เครื่องหมายจราจรและอุปกรณ์เซฟตี้สำคัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ อปพร.

        เจ้าหน้าที่ อปพร. หรือ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 มาตรา 41 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2553 ได้สรุปหน้าที่ของ อปพร. ไว้ว่า

  1. ให้ความช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยครอบคลุมภัยทั้งจากไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ รวมถึงภัยที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การลอบวางระเบิด การลอบวางเพลิง เป็นต้น
  2. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการมอบหมายและตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

โดยก่อนที่จะมาเป็นเจ้าหน้าที่ อปพร. นั้นต้องผ่านการอบรมตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของ อปพร.(พ.ศ.2531) ซึ่งจะมี 2 หลักสูตร คือ

 

 

  1. หลักสูตรสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการอบรมหลักสูตร ทสปช. หรือ ไทยอาสาป้องกันชาติ หรือหลักสูตรทบทวนของ อปพร.
  2. หลักสูตรสำหรับทบทวนความรู้สำหรับกลุ่ม ทสปช. และผู้ที่เป็น อปพร. อยู่แล้ว

             นอกจากให้ความช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อปพร.จะต้องทำหน้าที่ภายใต้คำสั่งของ ผอ.ศูนย์ (ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.) สามารถแจ้งหน้าที่ตามฝ่ายต่าง ๆ ได้ดังนี้

  1. ฝ่ายป้องกันสาธารณภัย มีหน้าที่สำรวจพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น มุมอับ มุมมืด พื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำ ๆ ต้องจัดหาอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยมาติดตั้งตามจุดเสี่ยง
  2. ฝ่ายสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐในการบรรเทาสาธารณภัย เช่น การซ่อมแซมอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยต่าง ๆ 
  3. ฝ่ายปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้ประสบภัย
  4. ฝ่ายดูแลความสงบทั่วไป ช่วยสอดส่องและประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐในการตรวจตราบุคคลผู้ต้องสงสัยที่อาจเป็นภัยต่อสังคม
  5. ฝ่ายสงเคราะห์ ช่วยฟื้นฟูอาคารสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยต่าง ๆ รวมทั้งการฟื้นฟูตัวคนที่ประสบภัยด้วยเช่นกัน

 

      เจ้าหน้าที่ อปพร.เป็นหนึ่งในงานเพื่อสาธารณะ ทุกฝ่ายต้องทำงานอยู่บนความเสี่ยงเพราะฉะนั้นอุปกรณ์เซฟตี้จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการทำงาน เพราะสามารถช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของเจ้าหน้าที่ในการทำงาน ดังนั้นในบทความนี้เราจะกล่าวถึงอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ อปพร. ว่ามีอะไรบ้างและสำคัญอย่างไร 

ความสำคัญของอุปกรณ์เซฟตี้ในการทำงาน

  1. การใช้อุปกรณ์เซฟตี้ช่วยป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงาน
  2. ช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น ป้องกันการโดนเฉี่ยวชนจากรถยนต์บนท้องถนน หรือป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในอาคาร
  3. อุปกรณ์เซฟตี้ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะมีความมั่นใจในการทำงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ 
กระบอง

 

อุปกรณ์เซฟตี้สำคัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ อปพร. เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

             สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการทำงานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้  ความปลอดภัยจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติหน้าที่  ดังนั้นหากผู้ปฏิบัติงานมีความรู้และมีอุปกรณ์เซฟตี้ที่รัดกุมและครบวงจรแล้ว โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุในขณะทำงานก็จะลดน้อยลงหรือไม่มีเลย

มาดูกันว่าอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อปพร. มีอะไรบ้าง

  1. ป้ายจราจร  ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อปพร. เช่น ใช้สำหรับการเตือนขณะปฏิบัติงานบนถนนที่มีอุบัติเหตุ หรือมีการซ่อมแซมถนนหนทาง โดยการใช้ป้ายจราจรที่มี สัญลักษณ์จราจร หรือ เครื่องหมายจราจร ที่มีข้อความเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวัง ซึ่งจะสามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่อีกด้วย 

 

 

ป้ายจราจร มีทั้งหมด 3 ประเภท

 

  • ป้ายบังคับ คือ ป้ายที่มีความหมายบังคับให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตาม เครื่องหมายจราจร ที่ปรากฏอยู่บนป้ายนั้น 
  • ป้ายเตือน คือ ป้ายที่มีความหมายเป็นการเตือนให้ผู้ใช้ทางทราบล่วงหน้าถึงสภาพทางที่ไม่ปกติ หรือมีจุดที่เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง หรือป้ายเตือนเฉพาะ เช่น เตือนบอกเขตก่อสร้าง หรือป้ายเตือนบอกถึงเจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงาน
  • ป้ายแนะนำ คือ ป้ายที่ใช้เพื่อแนะนำผู้ใช้ทางให้เดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย ให้ความรู้ ข่าวสาร หรือข้อมูลอื่น ๆ 

 

  • กรวยจราจร  อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่ใช้ในการป้องกันระหว่างการทำงานบนท้องถนน หรือสถานการณ์อื่น ๆ อาทิ ใช้ในการป้องกันการจราจร ปิดพื้นที่สำหรับการใช้งานในเวลากลางคืน หรือในสภาพแสงน้อย ใช้กันพื้นที่อันตราย หรือเกิดอุบัติเหตุ กั้นพื้นที่การทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยอุปกรณ์ประเภทนี้มักจะติดตั้งปลอกสะท้อนแสงเพื่อเพิ่มการมองเห็น  

