7อุปกรณ์เซฟตี้และ ป้ายเตือน เพื่อความปลอดภัยในงานรับเหมาก่อสร้าง

safety

               ความปลอดภัยในงานรับเหมาก่อสร้างเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพ อุปกรณ์เซฟตี้และ ป้ายเตือน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทีมวิศวกร ผู้รับเหมา หรือคนงานในไซต์ก่อสร้างต้องทราบความหมายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

หากคุณทำงานในสถานที่ก่อสร้าง สิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจคือเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย อุปกรณ์มาตรฐานและ ป้ายจราจร ที่จำเป็นเพื่อให้ตัวคุณเองและผู้อื่นปลอดภัย มีคำแนะนำ 7 ข้อดังนี้

1. สวมชุดเซฟตี้ช่วยลดอุบัติเหตุ

ในพื้นที่โครงการก่อสร้างมักจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอยู่ตลอด เนื่องจากในไซต์งานนั้นมีทั้งแรงงานมีฝีมือและคนงานทั่วไปที่บางคนอาจขาดระเบียบวินัยและไม่รอบคอบมากพอ จึงมีหลายครั้งที่เกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัย อุปกรณ์เซฟตี้จึงช่วยลดความเสี่ยงอุบัติเหตุได้ ดังนี้

เสื้อกันฝน

               เมื่อพูดถึงเสื้อกันฝน ส่วนใหญ่หมายถึงเสื้อคลุมสะท้อนแสง เป็นชุดแต่งกายเพื่อให้คนสวมปลอดภัยเนื่องจากสีสะท้อนแสงมองเห็นคนที่กำลังทำงานได้ชัดจากระยะไกลในเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งในไซต์งานก่อสร้างที่มีแสงน้อยหรืออันตรายมาก

บริเวณข้างถนนที่มีรถยนต์สัญจรผ่านไปมา และเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ บริเวณตึกชั้นสูงๆ สีของชุดสวมใส่โดดเด่นตัดกับสภาพแวดล้อมบริเวณที่ทำงาน เสื้อกันฝนแขนยาวสวมปกป้องร่างกายในช่วงที่สภาพอากาศเลวร้าย ป้องกันฝนตกและหนาวเย็น

life jacket
เสื้อชูชีพ

           เป็นเสื้อสวมทำงานอีกประเภทที่ทำจากวัสดุสะท้อนแสงเพื่อให้คนขับเห็นเสื้อสีส้มและสีเหลืองได้ชัด ขับอย่างระมัดระวังเมื่อเข้าใกล้บริเวณเขตก่อสร้าง ทำให้ผู้คุมงานเห็นได้ชัดเร็วและง่ายขึ้นโดยเฉพาะในสภาพแสงน้อย

สวมหมวกนิรภัย

          ควรสวมในไซต์ก่อสร้างตลอดเวลา เพื่อป้องกันอันตรายจากวัสดุก่อสร้างที่ตกหล่นลงมาจากที่สูงจนทำให้บาดเจ็บได้ หมวกนิรภัยช่วยลดแรงกระแทกจากอุบัติเหตุของตกใส่ศีรษะ มีทั้งหมวกแบบกันกระแทกด้านบน หมวกกันกระแทกทั้งจากด้านบนและด้านข้าง และหมวกป้องกันกระแสไฟฟ้า สีของหมวกนิรภัยแตกต่างกันตามตำแหน่งหน้าที่ เช่น

  • สีขาวคือหัวหน้างาน วิศวกร และผู้เยี่ยมชม
  • สีน้ำเงินคือช่างไม้ ช่างไฟ ช่างเทคนิค
  • สีแดงหรือส้มคือช่างเชื่อม คนทำงานเกี่ยวกับความร้อน และพนักงานดับเพลิง
  • สีเขียวคือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
  • สีเหลืองคือพนักงานทั่วไป
safety gloves
ถุงมือนิรภัย

                  งานก่อสร้างต้องหยิบจับวัสดุตลอดเวลา จึงมีถุงมือหลายรูปแบบเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของงาน ควรสวมถุงมือตลอดเวลาที่ทำงานเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ระหว่างทำงาน เช่น

  • ถุงมือยางสำหรับงานไฟฟ้า
  • ถุงมือใยหินป้องกันไฟและความร้อน
  • ถุงมือใยโลหะป้องกันของมีคม
  • ถุงมือยางไวนิลป้องกันสารเคมี
  • ถุงมือหนังสำหรับงานไม้ งานโลหะ งานเชื่อมที่ไม่ใช้ความร้อนสูง
  • ถุงมือผ้าสำหรับงานทั่วไป ควรรักษาอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอและเปลี่ยนใหม่เมื่อชำรุดเสียหาย
รองเท้านิรภัย

