เรื่องที่ต้องรู้ก่อนทำ ที่จอดรถจักรยานยนต์ ในอาคาร

                                   การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารสำนักงาน สิ่งจำเป็นหนึ่งอย่างที่จะขาดไปไม่ได้ ก็คือเรื่องของที่จอดรถ ภายในอาคาร ต้องมีการวางแผนส่วนพื้นที่เป็น ที่จอดรถ สำหรับผู้อยู่อาศัยเองและผู้ที่ต้องการมาติดต่อธุระ …. ที่จอดรถภายในอาคารประเภทต่าง ๆ มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องปฏิบัติเช่นไร การก่อสร้างอาคารจึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของที่จอดรถ

       อย่างกฎหมายเรื่อง ที่จอดรถ สำหรับคอนโด ก็มีกำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 และ พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 โดยกำหนดไว้เรื่องจำนวนที่จอดรถพิจารณาแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

 

 

 

  1. คำนวณจากพื้นที่ใช้สอย ถ้าเป็นในเขตกรุงเทพมหานคร ห้องที่มีพื้นที่ 60 ตร.ม.ขึ้นไป ต้องมีที่จอดรถ 1 คันต่อ 1 ห้อง สำหรับเขตนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร ห้องที่มีพื้นที่ 60 ตร.ม.ขึ้นไป ต้องมีที่จอดรถ 1 คันต่อ 2 ห้อง
  2. คำนวณตามขนาดของอาคาร  สำหรับอาคารที่มีพื้นที่ก่อสร้างเกินกว่า 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป และสูง 15 ขึ้นไป รวมถึงอาคารที่มีพื้นที่ก่อสร้างเกินกว่า 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป จะคำนวณโดยถ้าเป็นพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องมีพื้นที่สำหรับ ที่จอดรถ 1 คันต่อทุกพื้นที่ก่อสร้าง 120 ตร.ม. ส่วนพื้นที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องมีพื้นที่สำหรับที่จอดรถ  1 คันต่อทุกพื้นที่ก่อสร้าง 240 ตร.ม.

 

 

 

       นอกจากพื้นที่ของอาคารสำหรับทำ ที่จอดรถ แล้ว กฎหมายยังกำหนดขนาดและรูปแบบของที่จอดรถไว้ด้วย โดยให้ที่จอดรถ 1 คัน ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 2.4 x 5 เมตร มีการกำหนดทางสำหรับรถวิ่งควบคู่ไปกับความเอียงของช่องที่จอดรถ เช่น ถ้าจอดขนานเอียงไม่เกิน 30 องศา ต้องมีทางถนนให้รถวิ่งไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร ถ้าจอดขนานเอียง 60-90 องศา ต้องมีทางถนนให้รถวิ่งไม่น้อยกว่า 6 เมตร เป็นต้น

 

       อย่างไรก็ตาม อาคารประเภทคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ติดปัญหาเรื่องพื้นที่กันเป็นที่จอดรถว่าจะไม่ได้ % ตามที่กฎหมายกำหนด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จึงแก้ปัญหาด้วยหลายวิธี เช่น สร้างที่จอดรถอัตโนมัติ สร้าง ที่จอดรถ ชั่วคราว กันที่จอดรถของโครงการเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ให้จอดรถแบบซ้อนคัน ฯลฯ

 

 

 

 

      ที่กล่าวถึงไปข้างต้น จะเป็นเรื่องของที่จอดรถยนต์ในอาคารที่จะมีการกำหนดเป็นกฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างชัดแจ้งเป็นแนวทางให้ปฏิบัติตาม แต่ถ้าเป็น ที่จอดรถจักรยานยนต์ คงมีคำถามว่ามีเรื่องอะไรที่ต้องรู้ก่อนบ้าง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กัน

      อัตราการใช้มอเตอร์ไซค์ เป็นยานพาหนะสำหรับเดินทางในกรุงเทพมหานครถือว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก เนื่องจากปัญหารถติด ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ฯลฯ ดังนั้นมอเตอร์ไซค์เป็นการคมนาคมที่ช่วยประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและคมนาคมในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครของเราได้ดีทีเดียว

      การออกแบบอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ หรืออาคารที่พักสำหรับอาศัย โดยให้มีที่จอดรถสำหรับมอเตอร์ไซค์ด้วยจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผู้พักอาศัย และผู้ที่ต้องการเดินทางมาเพื่อติดต่อธุรกิจ

 

 

 

 

          สำหรับข้อที่ควรรู้เรื่อง ที่จอดรถจักรยานยนต์ ในอาคารเพื่อผู้ประกอบการจะได้วางแผนการก่อสร้าง ตระเตรียมพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีดังนี้

