การจัดการระบบ เครื่องหมายจราจร ตามมาตรฐานการจัดการระบบจราจรในเมืองภูมิภาค

                                    ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาจราจรติดขัดเป็นอย่างหนัก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เมืองและบริเวณโดยรอบ ไม่เพียงแต่การจราจรจะติดขัดในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ในตัวเมืองของแต่ละจังหวัดต่างประสบปัญหาและยิ่งทวีคูณความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีจำนวนประชากรและรถยนต์ส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น เมื่อปัญหาการจราจรเพิ่มมากขึ้นการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ขับขี่บนท้องถนนจำเป็นจะต้องได้รับการประยุกต์ใช้และสร้างความมีระเบียบ วินัย ให้แก่ผู้สัญจรไปมาเพื่อหาวิธีแก้ไขที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน มากกว่าที่จะอาศัยเพียง ไฟจราจร เพียงอย่างเดียว การนำป้าย เครื่องหมายจราจร และอุปกรณ์จราจรมาใช้จะช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างมาก เช่น ป้ายห้ามจอดหรือกำหนดเวลาให้จอดได้เฉพาะช่วงเวลาที่ไม่เร่งด่วน เป็นต้น 

 

การจัดทำคู่มือมาตรฐานด้านการจัดระบบการจราจรในเขตเมือง

              ก่อนที่จะทำการติดตั้งป้ายหรือ เครื่องหมายจราจร เพื่อช่วยแบ่งเบาการทำงานของกล้ามเนื้อที่สิ่งแรกที่จะต้องทำคือการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางการจราจรที่จะกำหนดคลื่นเพราะทุกภาคส่วนจะได้รับผลกระทบต่อการจัดระเบียบการจราจรในครั้งนี้จากนั้นจึงจัดทำมาตรฐานการจัดระบบจราจรก่อนที่จะประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ให้ประชาชนผู้สัญจรไปมาได้รับทราบและปฏิบัติตามประกอบไปด้วย

  1. การสำรวจพื้นที่การจราจร พร้อมวิเคราะห์จากสถานการณ์จริง
  2. จัดระบบ ระเบียบการจราจรใหม่
  3. หาแนวทางและวิธีการแก้ไข
  4. ติดตามผลและประเมินผล

 

 

การสำรวจพื้นที่การจราจร พร้อมวิเคราะห์จากสถานการณ์จริง

     โดยเจ้าหน้าที่จะต้องลงสำรวจพื้นที่ จริงทุกช่วงเวลาโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนที่มักจะได้รับผลกระทบมากกว่าช่วงเวลาอื่น ๆโดยอาจแบ่งช่วงการจราจรบนพื้นถนนตามแยกไฟแดงเพื่อหาเส้นทางและความเหมาะสมในการติดตั้งป้าย เช่น ป้ายกลับรถ ป้ายเลี้ยวขวาได้ 2 เลน เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน  6.00 น. ถึง 9.00 น.  ในช่วงเช้าและ 16.00 น. ถึง 18.00 น. ในช่วงเย็น การสำรวจสถานที่สำคัญโดยรอบ เช่น โรงเรียน, ห้างสรรพสินค้า, ตลาดร้านค้า, โรงพยาบาล 

       ซึ่งสถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นจุดนัดพบของรถนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล, มอเตอร์ไซค์รถเมล์, สองแถว, รถโดยสารอื่น ๆ อาจจะมีเจ้าหน้าที่คอยประจำจุดตรงนี้เพื่อเร่งให้รถรีบเดินทางโดยไวห้ามทำการจอดแช่เพื่อแก้ปัญหารถติดโดยขอความร่วมมือกับหน่วยงานหรือสถานที่ในการเพิ่ม อปพร. เป็นผู้ช่วยจราจร ปรับเปลี่ยนป้ายหรือแก้ไขปัญหาจุดกลับรถ จุดเลี้ยวโดยอาจตั้งแบริเออร์เพื่อปิดทางกลับรถแล้วให้รถทุกคันไปกลับรถจุดอื่นเพื่อป้องกันปัญหาความแออัดของจราจรบริเวณที่พบปัญหา เป็นต้น 

 

 

                        พื้นผิวจราจรเป็นหลุมเป็นบ่อหรือไม่ เพราะหลายครั้งที่พื้นถนนไม่เรียบและทำให้รถจักยานยนต์หรือรถยนต์ต้องคอยหลบ จนทำให้เสียหลักเฉี่ยวชนจนเกิดอุบัติเหตุทำให้รถติดและเสียเวลาได้ บริเวณถนนเส้นดังกล่าวมี ไฟจราจร ถี่เกินไปหรือไม่ อาจมีการปรับลดหรือยกเลิกพร้อมกับนำแบริเออร์มากั้นเพื่อทดลองเส้นทางการเดินรถใหม่ การคำนวณอัตราการไหลของรถในแต่ละช่วงเวลา ความเร็วรถและปริมาณรถ  ขนาดของถนน 2เลน 4 เลน หรือการเดินรถทางเดียว 

จัดระบบ ระเบียบการจราจรใหม่

                    ภายหลังจากที่มีการสำรวจสภาพการจราจรจริงและมีการวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหา ต่อไปคือการจัดระบบ ระเบียบการจราจรใหม่ แม้จะมีเส้นแบ่งจราจรให้รถทุกคันได้สัญจรอย่างเป็นระเบียบ แต่บางช่วงเวลาเร่งรีบก็ทำให้คนไร้ซึ่งระเบียบวินัยได้ โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนเจ้าหน้าที่อาจจำเป็นจะต้องใช้กรวยจราจรเพื่อแบ่งเลน ห้ามรถเปลี่ยนเลน ณ จุดที่มีจราจรหนาแน่น เพราะการเปลี่ยนเลนในแต่ละครั้งก็จะทำให้รถติดหรือเสียจังหวะ โดยเฉพาะการเปลี่ยนเลนมาจุดกลับรถหรือจุดเลี้ยวต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบวินัยมากยิ่งขึ้น

 

 

 

การติดตามและประเมินผล

     เจ้าหน้าที่จะต้องลงพื้นที่ เพื่อตรวจสอบติดตามและประเมินผลหลังจากแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งป้ายห้ามป้ายจอด ต่าง ๆ เครื่องหมายจราจร หรือการให้ อปพร มาเป็นผู้ช่วยและช่วงเวลาดังกล่าวยังมีรถจอดหรือไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอยู่หรือไม่ โดยจะต้องทำการติดตามผลเป็นระยะก่อนที่จะหาข้อสรุปและประมวลผลว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้มากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะหาแนวทางหรือหาอุปกรณ์เสริมเพื่อความเหมาะสม

จัดหาแนวทางและติดตั้งอุปกรณ์ตามความเหมาะสม

      หลังจากที่ติดตาม และประเมินผลเป็นที่เรียบร้อยแล้วในส่วนของอุปกรณ์และ เครื่องหมายจราจ ต่าง ๆ หากพบว่ามีไม่เพียงพอเจอที่ควรทำการสั่งซื้อตามความเหมาะสมและการใช้งานเพื่อให้การจราจรเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น เช่น กรวยจราจร ป้ายห้ามจอด ป้ายห้ามหยุด แบริเออร์ ในการป้องกันลดเลี้ยวหรือป้องกันรถเลี้ยวบริเวณจุดกลับรถเป็นต้น

 

 

 

 

         หลังจากทำการแก้ไขทุกอย่าง อย่าลืมที่จะติดตามและประเมินผล พร้อมทั้งรับข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะของประชาชนโดยรอบรวมถึง อปพร. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนโดยรอบการจราจรดังกล่าวให้รับทราบ เพราะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ก่อนที่จะนำข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในอนาคต 

การนำคู่มือไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่น ๆ 

         ในการจัดทำคู่มือมาตรฐานด้านการจัดระบบการจราจร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการจราจรหรือแจกจ่ายให้กับโรงเรียน โรงพยาบาล ภาคเอกชนและอื่น ๆ เพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความคุ้นชินให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ตลอดจนการเลือกใช้ เครื่องหมายจราจร ป้ายจราจรและอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม

 

 

 

ป้ายจราจร และ อุปกรณ์จราจรและความปลอดภัย

  • ป้ายห้าม จัดเป็นป้ายจราจรภาคบังคับที่รถทุกคันจะต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนถือมีความผิดตามกฎหมาย เช่น ป้ายห้ามจอด, ป้ายห้ามหยุดรถ, สีขอบถนนขาวแดง, สัญลักษณ์ห้ามจอดบนพื้นถนน 
  • ป้ายเตือน จัดเป็นป้ายจราจรประเภทเตือนให้ผู้ขับขี่ทุกคนระมัดระวังต่อเหตุการณ์หรือการจราจรด้านหน้า เช่น ระวังทางโค้ง, ระวังโรงเรียน, จำกัดความสูง, ข้างหน้าทางแยกหรือข้างหน้ามีสัญญาณ ไฟจราจร 
  • ป้ายให้ข้อมูล จัดเป็นป้ายจราจรทั่วไปที่คอยให้ข้อมูลผู้ขับขี่บนท้องถนน เช่น ป้ายบอกระยะทาง, ป้ายบอกสถานที่ 
  • กรวยจราจร ใช้สำหรับกั้นพื้นที่หรือเลนถนน เพื่อบังคับให้รถทุกคันขับตามกรวยที่กั้นไว้ ส่วนใหญ่ผลิตจาก โฟม EVA น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก จัดเก็บง่าย ทนทานต่อการเหยียบทับของรถได้
  • แบริเออร์ จัดเป็นอุปกรณ์บังคับ เพื่อป้องกันรถวิ่งผ่านหรือใช้เป็นอุปกรณ์ในการแบ่งเลนจราจรหรือกั้นถนนระหว่างการซ่อมแซมหรือปรับปรุงถนน
  • ไฟสัญญาณ ใช้สำหรับแจ้งเหตุหรือเตือนให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังในการเดินทาง โดยเฉพาะในยามวิกาล เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น
  • ที่กั้นล้อ พบได้ ที่จอดรถ ใช้สำหรับกั้นล้อรถเพื่อป้องกันการชนผนังหรือออกนอกกรอบแนวกั้น 

 

 

  • ถังขยะ แม้จะไม่เกี่ยวกับการจราจร ที่มีไว้เพื่อทิ้งขยะจากรถ เพื่อป้องกันการทิ้งขยะที่ไม่เหมาะสม พบได้บริเวณ ที่จอดรถ 
  • กระจกโค้ง ใช้สำหรับติดตั้งบริเวณทางแยก หรือทางโค้งที่เป็นมุมอับสายตา เพื่อป้องกันรถสวนทางในที่แคบและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

          จะเห็นว่าป้ายจราจร ถังขยะ และอุปกรณ์จราจรต่าง ๆ ที่นำเสนอข้างต้น เป็นเพียงอุปกรณ์พื้นฐานที่ทางหน่วยงาน สถานที่ราชการและเอกชน ควรจัดหาเพื่อใช้งานในการจราจรภายใน เพื่อให้การจราจรเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการระบบจราจรและเครื่องหมายจราจร

 

 

  1. ลดความล่าช้าบริเวณทางแยก สถานที่สำคัญ ๆ ที่มีการจราจรแออัด 
  2. ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎ เครื่องหมายจราจรและอุปกรณ์จราจรกันมากขึ้น 
  3. ลดเวลาในการเดินทาง
  4. มีความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น
  5. ผู้ขับขี่ได้เรียนรู้ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร ในรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
  6. นำข้อมูลที่เกิดขึ้นสามารถนำไปปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมในอนาคตได้

 

 

               จะเห็นว่าการจราจรบนท้องถนนและภายในหน่วยงานต่าง ๆ จะสามารถเป็นระบบ ระเบียบจนสามารถกลายมาเป็นมาตรฐานการบังคับใช้ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ได้ ล้วนเกิดจากความร่วมมือของทุกคน ไม่ใช่ต้องเป็นแต่ภาระเจ้าหน้าที่เพียงอย่างเดียว สำหรับหน่วยงาน บริษัทหรือโรงงานใดที่ต้องการเครื่องหมายและอุปกรณ์จราจร ถังขยะ อุปกรณ์ความปลอดภัยและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง trafficthai.com มีอุปกรณ์ทุกอย่างไว้คอยบริการ พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่คอยให้คำปรึกษา หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อที่ trafficthai.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ที่มาของข้อมูล :

sign traffic