            รองเท้าที่ออกแบบมาลดแรงกระแทก ป้องกันเท้า นิ้วเท้า และข้อเท้า มีหลายรูปแบบ เช่น รองเท้าหัวโลหะสำหรับรับน้ำหนักและทนแรงกระแทก รองเท้ายางหุ้มข้อป้องกันกระแสไฟฟ้า รองเท้าไวนิลและยางสังเคราะห์ป้องกันสารเคมี รองเท้าหุ้มแข้งสำหรับงานโลหะและงานเชื่อม รองเท้าพื้นไม้สำหรับพื้นเปียก เป็นต้น

goggles and safety mask
แว่นนิรภัย หรือ หน้ากากนิรภัย

                    เป็นอุปกรณ์สำหรับป้องกันระบบหายใจ ป้องกันใบหน้า มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่นควัน อนุภาคของโลหะ ไอระเหยจากก๊าซ หรือสารเคมี ตรวจสอบอุปกรณ์ด้วยสายตาว่าอยู่ในแว่นนิรภัยและหน้ากากป้องกันอยู่ในสภาพดีและปลอดภัยก่อนเริ่มใช้งาน

                   ผู้รับเหมาต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยให้คนทำงานแต่ละคนเหมาะสมกับชนิดของงาน การไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายในขณะทำงาน ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากขาดความรู้ ขาดทักษะความชำนาญ หรือความประมาททำให้เกิดอุบัติเหตุ การทำตามขั้นตอนและกฎระเบียบด้านความปลอดภัยช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของอุบัติเหตุในไซต์ก่อสร้างได้

 

 

2.เครื่องหมายจราจร

               การทำงานในสถานที่ก่อสร้างมีข้อควรระวังหลายอย่าง ความปลอดภัยของคนทำงานต้องมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ป้ายจราจรเป็นเครื่องหมายที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ทุกคนต้องเข้าใจวิธีการใช้งานอุปกรณ์และชุดเซฟตี้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

อันตรายจากการใช้รถเข็นหรือรถโฟล์คลิฟต์เพื่อขนย้ายวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนการขับรถกระเช้าเพื่อทำงานบนที่สูงจำเป็นต้องมีป้ายจราจรบอกทางและมีรั้วกั้นเส้นทางขับรถ เพราะการขับรถเคลื่อนที่รวดเร็วอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุมีคนงานบาดเจ็บได้ ควรมีรั้วตาข่าย หรือ กรวยจราจร ป้องกันไม่ให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปใกล้บริเวณนั้น

 

traffic-signs

 

3.ป้ายเตือน  บริเวณผิวทางถนน

                บริเวณก่อสร้างใกล้ถนนหลวงอาจเป็นจุดเสี่ยงอันตรายโดยเฉพาะในตอนกลางคืน เนื่องจากไม่มีสัญลักษณ์จราจรแจ้งล่วงหน้าว่าให้เปลี่ยนเลนหรือเบี่ยงทาง ทำให้เกิดอุบัติเหตุชนกับกองวัสดุก่อสร้างริมทาง หรือมีป้ายจราจรแต่ป้ายสะท้อนแสงไม่พอ หรือไฟสว่างไม่พอทำให้ผู้ขับขี่บนท้องถนนมองไม่เป็นป้ายเตือนในระยะไกล เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้การจราจรติดขัดไปอีกนาน

 

danger-construction-site-no

 

4.ป้ายห้ามเข้า เขตก่อสร้าง

         ผู้รับเหมาก่อสร้างควรวางแผนเรื่องป้องกันความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในเขตก่อสร้าง เริ่มตั้งแต่ปิดป้ายเตือนว่าเป็นเขตก่อสร้าง บุคคลภายนอกห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ห้ามคนงานที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปบริเวณที่ตนไม่มีหน้าที่ทำงานเกี่ยวข้องกัน ตลอดจนบุคคลภายนอกที่สัญจรไปมา อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง หรือขับรถผ่านโครงการก่อสร้าง จัดทำรั้วตาข่าย หรือคอกกั้นบริเวณโดยรอบเขตก่อสร้าง มีไฟสัญญาณสีแดง หรือไฟกระพริบ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในเวลากลางคืน

นอกจากนี้ควรติดป้ายเตือนห้ามเข้าในพื้นที่เก็บสารเคมีอันตรายห้ามเข้าโดยเด็ดขาด ป้ายเตือนหรือรั้วตาข่ายกั้นพื้นที่ทำงานที่มีสภาพไม่ปลอดภัย หรือเครื่องมือชำรุดไม่อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย เมื่อซ่อมแซมอุปกรณ์เหล่านั้นต้องติดป้ายเตือนว่าชำรุดห้ามใช้เครื่องมือ ห้ามเปิดสวิทช์ และรีบส่งซ่อมทันที

