ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ กรวยจราจร

                                       หากพูดถึง กรวยจราจร ขึ้นมา เชื่อว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยเห็นเป็นแน่ กรวยจราจร มีรูปร่างลักษณะรูปทรงกรวยแหลม ทำจากพลาสติก ส่วนใหญ่จะมีสีส้มจัด และมีแถบสะท้อนแสงสีขาวหรือเหลืองเพื่อให้เห็นชัดในตอนกลางคืน สถานที่ที่เราพบกรวยจราจรบ่อย ๆ ก็เป็นบนท้องถนนที่มีการซ่อมแซมหรือปิดกั้นช่องทางเดินรถ กรวยจราจรถือเป็น ป้ายจราจร หรือ เครื่องหมายจราจร ประเภทหนึ่ง

 

 

      เราต่างก็เคยเห็นกรวยจราจร แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ที่มาว่ากรวยจราจรกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร ที่มาของกรวยจราจรเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยคนที่มีชื่อว่า Charles D. Scanlon คนนี้เป็นคนทาสีถนน เขาครุ่นคิดถึงสิ่งที่จะทำให้คนไม่เหยียบลงบนพื้นถนนที่เขาเพิ่งทาสียังไม่แห้ง โดยเขาได้ออกแบบกรวยที่ตั้งบนพื้นถนนได้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คนเห็นและสังเกตว่าบริเวณนั้นไม่ควรเดินผ่าน และเขาก็ทำสำเร็จเมื่อตั้งกรวยแล้วพบว่าคนส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงไม่เดินผ่านตรงจุดนั้น เขาจึงจดสิทธิบัตร กรวยจราจร เป็นครั้งแรกเมื่อ ปี 1943 

       หลังจากนั้นก็มีการพัฒนา กรวยจราจร ให้ใช้งานได้ครอบคลุมขึ้น มีการจดสิทธิบัตรเพิ่มเติม พัฒนารูปแบบจากเดิมที่กรวยจราจรมีฐานเพื่อให้ตั้งเหนือพื้นผิวที่ทาสีไม่แห้ง เป็นกรวยจราจรมีฐานสี่เหลี่ยมเพื่อให้ตั้งได้มั่นคงแข็งแรงขึ้น มีการพัฒนากรวยจราจรให้ใช้วัสดุที่ทนทานเมื่อต้องถูกชน กรวยสามารถคืนกลับมาในรูปร่างเดิมได้โดยไม่เสียหาย จนกลายเป็นกรวยจราจรแบบที่เราเห็นและใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้

 

 

      แม้เริ่มแรกกรวยจราจร มีที่มาจากการใช้เพื่อวางบนพื้นผิวถนนเพื่อเป็นที่สังเกตและหลีกเลี่ยงเส้นทางจากการทาสีที่ยังไม่แห้ง แต่ต่อมากรวยจราจรถูกนำไปใช้งานที่หลากหลายขึ้น โดยลักษณะการใช้งานกรวยจราจรส่วนใหญ่ที่เห็นจะเป็นบนถนน เพื่อกั้นช่องทางเดินรถ เพื่อปิดกั้นเส้นทาง ฯลฯ

  1. ตั้งกรวยจราจรไว้บนพื้นผิวถนนเพื่อให้ระมัดระวัง เป็นสัญลักษณ์เตือนว่ามีสิ่งกีดขวางอยู่บนถนน ให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วหรือหลีกเลี่ยงเส้นทาง
  2. ตั้ง กรวยจราจร เพื่อแบ่งช่องทางจราจร ไม่ให้มีการเปลี่ยนช่องทางจราจรให้บริเวณดังกล่าว ช่วยสร้างให้รถวิ่งบนถนนเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น เช่น ตั้งเป็นแนวไว้ตรงจุดกลับรถไประยะหนึ่ง เพื่อไม่ให้รถที่กลับเปลี่ยนช่องทางทันทีที่กลับรถ หรือ ตั้งไว้ตรงทางออกเพื่อให้รถที่เลี้ยวขวาออกต้องตรงไปในช่องทางระยะหนึ่งจึงค่อยเปลี่ยนช่องทาง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและลดปัญหารถติด
  3. ตั้งกรวยจราจรเพื่อล้อมรอบขอบเขต เช่น กรณีที่เกิดอุบัติรถยนต์ชนกัน ยังเคลียร์พื้นที่ไม่เรียบร้อย ตำรวจมักเอากรวยจราจรมาตั้งไว้ ณ จุดก่อนเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้รถที่ตามมาเลี่ยงช่องทางเดินรถ
  4. ตั้ง กรวยจราจร เพื่อให้ทราบว่าทางข้างหน้ามีการซ่อมแซมถนน เพื่อให้รถที่ขับมาชะลอและเปลี่ยนช่องทาง
  5. ตั้งกรวยจราจรสำหรับตำรวจตั้งด่านสกัดเส้นทาง เมื่อสังเกตเห็นกรวยจราจรรถก็จะชะลอและหยุดเพื่อให้ตรวจ
  6. ตั้งกรวยจราจรเพื่อปิดกั้นเส้นทาง สำหรับจุดที่ไม่ต้องการให้ผ่านเข้าไป เปรียบเหมือน ป้ายห้ามเข้า  ก็จะมีการตั้งกรวยเรียงไว้เพื่อปิดกั้นเส้นทาง เช่น เมื่อมีการปิดซอยหรือถนน ปิดทางเข้าที่จอดรถเมื่อยังไม่ถึงเวลาเปิด 

