แจกบทความฟรี
หลักการขับขี่บนท้องถนนอย่างปลอดภัย หากปฏิบัติตาม สัญลักษณ์จราจร อย่างเคร่งครัด
หนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนก็คือการไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดของผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งกฎจราจรนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ใช้รถ การฝ่าฝืนกฎหมายจราจรถือเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งประเทศไทยเองนั้นมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ส่วนหนึ่งก็มาจากความไม่มีระเบียบวินัยของคนไทยเอง
ป้ายจราจร มีกี่แบบ
ก่อนที่จะทราบถึงหลักการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ป้ายจราจร นั้นมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะอย่างไร
ป้ายบังคับนี้มีลักษณะ เป็นคำสั่งบังคับให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น ป้ายห้ามเลี้ยว ป้ายห้ามจอด ป้ายจำกัดความเร็ว เป็นต้น การไม่ปฏิบัติตามป้ายประเภทบังคับมีความผิดทางกฎหมายทั้งโทษปรับและจำคุก
มีลักษณะเตือนผู้ขับขี่ ให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นจากสภาพถนนหรือสิ่งรอบข้างที่อยู่ในบริเวณการเดินรถนั้น เช่น ป้ายบอกทางแยก ป้ายบอกทางโค้ง ป้ายทางข้ามทางรถไฟ หรือ ป้ายเตือน สภาพถนนลื่น ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการจราจรได้ การปฏิบัติตามสัญลักษณ์หรือข้อความภายในป้าย จะช่วยให้ผู้ขับขี่มีความปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น
มีลักษณะเพื่อให้คำแนะนำผู้ใช้รถ เช่น ป้ายบอกระยะทาง ป้ายบอกเขตจังหวัด ป้ายชื่อถนน ป้ายบอกสถานที่สำคัญ ป้ายจุดพักรถ เป็นต้น
หลักการใช้รถเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีการจราจรคับคั่ง ทั้งในเขตเมืองและเขตทางหลวง ร้านไทยจราจร จะมาแนะนำหลักการขับขี่บนท้องถนนอย่างปลอดภัย ด้วยการสังเกตและปฏิบัติตามสัญลักษณ์จราจรในการเดินทาง
-
การขับขี่บนถนนหลวง
ถนนหลวงนั้นยังสามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้
- เขตเมืองหรือเขตชุมชน ความเร็วของการขับขี่ยานพาหนะกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และยังมีการควบคุมความเร็วให้ลดลงมากกว่านี้ในเขตที่มีผู้คนพลุกพล่าน ทั้งนี้เพื่อเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ จากการขับรถเร็ว การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎควบคุมความเร็ว ผู้กระทำผิดจะถูกจับและปรับ และหากขับรถโดยใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดในเขตชุมชนแล้วเกิดอุบัติเหตุอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ผู้กระทำผิดต้องรับโทษทางอาญาด้วย
- เขตทางหลวงชนบท หรือที่เราเรียกกันว่าทางหลวงระหว่างจังหวัด โดยความเร็วที่กฎหมายกำหนดให้ใช้คือไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่สำหรับทางหลวงชนบทที่มีช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป อนุโลมให้ขับขี่ความเร็วเกิน 90 กิโลเมตรได้ แต่ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล โดยการขับรถนั้นจะต้องขับอยู่ในช่องทางเดินรถด้านซ้ายเสมอ ยกเว้นในกรณีที่ต้องการแซงก็สามารถใช้ช่องทางขวาเพื่อเร่งความเร็วแล้วแซงรถข้างหน้าไป เมื่อถึงระยะที่ปลอดภัยต้องเปลี่ยนช่องทางกลับมาขับรถชิดช่องทางซ้ายเช่นเดิม
- เขตทางหลวงพิเศษหรือทางยกระดับ เป็นเส้นทางที่เราเรียกว่าทางด่วน เส้นทางลักษณะนี้ กำหนดให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ส่วนรถตู้ หรือรถขนาดใหญ่กำหนดไว้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย และต้องขับชิดขอบทางด้านซ้ายเป็นหลัก รวมถึงไม่เปลี่ยนช่องทางอย่างกะทันหัน เพราะรถที่ขับขี่บนทางด่วนนั้นค่อนข้างมีความเร็วสูง การเปลี่ยนช่องทางจราจรอย่างกะทันหันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
-
การขับขี่ในบริเวณทางแยก
ทางแยกนั้นเป็นจุดตัดของถนนที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ซึ่งโดยปกติทางแยกสำคัญจะมี สัญญาณไฟจราจร ติดตั้งเอาไว้เพื่อควบคุมการเดินรถในบริเวณทางแยกให้มีความเป็นระเบียบและปลอดภัย ดังนั้นผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม สัญญาณไฟจราจร ที่ปรากฏในระหว่างขับขี่มาถึงทางแยก การฝ่าฝืนอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงชีวิตได้ ในบางทางแยกที่ไม่มี ไฟจราจร ผู้ขับขี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษด้วยการหยุดรถเพื่อสังเกตรถที่แล่นมาจากทางแยก เพราะอาจจะมีมุมอับสายตา เมื่อมั่นใจว่ามีความปลอดภัยแล้วจึงค่อยขับรถต่อไป
-
การขับขี่ในบริเวณทางเดินรถทางเดียว
ถนนบางแห่งนั้นถูกกำหนดให้มีการเดินรถทางเดียวหรือทางวันเวย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจราจรมีความคล่องตัว เพราะการบังคับเดินรถทางเดียวนั้นมักจะเป็นบริเวณที่มีรถหนาแน่น โดยจะมี ป้ายห้ามเข้า ติดตั้งเอาไว้เพื่อให้ผู้ขับขี่เห็นได้ชัดเพื่อไม่ให้ขับรถเข้าไปผิดช่องทางได้ ซึ่งจะมี เครื่องหมายจราจร ประเภทลูกศรอยู่บนพื้นถนนเพื่อกำกับการเดินรถให้ถูกต้องตามช่องทาง จึงต้องสังเกตอยู่เสมอ
-
การขับขี่ในเส้นทางที่ชำรุด
ในบางครั้งเส้นทางที่เราต้องใช้เดินทางอาจเกิดความชำรุด เช่น ผิวทางหลุดร่อนเป็นหลุมเป็นบ่อ ไหล่ทางทรุดตัว ฝาท่อระบายน้ำชำรุดหรือหลุดหาย ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ในถนนที่มีความชำรุดที่กำลังมีการซ่อมแซมผิวจราจรอยู่นั้นจะมีสัญญาณ ไฟกระพริบ ติดตั้งเอาไว้ให้ผู้ขับขี่ได้มองเห็นในระยะไกล ในบางครั้งอาจมีทางเบี่ยงเพื่อให้รถใช้ช่องทางการเดินรถช่องทางเดียวกันเพื่อสวนกัน ก็จะมีการใช้ กรวยจราจร มาเป็นตัวช่วยในการแบ่งช่องจราจรให้มีความปลอดภัย ดังนั้นเมื่อผู้ขับขี่ขับรถไปพบถนนที่มีความชำรุดหรือกำลังซ่อมแซม ต้องใช้ความระมัดระวังในการขับขี่มากเป็นพิเศษ
-
การขับขี่ในเส้นทางลาดชัน
ถนนในประเทศไทย นั้นหลายแห่งอยู่ในเขตภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงชัน เต็มไปด้วยทางโค้งต่อเนื่อง เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ที่ไม่ชำนาญทางเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งผู้ที่ขับรถชำนาญก็ยังประสบปัญหาในการขับรถในเส้นทางดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งต้องมีเทคนิคในการขับขี่ขึ้นลงทางลาดชัน ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะเกิดปัญหากับระบบเบรกและคลัตช์ได้ หากขับขี่ไม่ถูกต้อง เทคนิคการขับขี่รถบนทางชันและโค้งที่ควรทราบ มีดังนี้
- ใช้เกียร์ให้เหมาะสม หลายคนคงจะเคยเห็น สัญลักษณ์จราจร ที่บอกว่าให้ใช้เกียร์ต่ำ สำหรับรถที่เป็นระบบเกียร์ธรรมดา เกียร์ที่เหมาะสมคือเกียร์ 1 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับความลาดชัน หากเป็นรถระบบเกียร์อัตโนมัติให้ใช้เกียร์ D2,D3,S,L ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถ ซึ่งการใช้เกียร์ต่ำนั้น หากเป็นทางขึ้นเขา จะทำให้รถมีแรงฉุดเพื่อขึ้นทางชันได้ดี ส่วนถ้าเป็นทางลงเขา การใช้เกียร์ต่ำจะช่วยในเรื่องของเอนจิ้นเบรก ทำให้รถเกาะถนนได้ดีขึ้น และที่สำคัญต้องไม่ใช่ความเร็วมากเกินไป
- ห้ามเหยียบเบรกหรือคลัตช์ตลอดเวลา ผู้ขับขี่หลายคนมักจะวางเท้าไว้ที่เบรคหรือคลัตช์ตลอดเวลาเมื่อขับลงเขา การกระทำเช่นนี้เป็นสาเหตุของเบรกไหม้หรือคลัตช์ไหม้ จะส่งผลให้รถเบรกแตกไม่สามารถควบคุมได้ วิธีการใช้เบรคที่ถูกต้องเมื่อต้องขับรถในทางลาดชันคือการใช้เกียร์ต่ำและเบรกเป็นระยะสั้นๆ
- ห้ามใช้เกียร์ว่างเพื่อลงเขา ผู้ขับขี่หลายคนมักชอบใช้เกียร์ว่างเพื่อให้รถไหลลงเขาได้ด้วยตัวเอง การทำเช่นนี้จะทำให้รถไม่มีแรงฉุดจากเครื่องยนต์ ส่งผลให้รถไหลเร็วจนไม่สามารถควบคุมรถได้ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ไม่ควรปฏิบัติโดยเด็ดขาด
ประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎจราจร
-
การจราจรไม่ติดขัด
เมื่อผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจร จะทำให้เกิดความเป็นระเบียบ จะไม่มีการฝ่าไฟแดง ไม่มีการขับขี่ผิดช่องทางจราจร อันจะส่งผลให้รถสามารถเคลื่อนตัวได้อย่างไหลลื่นไม่ติดขัดจากความมักง่ายของคนส่วนน้อย
-
ช่วยลดอุบัติเหตุ
การปฏิบัติตามกฎจราจรเป็นวิธี วิธีลดอุบัติเหตุ บนท้องถนนได้เป็นอย่างดี ช่วยปกป้องทุกคนจากความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
-
ปลูกฝังความมีวินัยแก่คนในชาติ
การที่ประชาชนสามารถปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศได้ จะทำให้เป็นการปลูกฝังความมีวินัยร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนใช้รถใช้ถนนร่วมกันได้อย่างปลอดภัย
การที่ผู้ขับขี่ทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจร จะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการเดินทาง การนำอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการจราจรมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก เช่น ป้ายควบคุม เครื่องหมายบอกทาง เครื่องหมายกำกับการจราจร จะช่วยให้การใช้รถใช้ถนนเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งทางร้านไทยจราจร ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัย ครบวงจร ขอเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้คนไทยรักษาวินัยในการจราจร เพื่อให้ทุกชีวิตปลอดภัยในทุกการเดินทาง
ที่มาข้อมูล
- https://www.auto2drive.com/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81/
- https://www.kaidee.com/blog/th/must-know-traffic-regulation-2020/
- https://www.hugsinsurance.com/article/preventative-traffic-rules-car-accidents
- https://trafficthai.com/shop/10-traffic-rules-that-thai-people-like-to-break/
- https://www.silkspan.com/online/article/auto/92/