10 เรื่องต้องรู้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในคลังสินค้า

                                    คลังสินค้าคือสถานที่สำหรับจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลัง เพื่อพักก่อนกระจายสินค้านั้นไปสู่โรงงานเพื่อผลิต หรือส่งจำหน่ายให้กับผู้กระจายสินค้าหรือลูกค้าต่อไป สำหรับผู้ผลิตรายย่อม ๆ คลังสินค้าอาจอยู่ในบริเวณเดียวกันกับโรงงาน แต่หากเป็นผู้ผลิตรายใหญ่มีวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลังจำนวนมาก ๆ ก็อาจสร้างคลังสินค้าแยกออกมาเพื่อเก็บสต็อกสินค้าอย่างเดียวก็ได้

          การบริหารจัดการคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการได้เป็นอย่างดี คลังสินค้ามีหลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าสินค้าที่จัดเก็บนั้นเป็นประเภทไหน มีลักษณะอย่างไร หรือต้องควบคุมเรื่องใดบ้างเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้านั้นให้อยู่ในสภาพดีและพร้อมเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือนำส่งลูกค้าต่อไป คลังสินค้าสำหรับเก็บสินค้าทั่วไปส่วนใหญ่มิดชิด มีรั้วหรือกำแพงกั้น คลังสินค้าบางแห่งต้องมีเครื่องติดตั้งเพื่อควบคุมอุณหภูมิหรือความเย็น หากสินค้าไม่เกิดความเสียหายจากสภาพอากาศก็สามารถจัดเก็บในคลังสินค้าทีมีเพียงหลังคา แต่ไม่ต้องมีกำแพงมิดชิดก็ได้

 

 

       ไม่ว่าจะเป็นคลังสินค้ารูปแบบใด หรือมีลักษณะแบบใด สิ่งสำคัญในการออกแบบคลังสินค้าคือเรื่องของความปลอดภัยที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงเป็นลำดับแรก หากคลังสินค้าถูกออกแบบมาไม่ปลอดภัย ไม่มีถังดับเพลิง ป้ายเตือน หรือ สัญญาณไฟจราจร ก็จะทำให้เกิดความเสียหายกับสินค้าที่จัดเก็บ อุปกรณ์ เครื่องจักรต่าง ๆ รวมถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานภายในคลังสินค้านั้น ๆ ก็อาจเกิดอันตราย เจ็บป่วย หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

วันนี้เราเลยจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องของความปลอดภัยของคลังสินค้า 10 ข้อที่ต้องรู้ มีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ

 

    1. จัดเก็บสินค้าให้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ลองนึกภาพสินค้ากองรวมกันเป็นพะเนิน ไม่ได้แยกประเภทและไม่มีความเป็นระเบียบ แบบนั้นเราไม่น่าจะเรียกว่าเป็นคลังสินค้าได้เลย คลังสินค้าที่ดี ต้องมีการแยกประเภทของสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ ตามประเภท ตามขนาด ที่สำคัญต้องมีการจัดวางเรียงอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้สามารถหยิบ ยก เคลื่อนย้ายได้สะดวก นอกจากนั้นหลักการจัดวางเรียงสินค้าต้องปฏิบัติตามถูกต้อง เช่น ของที่มีน้ำหนักมากควรวางด้านล่าง ไม่วางซ้อนทับของที่มีน้ำหนักเบากว่า ต้องมีการติดตั้งป้ายบอกสินค้าว่าชั้นนี้เป็นสินค้าประเภทไหน มีรายละเอียดของสินค้าอะไรบ้าง เลขที่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ สถานการณ์ตรวจเช็คสินค้า ณ วันที่เท่าไหร่ 

 

 