 

 

กรวยจราจรไม่เพียงใช้ในงานจราจรเหมือน ป้ายจราจร บนถนนเท่านั้น แต่ยังใช้ในเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น 

  1. ใช้ กรวยจราจร เดี่ยวตั้งไว้หน้าห้องน้ำสาธารณะเมื่อยังไม่เปิดให้ใช้บริการ หรือเมื่อมีการปิดเพื่อทำความสะอาด
  2. ใช้กรวยจราจรในการฝึกซ้อมกีฬาประเภทต่าง ๆ เช่น ฟุตบอล วิ่ง 
  3. ใช้กรวยจราจรในการฝึกซ้อมทหาร การเรียน รด. หรือการเข้าค่ายลูกเสือ

 

 

       กรวยจราจรผลิตจากพลาสติก สามารถแบ่งประเภทได้ตามชนิดของพลาสติกที่นำมาผลิต เพื่อให้มีคุณสมบัติที่ทนทานและเหมาะกับการใช้งานในสถานที่ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

  1. กรวยจราจร ผลิตจาก EVA มีคุณสมบัติ นิ่ม ยืดหยุ่น ทนต่อแสงแดดและ UV ได้ เป็นกรวยจราจรที่เป็นที่นิยมเนื่องจากยืดหยุ่นทำให้ไม่แตกหักเสียหายง่าย และราคาไม่แพง วัสดุ EVA ทำให้เลือกสีในการผลิตกรวยได้ และมีแถบคาดเพื่อให้มองเห็นตอนกลางคืนได้เช่นกัน
  2. กรวยจราจร ผลิตจาก PE ราคาไม่แพง แต่น้ำหนักเบา จึงนิยมทำฐานยางเพื่อถ่วงน้ำหนักเอาไว้ไม่ให้กรวยจราจรล้มคว่ำจากลมได้ง่าย
  3. กรวยจราจร ผลิตจาก PVC มีคุณสมบัติทนทาน แข็งแรง ทนต่อความร้อน และยืดหยุ่น ราคากรวยจราจรที่ผลิตจาก PVC จะค่อนข้างแพง เนื่องจากมีคุณภาพดีกว่าพลาสติกชนิดอื่น และมีสีที่สดกว่า กรวยจราจรที่ผลิตจาก PVC สามารถมีฐานยางด้านล่างเพื่อถ่วงน้ำหนักไม่ให้ล้มคว่ำง่าย
  4. กรวยจราจรแบบพับได้ กรวยจราจรประเภทนี้สามารถพกพาไปไหนได้สะดวก เมื่อพับแล้วมีขนาดเล็ก ไว้ใช้งานเมื่อยามจำเป็น
  5. กรวยจราจร ผลิตจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก เป็นกรวยจราจรที่ผลิตจากวัสดุใหม่ ผสมระหว่างพลาสติกและยางธรรมชาติในสัดส่วน 70:30 เพื่อให้มีคุณสมบัติยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้กรอบแตกหักยาก ทนทานต่อการพับงอ มีน้ำหนัก (ไม่เบาและทำให้ล้มง่าย) และยึดเกาะพื้นผิวได้ดีขึ้น กรวยจราจรประเภทนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาและวิจัยผลเพื่อให้คุ้มค่าสามารถนำไปใช้งานได้จริง และมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์

 

 

      นอกจากแบ่ง กรวยจราจร เป็นประเภทตามวัสดุที่ใช้ผลิตแล้ว กรวยจราจรยังมีหลายขนาดให้เลือกใช้ ขนาดมาตรฐานที่มีการผลิตออกวางจำหน่าย มีความสูง 30 ซม. 45 ซม. 70 ซม. 80 ซม. และ 90 ซม. โดยขนาดที่นิยมใช้ คือ 70 ซม. และ 80 ซม. สีส่วนใหญ่จะเป็นสีส้มจัด มีแถบคาดสีขาวหรือเหลืองเพื่อให้เห็นชัดตอนกลางคืน นอกจากสีส้มจัด กรวยจราจรยังมีสีฟ้า สีเขียว หรือสีชมพูให้เลือกซื้อหา กรณีบริษัทฯ หรือห้างร้านต้องการพิมพ์โลโก้หรือชื่อบริษัทฯ ลงบนกรวยจราจรก็สามารถทำได้เช่นกัน

เราทราบที่มาและประโยชน์ของ กรวยจราจร กันแล้ว แต่ก็ไม่ครบเครื่องหากไม่ทราบว่าควรวางกรวยจราจรอย่างไร เรามาเรียนรู้เรื่องนี้กันค่ะ

 

 

  1. หากรถเสียฉุกเฉินบนท้องถนน ให้เข็นรถเข้าชิดไหล่ทาง เปิดไฟฉุกเฉิน ถ้าให้แนะนำควรมีกรวยจราจรแบบพกพาติดรถไว้ นำมาวางด้านหลังห่างจากจุดจอดรถเสียไม่ต่ำกว่า 50 เมตร เพื่อทิ้งระยะให้รถด้านหลังที่ใช้ช่องทางสังเกตเห็นก่อน ชะลอ และเลี่ยงช่องทาง
  2. หากต้องการจอดรถที่ไหล่ทางเพื่อทำภารกิจและมีกรวยจราจรพกพาไว้จำนวนหนึ่ง หรือกรณีรถเสียฉุกเฉิน ควรวางกรวยไว้ข้างรถที่จอด ถัดไปด้านหลังให้วางกรวยค่อย ๆ ค่อนเข้ามาในช่องทางที่รถจอดอยู่ โดยหากวางกรวยถัดไปด้านหลังก็จะกันรถได้ในระยะที่ปลอดภัยที่ประมาณ 200 เมตร ทำให้จอดได้อย่างปลอดภัย
  3. การวาง กรวยจราจร ที่จุดตรวจสกัดของตำรวจ มีกฎระบุว่าควรตั้งด่านบริเวณถนนทางตรง ไม่ควรตั้งตรงเชิงสะพาน จุดเสี่ยงหรือทางโค้งต่าง ๆ กรวยที่ใช้ควรมีสีและแถบคาดให้เห็นชัดเจนได้ในตอนกลางคืน วางกรวยเรียงเป็นระยะด้านหน้าของจุดตรวจ และให้ตำรวจทุกนายอยู่ด้านหลังของกรวยเพื่อความปลอดภัย
  4. การวางกรวยเพื่อจองพื้นที่ หากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะเช่น ทางเท้า หรือถนนหน้าบ้าน แบบนี้ไม่สามารถทำได้ เพราะผิดกฎหมาย การวางกรวยจราจรสามารถทำได้ต้องเป็นพื้นที่ส่วนตัวเท่านั้น ใครที่เอากรวยจราจรมาวางบนถนนเพื่อกันที่จอดรถบริเวณหน้าบ้าน แบบนี้ไม่สามารถทำได้ ต้องระวังข้อกฎหมายด้วย

      นอกจากนี้ยังมีการวาง กรวยจราจร ในกรณีอื่น ๆ ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ปฏิบัติถูกต้อง เช่น กรณีรถพยาบาลหรือรถฉุกเฉินจำเป็นต้องจอดข้างทาง หรือ การวางกรวยเพื่อกำหนดเขตก่อสร้าง 

 

 

          เชื่อว่าเมื่อทุกท่านได้อ่านบทความนี้จะทราบว่ากรวยจราจรไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ที่ไกลตัวอีกต่อไป เราควรมีกรวยจราจรติดรถไว้ในยามฉุกเฉิน และสำหรับใครที่หาซื้อกรวยจราจรอยู่ แนะนำให้เลือกร้านที่มีประเภทของกรวยให้เลือกหลากหลาย เน้นกรวยจราจรคุณภาพดี แข็งแรงทนทาน มีอุปกรณ์เสริมให้เลือกเพื่อให้สะดวกในการนำไปใช้งาน ที่ร้านไทยจราจรของเราเป็นแหล่งรวมของกรวยจราจรที่หลากหลายมากที่สุดในประเทศไทย มีกรวยปกติทุกขนาด กรวยพับเก็บได้แบบพกพา กรวยสี่เหลี่ยม กรวยขนาดเล็ก มีบริการติดสติกเกอร์ชื่อหน่วยงานที่ทำได้ทันที มีอุปกรณ์เสริมใช้งานร่วมกับกรวย เช่น อุปกรณ์เพิ่มความสว่าง ท่อกั้น เทปกั้น ยางเพิ่มน้ำหนัก ไฟกระพริบ ลูกศร สามารถเข้าดูสินค้าได้ที่ https://trafficthai.com/

 

ที่มาข้อมูล :