 

กรวยจราจรมีหลายแบบให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ประเภททั้งหมดของ กรวยจราจร มีดังนี้ 

  • กรวยจราจรแบบ EVA เป็นกรวยที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดบนท้องถนนในประเทศไทย มีราคาถูกและใช้งานได้ดี ทำจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นจึงไม่แตกหักเวลาโดนรถทับ เหมาะกับการใช้งานภายนอกเป็นอย่างมาก 
  • กรวยจราจรแบบ PE คุณลักษณะพิเศษคือมีฐานรองกรวยที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักและทำจากวัสดุ PE หมดห่วงเรื่องพัดปลิวเมื่อเกิดลมพัด หรือรถวิ่งด้วยความเร็วสูงทำให้กรวยพลิกคว่ำ มีแถบสะท้อนแสงช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นยามค่ำคืน
  • กรวยจราจรแบบ PVC มีความยืดหยุ่นมากกว่ากรวยประเภทอื่น ๆ ไม่แตกหักเวลาโดนรถทับและคืนตัวอย่างรวดเร็ว
  • กรวยจราจรแบบ PVC พร้อมฐานเพิ่มน้ำหนัก เป็นที่นิยมอย่างมากเพราะมีทั้งความยืดหยุ่น และมีฐานยางเพิ่มน้ำหนักป้องกันการพัดปลิวหรือพลิกคว่ำได้เป็นอย่างดี
  • กรวยจราจรแบบพับเก็บได้ มีแถบสะท้อนแสง 2 แถบ มองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน บางรุ่นมาพร้อมกับ ไฟกระพริบ ช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ดีทั้งกลางวันและกลางคืน จัดเก็บและพกพาได้ง่ายสะดวกใช้ทุกพื้น
ไฟกระพริบลูกศร

 

  • ไฟกระพริบ เป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยใช้เตือนภัยต่าง ๆ บริเวณที่เกิดเหตุ อย่างเช่น บนท้องถนนที่เกิดอุบัติเหตุ โดยใช้ไฟกระพริบเป็นสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ให้เพิ่มความระมัดระวังในการขับรถ หรือใช้ไฟกระพริบเตือนในบริเวณที่เจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติหน้า อาทิ การซ่อมแซมถนน การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น

 

  • ตาข่ายพลาสติก อีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ อปพร. ตาข่ายพลาสติก หรือ รั้วตาข่าย มีประโยชน์ในการกั้นพื้นที่เขตที่มองเห็นไม่ชัดเจนป้องกันการพลัดตกของเจ้าหน้าที่ในเขตก่อสร้าง หรือสถานที่อื่นๆ ที่เป็นจุดเสี่ยง ช่วยป้องกันผู้บุกรุกพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะอาจเกิดอันตรายทั้งผู้บุกรุกและเจ้าหน้าที่ได้ ตาข่ายพลาสติกที่ดีควรเป็นตาข่ายที่มองเห็นชัดเจนสีสันเด่นชัด มีน้ำหนักเบา ไม่ต้องใช้กำลังคนเยอะในการติดตั้ง ประสิทธิภาพการใช้ตาข่ายพลาสติกจะช่วยลดอุบัติเหตุในพื้นที่ได้ทันทีที่เริ่มใช้งาน 100% 

 

 

  • เสื้อกันฝน อุปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ อปพร. ที่สำคัญมาก ๆ เลยคือเสื้อกันฝน เสื้อกันฝนทำให้สามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องรอให้ฝนหยุดตก โค้ทกันฝนที่ดีต้องมีแถบสะท้อนแสงช่วยให้ผู้ขับขี่รถมองเห็นเราได้ชัดเจนขึ้นเมื่อต้องทำงานบนท้องถนน

 

  • รถเข็นไฟหมุน อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากการมองไม่เห็นพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง ช่วยลดเหตุร้าย หรืออุบัติเหตุจากการถูกรถชนในระหว่างการปฏิบัติงาน รถเข็นไฟหมุน ให้ความสว่างและเคลื่อนย้ายสะดวก สามารถติดตั้งได้ทุกที่ไม่ว่าจะภายในอาคาร หรือนอกอาคาร

 

 

  • หมวกนิรภัย อุปกรณ์สำคัญในการช่วยป้องกันศีรษะถูกกระแทกด้วยของหนัก โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทั้งนอกและในอาคาร หากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่ดีพอ อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต หมวกนิรภัยที่ดีต้องมีการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม และต้องไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้าเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากไฟฟ้าช็อตในระหว่างปฏิบัติงาน การสวมหมวกนิรภัยที่มีคุณภาพจะสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการทำงานได้สูงสุด

 

            ความปลอดภัยในที่ทำงานโดยเฉพาะงานที่มีความเสี่ยงนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญมาก และต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้น ๆ อยากทำงานช่วยเหลือผู้อื่นอย่าลืมต้องเซฟตัวเองก่อนเสมอ เมื่อเราเซฟตัวเองดีแล้วเราจะได้ช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นการใช้อุปกรณ์เซฟตี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม และควรใส่ใจเป็นพิเศษ หากท่านต้องการหาอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย หรืออุปกรณ์การจราจรต่าง ๆ เข้ามาปรึกษากับพวกเราได้ที่ ร้านไทยจราจร ร้านที่มีอุปกรณ์จราจรและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย

 

ที่มาข้อมูล :