ไขข้อข้องใจ ถังดับเพลิง มีกี่ประเภท เหมาะกับการใช้งานแบบใดบ้าง

                            ถังดับเพลิง นับเป็นอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่น่าแปลกใจนักที่ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนต่างต้องติดตั้งถังดับเพลิงไว้ในตัวอาคาร การติดตั้งถังดับเพลิงนอกจากเหตุผลด้านความปลอดภัยแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอีกด้วย แต่หากพูดถังดับเพลิง เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยต้องนึกถึงถังดับเพลิงสีแดง แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วถังดับเพลิงมีอยู่หลายประเภท อีกทั้งแต่ละประเภทยังออกแบบมาเพื่อรองรับเหตุเพลิงไหม้แตกต่างกัน และเพื่อไขข้อข้องใจแก่บุคคลทั่วไป รวมถึงฝ่ายอาคารและฝ่ายรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานต่าง ๆ ลองมาดูกันว่าถังดับเพลิงมีด้วยกันกี่ประเภท และเหมาะกับสถานการณ์เพลิงไหม้รูปแบบใดบ้าง เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้อง

 

 

ทำความรู้จักเพลิงไหม้แต่ละประเภท

  ก่อนจะไปทำความรู้จักว่าถังดับเพลิงมีกี่ประเภท อันดับแรกต้องทำความรู้จักอุปกรณ์ชนิดนี้เสียก่อนว่าเพราะอะไรจึงทำหน้าที่ดับเปลวเพลิงได้ โดยถังดับเพลิง คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินจากการเกิดเพลิงไหม้ ภายในประกอบด้วยสารดับเพลิงที่บรรจุแตกต่างไปตามประเภทของเปลวไฟ เช่น โฟม คาร์บอนไดออกไซด์ โซเดียมไบคาร์บอเนต ผงเคมีแบบแห้ง และผงเคมีแบบน้ำ บนถังดับเพลิงจึงมีตัวอักษรภาษาอังกฤษกำกับแตกต่างกัน เพื่อการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับเปลวไฟแต่ละชนิด โดยถังดับเพลิงแต่ละประเภทออกแบบมาเพื่อการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้ 

 

 

 

  • ถังประเภท A

ถังประเภทนี้ เหมาะกับการเลือกใช้ดับเพลิงไหม้อันมีต้นเหตุจากวัสดุติดไฟง่าย เช่น เศษผ้า พลาสติก ขยะ ไม้ ฯลฯ ซึ่งวัสดุเหล่านี้พบได้ทั่วไปและมักพบมากในอาคารบ้านเรือนและสามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า เพราะฉะนั้นถังชนิดนี้จึงนิยมเลือกใช้ตามบ้านเรือนหรืออาคารพักอาศัยทั่วไป

 

 

  • ถังประเภท B

ถังชนิดนี้เหมาะกับเชื้อเพลิงประเภทที่เป็นของเหลว ติดไฟง่าย มีน้ำมัน น้ำมันดิบ และแก๊สไวไฟ เป็นองค์ประกอบ เชื้อเพลิงเหล่านี้เมื่อเจอกับออกซิเจนในอากาศจึงลุกไหม้ได้นาน การดับเชื้อเพลิงนี้จึงต้องจำกัดปริมาณออกซิเจนโดยรอบให้หมดไปเสียก่อน ถังดับเพลิงประเภท B ถูกออกแบบมาเพื่อเปลวเพลิงชนิดนี้โดยเฉพาะ เพราะสามารถจัดการกับออกซิเจนโดยรอบได้ เหมาะกับการติดตั้งในสถานีบริการน้ำมัน ที่จอดรถ เป็นต้น

 

 

  • ถังประเภท C

ถังชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อดับเชื้อเพลิง อันเกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตู้เย็น หม้อหุงข้าว มอเตอร์ ตัวแปลงกระแสไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนอื่น ๆ โดยอุปกรณ์เหล่านี้มีกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้เกิดความร้อนสูง ก่อนการดับเชื้อเพลิงนี้จึงต้องตัดกระแสไฟฟ้าก่อน ตามด้วยการดับเพลิงด้วยถังประเภท C

 

 

  • ถังประเภท D

หากเป็นโรงงานหรือหน่วยงาน ที่ต้องจัดเก็บอุปกรณ์ประเภทโลหะจำนวนมาก แนะนำให้เลือกติดตั้งถังประเภท D เพราะเพลิงไหม้อันเกิดจากโลหะที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม โพแทสเซียม อลูมิเนียม ไม่สามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า ดังนั้น จึงเป็นถังดับเพลิงที่เหมาะกับใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานเหล็กและโลหะ

 

 

  • ถังประเภท K 

อีกหนึ่งประเภทถังดับเพลิง ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับต้นเหตุเพลิงไหม้จากน้ำมัน แต่เป็นน้ำมันจากไขมันสัตว์ ไขมันพืช รวมถึงของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับติดตั้งในร้านอาหารขนาดกลางและขนาดใหญ่

 

ไขข้อข้องใจ ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไรบ้าง 

 

 

  1. ถังดับเพลิงแบบสารเคมีแห้ง

หากถามว่าถังดับเพลิง ประเภทไหนที่นิยมใช้มากที่สุดหรือพบเห็นบ่อยสุด แน่นอนว่าต้องเป็นแบบสารเคมีแห้ง เหตุผลอย่างหนึ่งคือราคาค่อนข้างย่อมเยา ใช้งานได้กับหลายเปลวเพลิง เพราะสามารถดับไฟได้ทั้งชนิด A ชนิด B และชนิด C แต่มีข้อเสียคือทำความสะอาดยาก จึงนิยมใช้กับภายนอกอาคารหรือลานจอดรถ

 

 

  1. ถังดับเพลิงแบบ CO2

อีกหนึ่งตัวเลือกที่หลายหน่วยงานนิยมใช้มากเพราะราคาไม่สูงมากนัก มาพร้อมประโยชน์ในการดับไฟทั้งชนิด B และชนิด C จุดเด่นคือการดับไฟชนิด C ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อ CO2 เจออุณหภูมิภายนอกจะเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้า และไม่ทิ้งคราบสกปรก เมื่อเปลวไฟดับลงแล้ว เจ้าหน้าที่ อปพร. หรือผู้เกี่ยวข้องจึงไม่ต้องเสียแรงทำความสะอาดมากนัก

 

 

  1. ถังดับเพลิงแบบโฟม น้ำยา AFFF

รูปแบบถังชนิดนี้ออกแบบมาเพื่อดับไฟชนิด A และชนิด B เท่านั้น วิธีสังเกตง่าย ๆ คือตัวถังจะผลิตจากสเตนเลส เมื่อฉีดพ่นจะออกมาในรูปแบบเนื้อโฟม และช่วยลดอุณหภูมิความร้อนของไฟ ลดความเสี่ยงการเกิดไฟประทุ แต่ไม่สามารถใช้กับเปลวเพลิงที่เผาไหม้อุปกรณ์ไฟฟ้า

 

 

  1. ถังดับเพลิง สารเหลวระเหย NON – CFC

ตัวถังมีสีเขียว ออกแบบมาเพื่อดับไฟชนิด A ชนิด B และชนิด C เมื่อฉีดพ่นออกมาจะเป็นไอ ควบคุมความร้อนได้ค่อนข้างดี เป็นที่นิยมมากในห้างสรรพสินค้า หน่วยงานที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าค่อนข้างมาก รวมถึงพื้นที่ที่ต้องการรักษาความสะอาด เพราะไม่ทิ้งคราบสกปรกกวนใจ แต่มีข้อเสียคือราคาค่อนข้างสูง

 

 

  1. ถังดับเพลิงแบบน้ำสะสมแรงดัน

ถังประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อดับไฟชนิด Aเท่านั้น เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นน้ำทำให้ดับเปลวเพลิงชนิด A ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมเชื้อเพลิงได้ดี แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถดับไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ เพราะเมื่อน้ำโดนอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายยิ่งกว่าเดิม

 

 

  1. ถังดับเพลิงแบบน้ำ 

เรียกได้ว่าเป็นถังที่มีความทันสมัยมากที่สุด เพราะสามารถดับไฟได้ทุกประเภท ไม่เว้นแม้แต่ไฟชนิด C อันเป็นเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อฉีดแล้วตัวน้ำยาไม่ฟุ้งกระจาย ควบคุมเพลิงได้ดี ลดการปะทุซ้ำ และยังทำความสะอาดง่ายอีกด้วย

