นิคมอุสาหกรรม คืออะไร ในประเทศไทยมีกี่นิคม?

ในบทความนี้ร้านไทยจราจร จะขอมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่มีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ ในการดำเนินการจัดสรรใช้ประโยชน์บนพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งในประเทศไทยมีองค์กรรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบอยู่ คือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. เป็นผู้ทำหน้าที่พัฒนาและรับรองการจัดตั้งนิคมฯ ซึ่งการทำงานต่าง ๆ จะอยู่ใต้นโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อให้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ สามารถจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นระเบียบ ใช้ประโยชน์บนพื้นที่ได้อย่างสูงสุด เพื่อเป็นหนึ่งในเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มีอำนาจการแข่งขันสู่ตลาดการค้าระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก

ในปัจจุบัน กนอ. ก่อตั้งมาแล้ว 45 ปี มีนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศในการดูแล 59 นิคมฯ (ใน 18 จังหวัด) โดยแบ่งเป็นส่วนที่ กนอ. จัดตั้งและกำกับดูแลเอง 11 นิคมฯ และส่วนที่เป็นภาคเอกชนมาแจ้งขอจดทะเบียนและดำเนินการลงทุนกิจการอีกจำนวน 48 นิคมฯ อาทิ

 

1.นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน และ จ.พิจิตร

 

2.นิคมอุตสาหกรรมภาคกลางและภาคตะวันออก เช่น 

– นิคมฯแก่งคอย และนิคมฯหนองแค (จ.สระบุรี) 

– นิคมฯบางปะอิน (จ.อยุธยา) 

– นิคมฯสมุทรสาคร นิคมฯลาดกระบัง (กทม.) 

– นิคมฯเกตเวย์ นิคมฯเวลโกรว์ (จ.ฉะเชิงเทรา) 

– นิคมฯบางปู นิคมฯบางพลี (จ.สมุทรปราการ) 

– นิคมฯอมตะนคร นิคมฯปิ่นทอง นิคมฯแหลมฉบัง นิคมฯอีสเทิร์นซีบอร์ด (จ.ชลบุรี) 

– นิคมฯกบินทร์บุรี นิคมฯโรจนะ นิคมฯ304 นิคมฯเครือสหพัฒน์ (จ.ปราจีนบุรี)

– นิคมฯมาบตาพุด นิคมฯอีสเทิร์นซีบอร์ดระยอง นิคมฯอมตะซิตี้ (จ.ระยอง)

 

3.นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย

4.นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ เช่น จ.สงขลาและ จ.ปัตตานี

 

แม้ว่านิคมอุตสาหกรรมจะมีผู้จัดตั้งที่แตกต่างกัน แต่ประธานหรือผู้เป็นเจ้าของลงทุนในทุกนิคมฯ ต้องมีเป้าหมายเดียวกันในการบริหารจัดการ นั่นคือ การจัดสรรทรัพยากรทั้งส่วนที่ดิน สิ่งอำนวยความสะดวก การสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน น้ำ ไฟ สัญญาณโทรศัพท์ ตลอดจนการมีสถานที่เพื่อการผ่อนคลายสำหรับผู้ที่ประกอบการหรือผู้ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมนั้น ๆ เช่น มีร้านสะดวกซื้อ ศูนย์การค้า หอพัก ปั้มน้ำมัน ร้านอาหาร ฯลฯ ที่เพียงพอต่อจำนวนประชากรในนิคมฯ เพื่อรักษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม และต้องไม่ละเลยด้านการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล มลพิษทางน้ำและอากาศ (เจ้าของนิคมอุตสาหกรรมต้องกำกับควบคุมบริษัทและโรงงานต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรม)

 

ร้านไทยจราจรจึงขอแนะนำอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยและการจราจรที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่

