรถคนพิการ กฎหมายกำหนดให้มีขนาดสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ความกว้างยาวไม่น้อยกว่า 900×900 มม. รวมทั้งต้องมีป้ายขนาดกว้างยาวไม่น้อยกว่า 300 มม. โดยต้องอยู่สูงจากพื้น 2 เมตรขึ้นไป

ส่วนในตัวพื้นที่จอดนั้น ต้องเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม กว้างยาวไม่น้อยกว่า 2,400×6,000 มม. และต้องมีระยะห่างด้านข้างของที่จอดรถ 100 ซม. ขึ้นไปด้วย

นอกจากเรื่องจำนวนช่องที่จอดรถและอัตราส่วนกว้างยาวที่เหมาะสมแล้ว ยังควรมีการติดตั้งอุปกรณ์จราจรที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินหรือใช้รถเข็นของผู้พิการด้วย ซึ่งกฎหมายฉบับเดียวกันนี้ ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้คร่าว ๆ ซึ่ง ร้านไทยจราจร ขอนำเสนออุปกรณ์จราจรสำหรับอำนวยความสะดวกและลดอุบัติเหตุที่จะเกิดกับคนพิการในการใช้พื้นที่สาธารณะและการสัญจรไปมาในบริเวณลานจอดรถ ถนนภายในบริเวณรั้ว-อาคาร และขั้นบันได ได้แก่

1.แผ่นครอบบันไดกันลื่น

เป็นแผ่นไฟเบอร์กล๊าสสีเหลืองสะท้อนแสง ถูกออกแบบให้ผิวมีลักษณะเป็นเม็ดทรายสาก ๆ จึงป้องกันการไถลลื่นได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดมาตรฐานที่ 70×1,000×30 มม. สามารถติดที่ขอบบันไดได้ทุกขั้น โดยใช้กาวยาง หรือหากเป็นบันไดที่ทำจากโลหะ ก็สามารถยึดด้วยน็อตได้ 

2.เทปติดถนน

เป็นแผ่นเทปทำจากวัสดุพีวีซีเกรดที่มีความเหนียวทน เนื้อหยาบเป็นพิเศษ และยังสามารถสะท้อนแสงได้ เนื่องจากถูกออกแบบให้มีลูกแก้ว Glass bleed อยู่บนเทป ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับเป็นจุดสังเกตยามกลางคืนในผู้พิการที่สายตาพร่าเลือน (ไม่ถึงขั้นตาบอดสนิท) ทั้งยังไม่สึกหรอจากการถูกรถกดทับ จึงเป็นการลงทุนเพื่อเอื้อเฟื้อแก่ผู้พิการในสังคม อย่างได้ประโยชน์ยาวนาน 

โดยสามารถใช้กาว epoxy แปะเทปติดถนนกับพื้นถนนได้ง่าย และดีไซน์การติดได้หลากหลายแบบ เช่น แนวขวางแนวยาว กากบาท แนะนำให้ติดตามจุดที่กฎหมายแนะนำ คือ ใกล้จุดแยกจุดเลี้ยว (เป็นการทำพื้นผิวให้สัมผัสได้ถึงความแตกต่าง) และหากมีสิ่งกีดขวางการสัญจร ควรติดแถบนี้เป็นการเตือนให้ผู้พิการได้ทราบก่อนถึงจุดที่มีสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 1 ฟุต

  1. ป้ายที่จอดรถคนพิการ

ป้ายที่จอดรถคนพิการมาตรฐาน ทำจากอะลูมิเนียม มีสองขนาด คือ 30×45 ซม. และ 60×45 ซม. ติดสติ๊กเกอร์สะท้อนแสงเพื่อให้สะดุดตาชัดเจนขึ้น โดยตัวเสาทำจากเหล็กมี plate ยึดพื้นได้ โดยมีความสูงจากพื้น 2.5 – 3 เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับความสูงที่กฎหมายแนะนำไว้ที่ 2 เมตร จึงปลอดภัยต่อผู้พิการแน่นอน 

  1. ป้ายสำหรับตั้งพื้น

ป้ายตั้งพื้นสำหรับจองที่จอดรถให้คนพิการ ทำจากวัสดุสแตนเลส ขนาดมาตรฐานที่ 46x56x60 ซม. สำหรับแสดงข้อความสั้น ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น “ที่จอดรถคนพิการ” “Handicapped parking” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแย่งที่จอดรถคนพิการ ทั้งยังสามารถทนต่อการใช้งานกลางแจ้งได้อย่างยาวนานด้วย ทั้งนี้สำหรับหน่วยงานหรือห้างสรรพสินค้า สามารถสั่งทำข้อความพิเศษ เช่น ชื่อหน่วยงาน หรือใส่โลโก้บนป้ายได้ด้วยเช่นกัน

  1. สีทาพื้นสัญลักษณ์รูปคนพิการ

เป็นสีเอนกประสงค์ epoxy และ สี acrylic enamel สีฟ้า-ขาว ใช้งานได้กับพื้นผิวหลากหลายชนิด เช่น พื้นยางมะตอย คอนกรีต มีอายุการใช้งานทนทานประมาณ 5 ปี โดยสีไม่ลอกไม่ซีด เหมาะสำหรับการทาสัญลักษณ์ผู้พิการสากลตามพื้นที่จอดรถ เป็นสีสันที่ให้ความสวยงามและทำให้เห็นเด่นชัดสะดุดตามาก

นอกจากนี้ กฎหมายยังแนะนำให้ระวังพื้นที่ลาดชัน โดยกำหนดอัตราส่วนความลาดชันไม่เกินอัตราส่วน 1 ต่อ 10 จึงควรติด ยางกันลื่น” ไว้ตามจุดเสี่ยงเพื่อลดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะกรณีที่มีฝนตก จะช่วยลดอุบัติภัยจากถนนลื่นได้อย่างดี

ซึ่งหากท่านสนใจป้องกันอุบัติภัยสำหรับผู้พิการหรือผู้สูงอายุ ในการใช้กับพื้นที่ส่วนตัวหรือ หน่วยงานต่าง ๆ สามารถเข้าชมสินค้าหรือสอบถามได้ที่ https://trafficthai.com ร้านไทยจราจร ยินดีบริการท่านทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน