บทบาทหน้าที่ของ ฝ่ายอาคารสถานที่ จป. กับการบริหาร ป้ายจราจร และความปลอดภัย

              อาคารสถานที่ หมายถึง สิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในและภายนอกตัวอาคารและบริเวณโดยรอบ เช่น ตัวอาคาร ถนน ที่จอดรถ สนามหญ้า เป็นต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพปกติและมีความปลอดภัยจากภยันตรายใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งฝ่ายอาคารสถานที่และหน่วยงานความปลอดภัย เพื่อดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยทั้งหมด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรตลอดจนการวางแผนป้องกัน ตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัยและจัดซื้อให้เพียงพอต่อความต้องการหรืออย่างน้อยก็เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 

งานความปลอดภัยและการจราจร

 

 

 

               ฝ่ายอาคารสถานที่จะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เพื่อหารือและประเมินความเสี่ยงความปลอดภัยของทุกพื้นที่ไม่เว้นแม้แต่การจราจรภายในอาคารสถานที่นั้น โดยจะต้องเริ่มจากประตูทางเข้า เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นทั้งจากบุคคลภายในและภายนอก หากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีป้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ควรรีบจัดหา ป้อมจราจร พร้อมกับ ไม้กั้นหรือ แผงยืดหด เนินชะลอความเร็ว เพื่อใช้ปิดกั้นรถหรือบุคคลในการผ่านเข้าออกพื้นที่ พร้อมกับติดตั้งป้ายห้ามหรือป้ายเตือนต่าง ๆ ไว้ เช่น ป้ายหยุด เป็นต้น พร้อมกับบันทึกบุคคลภายนอกที่เข้าออกพื้นที่ทั้งหมด เป็นต้น หากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทำการประเมินความเสี่ยงพื้นที่ทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปจะเป็นในส่วนของการจัดซื้ออุปกรณ์ความปลอดภัยและ ป้ายจราจร (หากจำเป็น) เพื่อติดตั้งภายในบริเวณอาคาร ถนน ที่จอดรถ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

 

 

 

 

อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นต่ออาคารสถานที่ตามที่กฎหมายกำหนด

                    อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้ประกอบกิจการเป็นสถานบริการตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนดตามขนาดของพื้นที่ที่ให้บริการ เช่น การติดตั้งระบบดับเพลิงซึ่งสถานบริการประเภท ค มีพื้นที่โดยรวม 500 ตารางเมตร ที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปหรือสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป จะต้องมีระบบป้องกันเพลิงไหม้ระบบท่อยืน ตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิง ที่เก็บน้ำสำรองและหัวรับน้ำดับเพลิง 

          ในขณะที่อาคารขนาดใหญ่สถานบริการประเภท ง มีพื้นที่โดยรวม 200 – 500 ตารางเมตร จะต้องได้รับการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เสียงสัญญาณเตือน เพื่อให้หนีไฟ อุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัติ smoke detector และอุปกรณ์แจ้งเหตุ รวมถึง ถังดับเพลิง แบบยกหิ้วตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1 ถัง ต่อพื้นที่ บริการไม่เกิน 200 ตารางเมตรแต่ต้องไม่น้อยกว่าชั้นละ 2 เครื่อง การกำหนดทางออก ป้ายหนีไฟ ตัวป้ายจะต้องเรืองแสงหรือมองเห็นในที่มืดได้อย่างชัดเจน ไฟฉุกเฉิน คือ อุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างภายในตัวอาคาร จะทำงานเมื่อระบบไฟฟ้าภายในตัวอาคารดับลงและไฟฉุกเฉินจะต้องสว่างขึ้นในทันที โดยอาศัยการทำงานจากแบตเตอรี่ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่ทุกบ้าน บริษัท อาคารสถานที่ต่าง ๆ ควรมี และต้องส่องสว่างไม่น้อยกว่า 120 นาที ภายหลังจากเกิดไฟดับ การติดตั้ง ไฟเตือน ไฟไซเรน ไฟฉุกเฉินจะต้องติดตั้งบริเวณทางออกประตูหนีไฟ เพื่อที่จะได้มองเห็นและช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยในขณะทำการอพยพได้ 

 

 

 

          หากบริษัท ห้างร้านมีพื้นที่ขนาดใหญ่และเข้าข่ายที่ต้องจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องจัดทีมกู้ภัยและทีมงานดับเพลิงเบื้องต้น เพื่อให้การช่วยเหลือในกรณีที่ต้องประสบเพลิงไหม้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไปไม่ถึงและจัดอบรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมกับตรวจเช็กอุปกรณ์ความปลอดภัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำดับเพลิง สายส่งน้ำดับเพลิง ถังดับเพลิง เพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับในสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้น โดยจะต้องจัดการตรวจเช็กอุปกรณ์ความปลอดภัยตามความถี่ที่เหมาะสม เช่น ถังดับเพลิง ประเภท CO2 ควรทำการชั่งน้ำหนักและตรวจเช็กสัปดาห์ละ1ครั้ง ในส่วนของไฟฉุกเฉิน ควรทำการปล่อยประจุไฟด้วยการถอดปลั๊ก เพื่อดูประสิทธิภาพของการส่องสว่างว่าอยู่ได้ถึง 2 ชั่วโมงตามที่กำหนดหรือไม่ หากไม่ควรทำการปรับปรุง แก้ไข ในลำดับต่อไป

 

 

งานจราจรและความปลอดภัย

                งานจราจรเป็นอีกหนึ่งงานที่ฝ่ายอาคารสถานที่จะต้องดูแลและให้ความสำคัญ อย่างน้อยเพื่อสร้างระเบียบวินัยจราจรภายในองค์กรและเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ บนท้องถนนได้ โดยเฉพาะ โรงงานขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ที่มี ที่จอดรถ ภายในอาคารและนอกอาคาร จะต้องได้รับการติดตั้งป้ายเตือน ป้ายห้ามต่าง ๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ โดย ป้ายจราจร ที่สำคัญและพบเห็นได้บ่อยมีดังนี้

  • ป้ายหยุดตรวจ หรือ STOP มีทั้งเป็นป้ายปกติ ป้ายติดกับแผงกั้น มีไฟกะพริบหรือไฟหมุน เพื่อผู้ขับขี่จะได้มองเห็นทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจด้วย

 

 

  • กรวยจราจร มีหลายแบบให้เลือก ส่วนใหญ่นำมากั้นหรือใช้บังคับให้รถขับเข้าช่องทางที่กำหนด 
  • ป้ายห้ามเข้า เป็นป้ายบังคับ ให้รถทุกคันห้ามเข้าในบริเวณดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นเส้นทางเดินรถได้ทางเดียวหรือ One Way 
  • ป้ายห้ามเลี้ยว ป้ายบังคับทิศทางห้ามให้ผู้ขับขี่เลี้ยวไปในทิศทางดังกล่าว เช่น ห้ามเลี้ยวขวา ผู้ก็ขี่ก็ต้องห้ามขับรถเลี้ยวไปทางขวา 
  • ป้ายห้ามแซง ใช้ในกรณีที่ช่องทางเดินรถมีแค่ 2 เลน เพื่อป้องกันรถสวนเลนจึงห้ามรถทุกคันขับแซง เพื่อป้องกันอันตราย โดยอาจมีรถหรือคนออกมาโดยไม่คาดคิด บนพื้นถนนก็จะมีเส้นจราจร เส้นทึบ สีขาว กำกับเอาไว้ด้วย
  • ป้ายห้ามจอด ส่วนใหญ่จะได้รับการติดตั้งบริเวณหน้าสถานที่สำคัญ ๆ เพื่อป้องกันรถจอดกีดขวางการจราจร เช่น หน้าโรงเรียน, โรงงาน, บริษัท ที่มักจะเป็นทางเข้า-ออก ของสถานที่นั้น ๆ โดยอาจใช้ร่วมกับ กรวยจราจร

 

 

  • ป้ายจำกัดความสูง เป็นป้ายเตือนที่บอกให้รถทุกคันระมัดระวังว่าทางข้างหน้าหรือบริเวณดังกล่าวจำกัดความสูงให้รถที่ต่ำกว่าผ่านไปได้ หากรถที่สูงกว่าจะไม่สามารถผ่านได้ ส่วนใหญ่จะได้รับการติดตั้งบริเวณทางเข้า ที่จอดรถ ในห้างสรรพสินค้า, อาคารโกดัง คลังสินค้า สะพานลอยหรือทางกลับรถใต้สะพาน เป็นต้น
  • ป้ายเตือนทางโค้ง เป็นป้ายที่ได้รับการติดตั้งก่อนถึงทางโค้ง เพื่อเตือนให้รถทุกคันชะลอตัวเพราะข้างหน้าจะเป็นทางโค้ง ซึ่งไม่มีใครคาดเดาได้ว่าทางโค้งจะมาก จะน้อยเพียงใด ดังนั้น ควรชะลอความเร็วเพื่อความปลอดภัยดีกว่า
  • ป้ายเตือนโรงเรียนหรือระวังโรงเรียน สำหรับรถที่พบป้ายดังกล่าวควรชะลอความเร็วลงและขับขี่ด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะข้างหน้าจะมีโรงเรียน ซึ่งบนถนนก็จะมีตัวหนังสือกำกับให้ขับช้า ๆ ระวังโรงเรียน 

 

 

ที่จอดรถ

           นอกจากงาน ป้ายจราจร และความปลอดภัยบนอาคารสำนักงาน หน่วยงานความปลอดภัยจะต้องดูแลในส่วนของ ที่จอดรถ ด้วย เพื่อให้เจ้าของรถจอดรถให้เป็นระเบียบวินัย เช่น ที่จอดรถจักรยานยนต์ ที่มักมีปัญหาเฉี่ยวชนกันเกิดขึ้น โดยเฉพาะบริเวณทางเข้าและทางออก ส่วนใหญ่จะทำใกล้กันหรือใช้เป็นทางเดียวกัน เมื่อมีรถจำนวนมากอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและเสียเวลาได้ ดังนั้น ควรแยกทางเข้าออกให้ห่างกันหรือเข้าออกกันคนละทาง บริเวณทางเข้าออก ควรกำหนดขนาดความกว้างให้รถสามารถเข้าออกได้ทีละคัน เพื่อความเป็นระเบียบ อาจใช้ไม้กั้นร่วมกับเสาหลักจราจร หากลานจอดรถเป็นที่โล่งแจ้งควรติดตั้งเสาไฟส่องสว่างในกรณีที่มีการทำงานกะกลางคืน หาก ที่จอดรถ อยู่ในตัวอาคารและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ส่องไม่ถึง ควรจัดให้มีโคมไฟส่องสว่างและไฟฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัย

 

 

                  สำหรับที่จอดรถทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ควรมีอุปกรณ์ กรวยจราจร ที่กั้นล้อ เพื่อป้องกันการขับรถชนตัวอาคารหรือส่วนอื่น ๆ เพื่อป้องกันความเสียหายและเพื่อความเป็นระเบียบวินัยในการจอดด้วย เนื่องจากต้องทำที่จอดเป็นช่อง ให้รถแต่ละคันจอด ในส่วนของรถจักรยานยนต์ ควรแยกพื้นที่บางส่วนให้รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่จอด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเฉี่ยวชนจนล้ม จนนำมาซึ่งความเสียหายได้

                   หลังจากที่หน่วยงานความปลอดภัยประเมินความเสี่ยง หา วิธีลดอุบัติเหตุ สั่งซื้ออุปกรณ์ จัดทำแผนการตรวจเช็กอุปกรณ์ สรุปผลการดำเนินในแต่ละเดือนถึงอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้อง หากมีให้ทำการค้นหาสาเหตุก่อนที่จะทำการปรับปรุงและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำอีก โดยอาจจะกำหนดเป็นวิธีการในการปฏิบัติงาน เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย ติดตั้งป้ายเตือนและวิธีการอื่น ๆ เพื่อลดอุบัติเหตุและไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวกลับมาเกิดซ้ำอีกครั้ง 

                          สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานและมีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา trafficthai.com ศูนย์รวมอุปกรณ์ความปลอดภัย ที่ทันสมัย ตอบโจทย์ทุกความต้องการ มี จป. มืออาชีพ คอยตรวจสอบหน้างาน มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี ยินดีให้บริการ

 

ที่มาของข้อมูล :