  • มีอุปกรณ์ช่วยขนย้ายภายในคลังสินค้าที่เพียงพอ ส่วนใหญ่คลังสินค้าจะมีหลังคาสูง เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่แนวตั้งในการจัดเรียงสินค้าขึ้นไปได้จำนวนมาก ๆ เป็นการประหยัดพื้นที่ ทำให้ต้องมีอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บและขนย้าย เช่น รถยกโฟล์กลิฟท์ บันได ฯลฯ อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมีเพียงพอ ต้องมีการดูแลซ่อมแซมให้พร้อมใช้งานอย่างปลอดภัยอยู่เสมอ ที่สำคัญคือต้องมีการอบรมให้พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้อย่างถูกวิธี กรณีรถโฟล์กลิฟท์ปฏิบัติงานอยู่ ผู้ขับขี่ต้องระมัดระวังทั้งสินค้าและพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยติดตั้ง ป้ายเตือน หรือ สัญญาณไฟจราจร
  • จัดวางสินค้าบนพาเลท แท่นสำหรับรองเพื่อจัดวางสินค้าในคลังสินค้าเป็นอุปกรณ์สำคัญ มีประโยชน์หลายอย่าง หนึ่งเป็นการจัดวางสินค้าให้สูงกว่าระดับพื้นเพื่อป้องกันกรณีน้ำท่วมหรือพื้นชื้นแฉะ และมีประโยชน์ในการช่วยเรื่องของการขนย้าย จัดวางสินค้าในคลังสินค้าได้ทีละจำนวนมาก ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและขนส่งสินค้า โดยพาเลทควรอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ไม่ชำรุด หากชำรุดควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติระหว่างขนย้าย

 

 

  • ติดตั้ง ป้ายเตือน ภายในคลังสินค้า ภายในคลังสินค้าควรมีป้ายติดเพื่อเตือนตามจุดต่าง ๆ ป้ายที่ใช้ในคลังสินค้าที่เห็นกันบ่อย ๆ ก็จะมี 
  • ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ทุกคลังสินค้าจะต้องมีป้ายนี้ เพราะหากสูบบุหรี่แล้วทิ้งไม่เป็นที่ มีโอกาสเกิดเพลิงสร้างความเสียหายได้ หรือกรณีคลังสินค้ามีเชื้อเพลิงอันตราย หากเกิดเปลวไฟก็พร้อมเกิดเหตุระเบิดได้ 
  • ป้ายระวังสารเคมี เป็น ป้ายเตือน ว่าบริเวณนั้นเป็นที่เก็บสารเคมีอันตราย หากไม่เกี่ยวข้องไม่ควรอยู่ในบริเวณดังกล่าว หรือหากจำเป็นต้องอยู่ก็ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น แว่นตา ผ้าปิดจมูก ถุงมือ ฯลฯ ระดับ ป้ายเตือน เรื่องสารเคมี ขึ้นอยู่กับอันตรายของวัตถุที่จัดเก็บ กรณีเป็นสารกัมมันตภาพรังสี ก็ให้ใช้ป้ายเตือนที่บอกชัดเจนว่า ระวังอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี หรือ ระวังอันตรายจากสารกัดกร่อน หรือ ระวังอันตรายจากเปลวไฟ

 

 

  • ป้ายระวังพื้นลื่น บริเวณคลังสินค้าที่อาจมีความชื้น พื้นลื่น หรือมีน้ำขัง ควรมีป้ายวางเตือนไว้ เพื่อให้คนที่เดินผ่านบริเวณนั้นใช้ความระมัดระวัง รวมถึงพนักงานที่ปฏิบัติบริเวณที่พื้นลื่นควรสวมใส่อุปกรณ์เช่นรองเท้าบู๊ต
  • ป้ายห้ามเข้า มีความจำเป็นต้องติดตั้งป้ายห้ามเข้าในบริเวณที่ไม่ต้องการให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณดังกล่าว เพราะอาจปฏิบัติตนไม่ถูกต้องและเกิดอันตรายได้ หรือระบุบนป้ายว่า เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

 

 

       ป้ายเตือน มีประโยชน์โดยเตือนเรื่องความปลอดภัย ส่วนใหญ่เราทราบดีอยู่แล้วว่าทำงานในคลังสินค้าต้องระมัดระวัง แต่เราอาจไม่ได้เดินไปทั่วทุกบริเวณ ถ้ามีป้ายเหล่านี้ติดคอยเตือน ก็เหมือนคอยย้ำ พอใครเห็นก็ต้องระวังไม่กล้าที่จะไม่ปฏิบัติตามเพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งตัวเองและส่วนรวม

                             แม้ป้ายจะไม่ได้เป็นอุปกรณ์หลักของคลังสินค้า แต่ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญเหมือนกับ สัญญาณไฟจราจร ที่มีส่วนช่วยให้การบริหารจัดการคลังสินค้านั้น ๆ มีความปลอดภัยไม่เกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นได้ ผู้ประกอบการคลังสินค้าจึงไม่ควรมองข้าม และจัดการติดตั้งป้ายต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยสามารถจัดซื้อจัดจ้างทำป้ายต่าง ๆ เหล่านี้จากผู้ผลิตที่ดี เพื่อให้ได้ป้ายที่มีคุณภาพ สามารถติดตั้งได้นาน ไม่เกิดความเสียหายหรือต้องซ่อมแซมบ่อย ๆ

 

 

  1. ติดตั้งกล้องวงจรปิด อุปกรณ์ความปลอดภัยสำคัญอีกชิ้นที่จะขาดไม่ได้สำหรับคลังสินค้า คือ กล้องวงจรปิด โดยต้องติดตั้งตามจุดต่าง ๆ อย่างเพียงพอ เพื่อเป็นการตรวจเช็คความปลอดภัยได้แบบ 360 องศา ตลอด 24 ชั่วโมง กล้องวงจรปิดไม่ควรติดตั้งไว้เพื่อให้มีเฉย ๆ แต่ต้องใช้งานได้จริง  
  2. มี รปภ.ดูแลความปลอดภัย 24 ชั่วโมง เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคลังสินค้าที่ต้องมีการดูแลความปลอดภัยแบบ 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการโจรกรรมสินค้า ป้องกันเพลิงไหม้ ป้องกันเหตุด่วนเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับคลังสินค้าของเราได้ตลอดเวลา รปภ. ต้องมีความรู้ในการใช้ ถังดับเพลิง และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอื่น ๆ 
  3. ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจเช็คความปลอดภัย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายในคลังสินค้า ผู้ประกอบการควรติดตั้งอุปกรณ์ตรวจเช็คความปลอดภัย เช่น เครื่องตรวจจับความร้อน เครื่องตรวจจับอุณหภูมิ เครื่องตรวจจับควันไฟ เครื่องวัดความชื้น และติดสัญญาณเตือนภัยหากเครื่องต่าง ๆ เหล่านี้ตรวจจับเจอสิ่งที่ไม่ปกติเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตือน เฝ้าระวัง ทำให้แก้ไขเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ทันท่วงที

  4. ติดตั้ง ถังดับเพลิง ถังดับเพลิงขาดไม่ได้ในคลังสินค้า แม้จะพยายามป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายหรือเพลิงไหม้ใด ๆ แต่หากเกิดขึ้นควรมีอุปกรณ์ที่แก้ไขเหตุการณ์หรือลดความรุนแรงของเหตุการณ์ได้ทันท่วงนี้ นั่นก็ถือ ถังดับเพลิง ควรติดตั้งถังดับเพลิงที่เพียงพอในแต่ละจุด โดยสำรวจจากขนาดและพื้นที่ของคลังสินค้า ถังดับเพลิงต้องมีคุณภาพดี มีการอบรมพนักงานให้ทราบวิธีการใช้ ถังดับเพลิง หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น
  5. อบรมพนักงานที่ปฏิบัติงานในคลังสินค้า พนักงานทุกคนที่ปฏิบัติงานในคลังสินค้าต้องได้รับการอบรมเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ อย่างถูกต้องและปลอดภัย การอบรมต้องจัดทำอย่างสม่ำเสมอ พนักงานใหม่ทุกคนต้องได้รับการอบรมก่อนปฏิบัติงาน พนักงานเก่าต้องได้รับการอบรมเพื่อย้ำเตือนเป็นระยะ ๆ เช่น ทุก 3 เดือน หรือ 6 เดือน เพื่อให้รับมือกับเรื่องฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้
    Upload Image...

  6. ห้ามสิ่งเสพติดและของมึนเมา พนักงานทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในคลังสินค้าต้องไม่เสพยาหรือของมึนเมาทุกชนิด ต้องมีการกำหนดโทษอย่างรุนแรงเพื่อไม่ให้เกิดขึ้น ยาเสพติดของมึนเมาทำให้ขาดสติ แม้อบรมมีความรู้มาเป็นอย่างดี แต่มึนเมาขาดสติหรือคึกคนองก็เป็นเหตุให้เกิดภัยอันตรายในคลังสินค้าได้

                             การบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดี ไม่ได้อยู่ที่เรื่องการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว แต่เรื่องความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญ อุปกรณ์หรือ ป้ายเตือน เรื่องความปลอดภัย แม้ต้องมีทำให้ค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่า หากคลังสินค้าของเราปลอดภัยนั่นสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและทำให้ผู้ประกอบการมีผลกำไรในระยะยาวได้

 

ที่มาข้อมูล : 

Upload Image...