 

เทคนิคเลือกถังดับเพลิง พร้อมการดูแลให้พร้อมใช้งานเสมอ

  • เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน

เทคนิคแรกในการเลือกถังดับเพลิง ให้ใช้งานได้อย่างตอบโจทย์คือควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน แม้การเกิดเพลิงไหม้จะเป็นเหตุการณ์ไม่คาดคิด แต่ถึงอย่างนั้นสามารถประเมินสถานการณ์ได้ว่าหากเกิดเพลิงไหม้ขึ้นอาจเกิดจากสาเหตุใด เพื่อการเลือกติดตั้งถังดับเพลิงได้อย่างเหมาะสม เช่น หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเหล็กและโลหะจำนวนมาก ควรเลือกถังประเภท D ซึ่งถังประเภทนี้สามารถดับเปลวเพลิงจากโลหะได้ หรือหากเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ ควรเลือกติดตั้งถังประเภท K ที่ช่วยดับเปลวเพลิงอันมีสาเหตุจากน้ำมันประกอบอาหารได้ดี เป็นต้น

 

 

  • ปลอดภัย ได้มาตรฐาน

นอกจากเลือกถังให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว ควรเลือกถังที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทยหรือมาตรฐานเทียบเท่า โดยสังเกตได้จากสัญลักษณ์ มอก. เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นสินค้าได้มาตรฐาน โดยที่ร้านไทยจราจรมีถังดับเพลิงให้เลือกหลายประเภท แต่ละประเภทได้มาตรฐาน รับรองว่าได้เป็นเจ้าของสินค้าดีมีคุณภาพอย่างแน่นอน

 

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ตัวถังควรพร้อมใช้งานทันที วิธีเช็กความพร้อมแบบง่าย ๆ คือ เข็มแรงดันต้องอยู่บริเวณขีดสีเขียว หากเลือกใช้ถังที่บรรจุสารเคมีแบบแห้งควรนำตัวถังออกมาพลิกซ้าย-ขวา ทุก 4-6 เดือน เพื่อไม่ให้สารเคมีจับตัวเป็นก้อน และหากตัวถังมีอายุนานเกิน 5 ปี ควรส่งให้บริษัทตรวจสภาพอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่ายังใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

  • ติดตั้งในตำแหน่งเหมาะสม หยิบใช้งานสะดวก

สถานที่ติดตั้งตัวถังควรปราศจากความชื้น ไม่ติดตั้งใกล้แหล่งความร้อน เช่น เตาไฟ เครื่องจักรความร้อนสูง รวมถึงควรดูแลตัวถังให้สะอาด ขาดไม่ได้คือบริเวณติดตั้งถังต้องหยิบใช้งานไม่สะดวก ไม่มีอุปกรณ์อื่นวางเกะกะ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะได้หยิบใช้งานได้ทันท่วงที

 

 

                                                  เมื่อ ถังดับเพลิง มีหลายรูปแบบ อีกทั้งแต่ละรูปแบบยังเหมาะกับเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการมีความรู้เรื่องถังดับเพลิงแต่ละประเภทจะช่วยให้ใช้งานอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ เพื่อความปลอดภัยของพนักงานในหน่วยงานหรือผู้พักอาศัย การอบรมการใช้ถังดับเพลิงอย่างถูกต้องจึงเป็นอีกเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างถูกต้อง เพิ่มความปลอดภัย ลดการสูญเสีย และสำหรับหน่วยงาน องค์กร หรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ใด ต้องการติดตั้งถับดับเพลิงเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่าลืมนึกถึงร้านไทยจราจร ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัย ครบวงจร ไม่ว่าจะต้องการสินค้าจราจรประเภทใด สามารถหาซื้อได้ที่ร้านไทยจราจร เช่น สัญญานไฟ ป้ายเตือน ป้ายห้ามเข้า แผงกั้น ฯลฯ นอกจากรวบรวมสินค้ามากมายแล้ว สินค้าทุกชิ้นยังได้มาตรฐาน พร้อมด้วยทีมงานให้คำปรึกษาและคำแนะนำอย่างมืออาชีพ โดยสามารถเข้าดูสินค้าได้ที่ : trafficthai.com

 

ที่มาข้อมูล :