  • ช่อง ที่จอดจักรยานยนต์ ควรแยกจากช่องที่จอดรถประเภทอื่น สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ ช่องสำหรับกันเป็นที่จอดรถมอเตอร์ไซค์นั้น ควรแยกจากช่องที่จอดรถประเภทอื่น มิเช่นนั้นจะเป็นการใช้พื้นที่จอดรถอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หากอาคารไม่มีพื้นที่สำหรับที่จอดรถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์อาจต้องอาศัยจอดในช่องที่จอดรถยนต์ ทำให้เสียพื้นที่สำหรับรถยนต์ที่ต้องการเข้ามาจอด 
  • ขนาดช่อง ที่จอดรถจักรยานยนต์ สำหรับขนาดช่องที่จอดรถมอเตอร์ไซค์นั้น มีระเบียบกำหนดไว้ว่า ช่องจอดที่ถูกต้องควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 1 x 2 เมตร จะพอดีกับมอเตอร์ไซด์ 1 คัน ส่วนทางวิ่งภายในอาคารจอดรถ หากมีพื้นที่แยกจากส่วนของรถยนต์ ควรมีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร เพื่อให้รถวิ่งได้หลวม ๆ แบบไม่ต้องระวังว่าจะเกิดอุบัติเหตุ
  • มีช่องทางเข้าออกแยกจากรถประเภทอื่น ควรออกแบบให้อาคารมีทางเข้า-ออกของรถจักรยานยนต์แยกจากทางเข้าออกของรถยนต์ถ้าเป็นไปได้ การรับบัตรเข้า-ออก การติดตั้งไม้กระดก ถ้าแยกจากกันจะช่วยลด ปัญหารถติด ภายในอาคาร อีกทั้งยังเป็นหนึ่งใน วิธีลดอุบัติเหตุ ได้ด้วย 

 

 

 

  • พื้น ที่จอดรถจักรยานยนต์ ที่เพียงพอ ควรออกแบบอาคารให้มีพื้นที่สำหรับจอดรถจักรยานยนต์ที่เพียงพอ โดยต้องวางแผน ติดตาม ประเมินว่าจำนวนของรถจักรยานยนต์ที่จอดในแต่ละวันมีมากน้อยแค่ไหน รวมถึงความถี่ในการเข้าออก เพื่อวางแผนจัดสรรพื้นที่ในอาคารให้เพียงพอ ไม่มีการจอดรถแบบออกัน ข้ามไปจอดในพื้นที่ห้ามจอด หรือจอดรถซ้อนคัน ปกติรถจักรยานยนต์จะล็อคคอไว้ จอดขวางทางรถคันอื่นก็ยากที่จะเคลื่อนย้าย หรือเจ้าของรถไม่สะดวกให้สัมผัสหรือเคลื่อนย้ายรถของตนเอง ก็เป็นปัญหากันได้
  • พื้นที่สำหรับวงเลี้ยว บางอาคารที่มีพื้นที่จำกัดแม้จะพยายามกันพื้นที่เป็น ที่จอดรถจักรยานยนต์ ไว้บ้างแล้ว มีทางรถวิ่งที่สะดวก แต่มีพื้นที่สำหรับวงเลี้ยวค่อนข้างแคบมาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะถ้าเป็นอาคารสูงหลาย ๆ ชั้น ดังนั้นควรออกแบบอาคารให้มีพื้นที่สำหรับวงเลี้ยวรถจักรยานยนต์ที่เพียงพอด้วย พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์ไม่ควรกำหนดให้อยู่สูงนัก ควรอยู่ชั้น G หรือชั้นล่าง ไม่เกินชั้น 1-2

 

 

  • พื้นที่จอดสำหรับบิ๊กไบค์ สมัยนี้จักรยานยนต์มีแบบที่ขนาดใหญ่ขึ้นอย่างเช่นบิ๊กไบค์ ควรออกแบบอาคารให้มีพื้นที่สำหรับจอดรถประเภทนี้ด้วย 
  • ติดป้ายจราจรไว้เตือนอย่างชัดเจน การขับขี่ภายในอาคารที่จอดรถมีข้อควรระวัง เนื่องจากมีการหยุดชะลอเพื่อเข้าช่องที่จอดรถ ต้องมีการขับรถสวนทางกันเพื่อเข้าออก ฯลฯ ดังนั้นในอาคารที่จอดรถ ควรติดป้ายจราจรไว้ตามจุดต่าง ๆ ให้เห็นชัดเจน ตัวอย่างป้ายจราจรที่ควรติดในอาคาร ที่จอดรถ เช่น ป้ายทางเข้าอาคารจอดรถ ป้ายระบุที่จอดรถมอเตอร์ไซค์ ป้ายระบุที่จอดรถยนต์เท่านั้น ป้ายทางออก ป้ายทางขึ้น ป้ายทางลง ถ้ามีทางออกหลายทาง ควรติดป้ายระบุว่าทางออกนี้ไปถนนอะไร ป้ายระบุที่จอดรถสำหรับผู้มาติดต่อ ป้ายห้ามจอดรถตลอดแนว ป้าย Lady Parking Zone เป็นต้น ป้ายจราจร หรือ เครื่องหมายจราจร ควรจัดซื้อจากร้านที่มีป้ายหลากหลายให้เลือกแบบครบครัน อย่างร้านไทยจราจร เราใช้วัสดุคุณภาพดี มีความทนทานและคุ้มค่า การออกแบบป้ายและเครื่องหมายมีขนาดได้ตามมาตรฐาน มีบริการดูหน้างาน มีประสบการณ์เรื่องงานจราจร คำนวณงบประมาณให้ได้

 

 

  • ติดกระจกตรงทางขึ้นลง บริเวณที่รถสวนกันได้และเป็นทางขึ้นลง ควรติดกระจกโค้งจราจรไว้ เพราะเป็นจุดที่เกิดอันตรายได้ง่ายและเกิดได้บ่อย หากมีรถสวนมามองเห็นในกระจกจะได้ชะลอความเร็ว ช่วยให้ขับขี่ภายในอาคารอย่างปลอดภัย
  • ติดไฟส่องสว่างให้เพียงพอ ควรออกแบบติดตั้งไฟในจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร ที่จอดรถ ให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ โดยเฉพาะอาคารจอดรถที่มีลักษณะมืดหรือทึบไม่มีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ส่องถึง ควรมีไฟส่องสว่างเป็นระยะตลอดเส้นทาง เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุได้
  • ทำขอบกั้นช่องจอดรถจักรยานยนต์ให้มีความสูงที่เหมาะสม ขอบกั้นช่องจอดรถควรกำหนดให้ความสูงเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตราย หากทำเตี้ย ๆ มีโอกาสที่รถจอดไม่สนิทจะพุ่งข้ามขอบไปได้ เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่

 

 

 

     กฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ของอาคาร ที่จอดรถ จะระบุไว้แต่เฉพาะเรื่องของที่จอดรถยนต์ ไม่ได้ระบุถึง ที่จอดรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตาม มีแนวปฏิบัติสำหรับผู้ก่อสร้างอาคารไว้ตามที่กล่าวข้างต้น หากปฏิบัติตามนี้ก็จะช่วยเรื่องความปลอดภัยได้มาก ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ใช้ยานพาหนะประเภทรถจักรยานยนต์ที่ต้องการมาจอดรถเพื่อติดต่ออาคารนั้น ๆ และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่เราเห็นมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น ในกระทู้พันทิปที่มีหัวข้อว่า “ลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ตามห้างทำไมไม่ทำช่องให้มันกว้างกว่านี้ครับ” หรือ “ทำไมบิ๊กไบค์จอดทับพื้นที่จอดรถยนต์แบบนี้” รวมถึงช่วยลดปัญหาการจอดรถจักรยานยนต์ผิดระเบียบ อย่างจอดรถบนทางเท้า จอดรถในที่ห้ามจอด จอดรถตรงช่องจอดรถยนต์ เป็นต้น

 

                      อย่าลืมนะคะ หากกำลังออกแบบอาคารและ ที่จอดรถจักรยานยนต์ อยู่ ให้หลีกเลี่ยงเลยค่ะ ที่จะไม่ทำพื้นที่จอดรถมอเตอร์ไซด์แยกจากบิ๊กไบค์หรือรถยนต์ ติดไฟส่องสว่างแค่บางจุดซึ่งไม่เพียงพอ ทำขนาดช่องจอดรถแบบพอดีไม่เผื่อพื้นที่ ลืมนึกถึงการติดป้ายเตือนจราจร ไม่ตีเส้นขอบหรือทำขอบกั้นใด ๆ ไว้เลย เพราะการออกแบบอาคารรวมถึง ที่จอดรถ สำหรับรถทุกประเภทต้องคำนึงถึงความสะดวก ความมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญที่ความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ ซึ่งอุปกรณ์สำหรับที่จอดรถ สามารถเข้าเลือกซื้อได้ที่เว็บไทยจราจร https://trafficthai.com/ เรามีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาสำหรับการวางแผนการสร้างที่จอดรถ

 

ที่มาข้อมูล :