  1. กรวยจราจร แผงกั้นจราจร เสาหลักอ่อนสำหรับการกั้นเขตพื้นที่ และกำหนดทิศทางการสัญจรของรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ในนิคมฯ
  2. ยางชะลอความเร็วรถ และป้ายจำกัดความเร็ว เพื่อควบคุมความเร็วรถยนต์ส่วนบุคคลและรถขนส่งสินค้า เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนในนิคมอุตสาหกรรม
  3. กระจกโค้งจราจร ทั้งแบบติดตั้งพื้นและติดตามมุมจากด้านบน และโคมไฟถนนแบบโซล่าเซลล์ (ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้กับผู้ประกอบการ) เพื่อการเพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็นรอบด้าน ลดอุบัติภัยจากรถเฉี่ยวชนในมุมหักศอก ทางแยก และลดโอกาสเกิดการโจรกรรมอาชญากรรมได้มาก
  4. ไม้กระดก กระบองไฟกระพริบ (สำหรับเปิดใช้ยามวิกาล) และป้ายไฟหยุดตรวจ ณ จุดเข้าออกนิคมอุตสาหกรรม เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่เข้าออกนิคมฯยิ่งขึ้น
  5. ไฟจราจรนับเวลาถอยหลัง และ ตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร ช่วยให้ลดเปอร์เซ็นต์อุบัติเหตุบริเวณทางม้าลาย และช่วยลดการใช้คนในการควบคุมสัญญาณไฟด้วย
  6. การมีพื้นที่จอดรถเป็นสัดส่วนเพียงพอ พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ที่กั้นที่จอดรถ ที่จอดจักรยาน เสาแบ่งเลนรถจักรยาน จะช่วยลดการใช้พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทางด้วยรถส่วนตัว ให้มาใช้รถสาธารณะภายในนิคมฯแทน
  7. การกำชับให้ทุกบริษัท ห้างร้านและศูนย์การค้าต่าง ๆ ภายในนิคม มีมาตรการรักษาความปลอดภัยและซ้อมรับมือกับอัคคีภัยเป็นประจำ มีการติดป้ายไฟฉุกเฉิน หรือป้ายทางออกฉุกเฉิน ในจุดที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ไม่วางสิ่งของขวางทางหนีไฟ มีบันไดหนีไฟถูกต้องตามกฎหมายกำหนด มีป้ายตั้งถังดับเพลิง และถังดับเพลิงที่หมั่นเช็คความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน รวมถึงมี ไซเรนมือหมุน สำหรับการส่งสัญญาณเตือนภัยแก่ประชาชนในระยะอย่างน้อย 500 เมตร เป็นต้น
  8. มีห่วงชูชีพหรือเสื้อชูชีพ ในนิคมอุตสาหกรรมที่ใกล้แหล่งน้ำ เพียงพอต่อสัดส่วนประชากร เพื่อลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตจากภัยทางน้ำ
  9. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในนิคมอุตสาหกรรม ควรสวมเสื้อจราจรสะท้อนแสงทับเครื่องแบบ เพื่อเป็นจุดสังเกต โดยเฉพาะการปฏิบัติงานในยามวิกาล หรือในช่วงที่ทัศนวิสัยไม่ดี และหากกรณีที่ฝนตก ควรสวมเสื้อกันฝนสีส้มสะท้อนแสง เพื่อเป็นจุดสังเกตที่เด่นชัด พกสปอตไลท์ไฟฉายหรือกระบองไฟกระพริบ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือตรวจตราความเรียบร้อยของผู้คนและสถานที่ในยามวิกาลได้เป็นอย่างดี

 

จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยและจราจรต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะช่วยเอื้อต่อการบริหารจัดการงานภายในนิคมอุตสาหกรรมให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติภัยในพื้นที่สาธารณะภายในนิคมฯ และช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของนิคมอุตสาหกรรมได้

ร้านไทยจราจรขอสนับสนุนการสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ ใส่ใจในความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของผู้ที่ทำงานและอาศัยในนิคมฯอย่างยั่งยืน หากท่านต้องการเสริมความปลอดภัยด้านการขับขี่และการจราจร ขอเชิญชมสินค้ามีคุณภาพของเราได้ที่ www.trafficthai.com 

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน