สร้างองค์กรยุคใหม่ ด้วยการแยกขยะกับ ถังขยะ หลากสี

waste separation

 

ปัจจุบันทุกองค์กรมีการแข่งขันที่สูงขึ้น อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ทุกองค์กรต้องการพัฒนาตนเองให้มีมาตรฐานสากล มีความทันสมัย โดยการเติบโตของทุกองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยในด้านต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก รายละเอียดดังนี้

internal factors
ปัจจัยภายใน

เป็นปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการพัฒนาและการดำเนินงานขององค์กร เช่น ทรัพยากรบุคคล การบริหารจัดการภายในองค์กร การจัดการด้านสถานที่ ฝ่ายวางแผนและบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์

Epidemic-doctor
ปัจจัยภายนอก 

เป็นปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมภายนอกที่ควบคุมไม่ได้และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น สภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม หรือโรคระบาด

 องค์กรในปัจจุบันได้หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยมีความตระหนักถึงการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาสิ่งแวดล้อมและการทำ CSR (Corporate Social Responsibility) ที่นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือสังคมแล้ว ยังถือเป็นกิจกรรมที่ดีที่ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้ไปในทิศทางที่ดีอีกด้วย ทำให้ลูกค้าเกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและเชื่อมโยงไปถึงการเปิดรับและยอมรับในสินค้าและบริการต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น

            สำหรับการบริหารจัดการขยะภายในองค์กรถือเป็นสิ่งที่สะท้อนแนวความคิดในการใช้และการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ขององค์กรอย่างรู้คุณค่า อีกทั้งยังทำให้สามารถจัดการกับของเสียแต่ละประเภทอย่างเหมาะสมและอาจมีของเสียหรือขยะบางประเภทที่สามารถหมุนเวียนนำกลับไปสร้างคุณค่า เกิดประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า

การมีการวางแผนในการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบจะช่วยลดผลกระทบทั้งต่อประชาชน และต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยแต่ละองค์กรควรมีการกำหนดมาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะหรือการแยกขยะอย่างชัดเจน เช่น

solid-waste-min
มาตรการลดการเกิดขยะมูลฝอยและของเสีย

เป็นการกำหนดมาตรการในการลดการเกิดขยะ แต่เน้นให้การสนับสนุนการผลิตและการใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

reducing-waste
มาตรการการเพิ่มศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยและของเสีย 

เป็นการดำเนินการให้มีระบบหรือรูปแบบที่เหมาะสมที่สามารถจัดการขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

management of solid waste
ส่งเสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสีย 

เป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการขยะมูลฝอย การใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อดีของการแยกขยะโดยใช้ ถังขยะ หลากสี

  1. เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติคงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
  2. ช่วยลดปริมาณขยะเนื่องจากเมื่อทำการแยกประเภทของขยะแล้วทำให้สามารถแยกได้ว่าส่วนใดคือขยะมูลฝอยที่ต้องถูกทำลายต่อไป และส่วนใดคือขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้
  3. สามารถนำขยะมาสร้างเป็นรายได้เสริมจากการจำหน่ายขยะรีไซเคิลต่าง ๆ เช่น ขวดพลาสติก เศษกระดาษหรือกล่องกระดาษ
  4. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำลายขยะจากการที่มีปริมาณของขยะลดน้อยลง
  5. ลดการสูญเสียพลังงานในการทำลายขยะพวกขวดแก้วหรือโลหะต่าง ๆ 
  6. ลดโอกาสในการเกิดมลพิษจากการที่ต้องเผาหรือทำลายขยะ

หลังจากรู้ข้อดีในการแยกขยะมาแล้ว เรามาทำความรู้จักถังขยะสีแต่ละประเภทและตัวอย่างขยะแต่ละประเภท เพื่อที่จะได้สามารถแยกและทิ้งขยะได้อย่างถูกต้องกันดีกว่า โดยถังขยะแบ่งตามประเภทและสีได้ดังนี้

ORANGE-BINS

ถังขยะสีแดง หรือถังขยะสีเทาฝาสีส้ม 

  • ประเภทของขยะที่ใส่ : สำหรับใส่ขยะมูลฝอยที่ติดเชื้อ ขยะที่เป็นสารเคมี ขยะที่เป็นวัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุกัมมันตรังสี หรือวัตถุที่สามารถระเบิดได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงขยะที่จะนำไปสู่การก่อโรคได้
  • ตัวอย่างของขยะที่ใส่ : หน้ากากอนามัย ชุดตรวจโควิด-19 หรือชุดตรวจ ATK ถ่ายไฟฉาย ขวดหรือกระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ 
compost-bins-on-collection

ถังขยะสีเขียว

  • ประเภทของขยะที่ใส่ : สำหรับใส่ขยะเปียก หรือขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้
  • ตัวอย่างของขยะที่ใส่ : เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้
ถังขยะสีน้ำเงิน หรือถังขยะสีฟ้า
  • ประเภทของขยะที่ใส่ : สำหรับใส่ขยะทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้
  • ตัวอย่างของขยะที่ใส่ : ถุงพลาสติก
yellow garbage
ถังขยะสีเหลือง
  • ประเภทของขยะที่ใส่ : สำหรับใส่ขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลต่อได้
  • ตัวอย่างของขยะที่ใส่ : กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ

                นอกจากนี้บางหน่วยงานหรือแม้กระทั่งการแยกขยะตามบ้านเรือนก็อาจมีการใช้ถุงขยะแยกเป็นสีเพื่อแยกประเภทของขยะแต่ละประเภทได้ด้วยเช่นกัน โดยการมีถังขยะแยกประเภทไว้ในองค์กรนอกจากจะทำให้สามารถบริหารจัดการกับขยะแต่ละประเภทได้ง่ายแล้ว ยังเป็นการฝึกวินัยที่ดีให้กับบุคลากรภายในองค์กรอีกด้วย