 

traffic cones

 

5.กรวยจราจร

             กรวยจราจร เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ที่ใช้ในไซต์งานก่อสร้างเพื่อให้รู้ว่ามีจุดใดที่ต้องระมัดระวังบ้าง ควรสังเกตบริเวณที่มีกรวยจราจรกั้นพื้นที่หมายถึงการแจ้งเตือนว่าห้ามเข้า โปรดระมัดระวัง อาจมีเศษหินและวัสดุร่วงหลานจากที่สูง ระวังตกหลุม ตกท่อ กรวยจราจรควรมีสีสดที่เห็นได้ชัดเจน ติดแถบสะท้อนแสง 2-3 แถบเพื่อให้สว่างเห็นได้ในเวลากลางคืน 

 

 

6.ตาข่ายและรั้วป้องกันวัสดุตกจากที่สูง

                สถานที่ก่อสร้างเป็นเขตอันตราย อาจมีเศษหินและวัสดุก่อสร้างกระเด็นตกหล่นจากที่สูง ในชั้นต่างๆ ของอาคารที่ก่อสร้างควรทำรั้วกั้นหรือฝาปิดที่มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันการตกหล่นโดยมีรั้วความสูงอย่างน้อย 90 เซนติเมตร ติดตาข่ายหรือผ้าใบปิดป้องกันสิ่งของตกหล่นลงมา

บริเวณนั่งร้านที่ทำงานก่อสร้างต้องไม่สั่นคลอนขณะทำงาน ควรทำรั้วกั้นป้องกันตกหรือทำที่รองรับ เมื่อทำงานบนที่สูงเกิน 4 เมตร ควรสวมเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา ส่วนคนที่ทำงานด้านล่างต้องสวมหมวกนิรภัยแข็งเพื่อป้องกันศีรษะตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในที่สูง

 

 

7.ถังดับเพลิง และอุปกรณ์เตือนอัคคีภัย

                บริเวณพื้นที่ก่อสร้างต้องมีการป้องกันอัคคีภัยและถังดับเพลิงประเภทต่างๆ ตามแผนป้องกันเพลิงไหม้ที่เหมาะสมเพื่อที่จะดับไฟได้ทันท่วงที มีป้ายห้ามสูบบุหรี่บริเวณที่มีวัสดุและเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ เก็บกวาดวัสดุก่อสร้าง ขยะ หรือเศษกระดาษที่ติดไฟได้ในที่เหมาะสมทุกวัน จัดให้มีการอบรมดับเพลิงกับพนักงานในฝ่ายต่างๆ หากเกิดไฟไหม้และไม่สามารถดับไฟได้เองควรแจ้งพนักงานดับเพลิงโดยเร็ว

บริเวณที่จัดเก็บถังดับเพลิงควรมีป้ายอุปกรณ์ดับเพลิงแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ดับเพลิงอยู่ที่ไหน ป้ายตั้งถังดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่ สีขาวและแดงสะดุดตามองเห็นได้ในระยะไกล และหยิบใช้ได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาค้นหา ป้ายสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้เพื่อให้คนพบเหตุส่งสัญญาณเตือนคนอื่นๆ ให้อพยพออกไปหรือเข้าระงับเหตุไฟไหม้ได้ทันท่วงที 

 

แต่ละไซต์งานมีอันตรายและการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน บริษัทรับเหมาก่อสร้างควรจัดอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัย มีความรู้ความเข้าใจว่าอุปกรณ์เซฟตี้มีความสำคัญอย่างไร และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพและความปลอดภัยอย่างไรเพื่อป้องกันตนเองและเพื่อนร่วมงาน หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานรับเหมาก่อสร้างมีความระมัดระวังมากขึ้น หากต้องการใช้ ป้ายเตือน และอุปกรณ์จราจรอื่นๆ ค้นหาสินค้าได้ที่ ร้านไทยจราจร ที่ https://trafficthai.com/ เรายินดีให้คำปรึกษาและช่วยคุณเตรียมอุปกรณ์จราจรที่ได้มาตรฐานพร้อมกับมือกับทุกสถานการณ์อยู่เสมอ

 

ที่มาข้อมูล : 

https://trafficthai.com/

https://www.builk.com/th/ความปลอดภัย-ในไซต์งาน/#:~:text=ข้อควรปฏิบัติเพื่อความ,วัสดุก่อสร้างจนบาดเจ็บได้-

https://www.haspod.com/blog/construction/understanding-construction-site-safety-signs

https://www.3btraining.com/construction-2/safety-signs/

https://safetyculture.com/topics/construction-safety/10-construction-safety-rules/