            เมื่อทำการแยกขยะแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรลืมนั่นก็คือการทำความสะอาด ถังขยะ เนื่องจากถังขยะอาจเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค หากไม่มีการทำความสะอาจอยู่เสมออาจเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อโรค เป็นที่มาของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ โดยการทำความสะอาดถังขยะมีดังนี้

  • หลังจากใช้งานควรล้างทำความสะอาดและตากแดดให้แห้งทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและกลิ่นไม่พึงประสงค์
black-garbage
  • สวมถุงดำหรือถุงขยะรองรับการใช้งานเสมอ เพื่อให้สามารถทำความสะอาดถังขยะได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทำให้สามารถนำถุงขยะไปกำจัดหรือนำไปรีไซเคิลต่อไปได้สะดวกและง่ายขึ้น

          สำหรับองค์กรยุคใหม่ที่ต้องมีสถานที่ภายในองค์กรให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่ ในปัจจุบันนอกจากการมีถังขยะแบบแยกประเภทแล้ว อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ ถังดับเพลิง ที่ต้องมีในปริมาณที่เหมาะสมและทั่วถึงตามบริเวณต่าง ๆ ของอาคาร ตามที่มีการกำหนดไว้ในกฎกระทรวงเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันอัคคีภัย โดยจะมีการกำหนดปริมาณและจำนวนขั้นต่ำของอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยตามประเภทของอาคารและที่อยู่อาศัย 

ในหลายองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชนมักจะมีการซ้อมการบริหารจัดการเมื่อเกิดอัคคีภัยอยู่เสมอ แต่ในสถานการณ์จริงหากองค์กรเกิดไฟไหม้หรือเกิดอัคคีภัยขึ้นมาก็สามารถให้อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หรือ อปพร. มาช่วยในการอพยพเจ้าหน้าที่ภายในองค์กร หรือปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บได้

ซึ่งเจ้าหน้าที่ อปพร. ก็มีการแบ่งหน้าที่กันตามบทบาทและหน้างานที่รับผิดชอบ ดังนี้

  1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันสาธารณภัย มีหน้าที่ป้องกันตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ
  2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐในการบรรเทาสาธารณภัย มีบทบาทในการร่วมซ้อมในแผนป้องกันอัคคีภัยในชุมชน และจัดการอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยให้มีความสมบูรณ์พร้อมใช้เสมอ 
  3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีหน้าที่ตรวจสอบและจัดการให้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฐมพยาบาลอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงและลดโอกาสในการสูญเสียจากการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
  4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลความสงบทั่วไป มีหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความเรียบร้อย รวมทั้งดำเนินการเป็นผู้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐในการดำเนินการตรวจตรา สอดส่องผู้ต้องสงสัยที่อาจเป็นภัยต่อสังคม 
  5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานสงเคราะห์ มีหน้าที่ในการช่วยฟื้นฟู โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
  • ฟื้นฟูในส่วนของบุคคลที่เป็นผู้ประสบภัย
  • ฟื้นฟูในส่วนของอาคารสถานที่ให้กลับสู่สภาพเดิมได้รวดเร็วที่สุด

           จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าฝ่ายอาคารและสถานที่ถือเป็นอีกส่วนสำคัญในการปกป้องคุ้มครององค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน องค์กรในระดับเล็กหรือระดับใหญ่ก็ตาม ดังนั้นการมีอุปกรณ์ทั่วไป และอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยของอาคารสถานที่ เช่น ถังดับเพลิง หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการดับเพลิง อุปกณ์ที่ช่วยสนับสนุนมาตรฐานด้านอาคารสถานที่อื่น ๆ อย่างเพียงพอ จะทำให้องค์กรเป็นองค์กรยุคใหม่ที่มีมาตรฐานและมีระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม

           สามารถเลือกชมอุปกรณ์การรักษาความปลอดภัยหรืออุปกรณ์สนับสนุนในด้านอาคารและสถานที่เพิ่มเติมได้ที่ร้านไทยจราจร ตามเว็บไซต์ของ ร้านไทยจราจร https://trafficthai.com/  ที่รวบรวมอุปกรณ์ที่จำเป็นในองค์กรไว้อย่างครบถ้วนในที่เดียว เหมาะกับบุคลากรฝ่ายอาคารสถานที่ เพราะติดต่อจัดซื้อกับร้านไทยจราจรเพียงที่เดียว ก็ได้อุปกรณ์ครบทุกความต้องการ

ที่มาข้อมูล

  • https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/sites/default/files/public/pdf/column/@Rama19_E08.pdf?fbclid=IwAR3ksLJhxDaYJ83s5Mr0n6G_l5dZ89rQoQsHcBf4-fv3rIX8GhUvTKzNCYg
  • https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/ถังขยะแยกประเภท-เริ่มต้นแยกขยะจากบ้านคุณ-27934
  • https://www.msu.ac.th/msumagaz/smain/readpost.php?mid=122
  • http://www.reo02.mnre.go.th/attachment/iu/download.php?WP=qUIcnKtjpQIgZKqCGWOghJstqTgcWat2pQAgAaplGQAgG2rDqYyc4Uux
  • https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MjUyMDA0&method=inline
  • https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/zero-waste-lifestyle
  • https://thematter.co/science-tech/csr-ptt/19636
  • https://trafficthai.com/content_blog-201.html