ดาวน์โหลด แค็ตตาล็อก ร้านไทยจราจร แหล่งรวมอุปกรณ์จราจร กว่า 1,000 ชนิด!!
สันชะลอความเร็ว
“สันชะลอความเร็ว” หมายถึง ส่วนก่อสร้างเพิ่มเติมในแนวขวางทิศทางการจราจรที่ยกสูงจากถนนปกติ เพื่อชะลอความเร็วของยานพาหนะที่สัญจรบนถนน โดยการทําให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะรู้สึกถึงความไม่สะดวกในการขับขี่ผ่านสันชะลอความเร็วด้วยความเร็วที่มากกว่าที่ออกแบบไว้
1. ถนนสายหลัก (arterial roads) ได้แก่ ถนนซึ่งทําหน้าที่ให้บริการ และสนับสนุนงานด้านการจราจรเป็นหลัก และการเข้าออกพื้นที่ข้างเคียงและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามแนวถนนจะได้รับการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่การทํางานของถนนซึ่งเน้นในเรื่องการให้บริการแก่การจราจร
2.ถนนสายรอง (collector roads) ได้แก่ ถนนซึ่งทําหน้าที่ให้บริการแก่การจราจร และการเข้าออกพื้นที่และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามแนวถนนร่วมกัน โดยหน้าที่ทั้งสองประการนี้มีความสําคัญ
ใกล้เคียงกัน
3.ถนนสายย่อย (local streets) ได้แก่ ถนนซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องการธํารงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตความปลอดภัยคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความผาสุกของผู้อยู่อาศัยที่อยู่ริมถนน และมีหน้าที่หลักในการบริการเข้าออกพื้นที่เป็นประเด็นที่สําคัญ และหน้าที่ในการให้บริการแก่การจราจรเป็นประเด็นรอง
การแบ่งประเภทของสันชะลอความเร็ว
สันชะลอความเร็วที่พบได้โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.ลูกระนาด (speed bump) ลูกระนาดที่พบได้โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นส่วนยกที่ก่อสร้างเพิ่มเติมจากพื้นถนน โดยมีระยะฐานกว้างตั้งแต่ 30 ถึง 90 เซนติเมตร (ดูรูป ก) ลูกระนาดโดยส่วนใหญ่ถูกก่อสร้างในบริเวณพื้นที่จอดรถหรือบนถนนส่วนบุคคล ทั้งนี้ความเร็วชะลอของยานพาหนะ ณ จุดที่สัญจรผ่านลูกระนาดอยู่ที่ประมาณ 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือน้อยกว่า
ข้อกําหนดในการใช้ ลูกระนาด(speed bump)
ลูกระนาดสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเฉพาะกรณีที่ได้รับการก่อสร้างบนถนนในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น อาคารจอดรถ หมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เดินเท้าโดยกําหนดความสูงไม่ให้เกิน 7.5 เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับยานพาหนะที่สัญจรผ่าน
2.เนินชะลอความเร็ว (speed hump) เนินชะลอความเร็วที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ (ดูรูป ข ) ได้แก่ เนินชะลอความเร็วในรูปแบบที่เรียกว่า Watts profile hump วิจัยพัฒนาและทดสอบโดย Britain’s Transport and Road Research Laboratory ซึ่งเนินชะลอความเร็วที่พบได้โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นส่วนยกที่ก่อสร้างเพิ่มเติมจากพื้นถนน โดยมีระยะฐานกว้างมากกว่า 90 เซนติเมตร ทั้งนี้เนินชะลอความเร็วมีได้หลายรูปแบบแต่ในมาตรฐาน
ข้อกําหนดในการใช้ เนินชะลอความเร็ว
เนินชะลอความเร็วสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุดเมื่อถูกก่อสร้างบนถนนที่มีลักษณะเข้าเกณฑ์ในทุกข้อ ดังต่อไปนี้
2.1 ถนนสายย่อย (local streets) ที่ไม่ใช่ถนนสายหลัก (arterial roads) หรือถนนสายรอง (collector roads)
2.2 ถนนที่มีการจํากัดความเร็วของยานพาหนะไว้ไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2.3 ถนนที่มีปริมาณการจราจรของยานพาหนะซึ่งมีการสัญจรน้อยกว่า 400 คันต่อชั่วโมง
ในชั่วโมงที่มีการสัญจรสูงสุด
2.4 ถนนที่มีปริมาณการจราจรเฉพาะรถบรรทุกซึ่งมีน้ําหนักตั้งแต่ 4.5 ตันขึ้นไป สัญจรน้อยกว่า 50 คันต่อวัน
2.5 ถนนที่มีความลาดชันตามทางยาวของถนนน้อยกว่าร้อยละ 5
2.6 ถนนที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลักซึ่งมียานพาหนะสัญจรเข้าสู่ย่านธุรกิจ
2.7 ถนนซึ่งไม่ถูกใช้เป็นทางผ่านเข้าออกประจําของหน่วยงานที่ให้บริการด้านงานฉุกเฉินต่าง ๆ
2 รูปแบบเนินชะลอความเร็วตามมาตรฐานสากล
1.เนินชะลอความเร็วแบบโค้งพาราโบล่า รูปแบบ Watts profile hump ซึ่งมีลักษณะเป็นเสี้ยวโค้งพาราโบล่า กําหนดให้มีฐานกว้าง 3.7 เมตรโดยประมาณ และมีความสูง 76.2 มิลลิเมตร
2.เนินชะลอความเร็วแบบผิวบนแบนราบ กําหนดให้มีความสูงไม่เกิน 75 มิลลิเมตร และมีทางลาดขึ้นและลาดลงที่มีความชันตั้งแต่ 1:12 ถึง 1:15 โดยให้มีความยาวของผิวราบด้านบนในทิศทางที่ยานพาหนะสัญจรผ่านเป็นระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ซึ่งสามารถใช้เป็นทางคนเดินข้าม (ทางม้าลาย) ได้
หมายเหตุ: รายละเอียดของลักษณะของสันชะลอความเร็วที่แตกต่างไปจากที่กําหนดอาจทําให้ประสิทธิภาพในการควบคุมความเร็วของยานพาหนะบนท้องถนนลดลงหรืออาจทําให้เกิดความเสียหายต่อยานพาหนะของผู้ขับขี่ได้
ข้อกําหนดในการก่อสร้างสันชะลอความเร็ว
การก่อสร้างสันชะลอความเร็วควรสร้างให้ตั้งฉากกับเส้นทางการสัญจรของยานพาหนะ และควรสร้างให้ด้านข้างของสันชะลอความเร็วชิดขอบทางให้มากที่สุด ทั้งนี้ต้องเว้นที่ไว้สําหรับการระบายน้ําได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย สันชะลอความเร็วต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากผู้ขับขี่ยานพาหนะ และมีแสงสว่างที่เพียงพอจากไฟถนนตามสมควร บริเวณทางขึ้นเนินจะต้องมีการทําเครื่องหมายจราจรไว้บนพื้นผิวตามที่ระบุไว้ในข้อ
หมายเหตุ:
1. ป้าย ป1 ใช้สําหรับกรณีที่มีสันชะลอความเร็วจุดเดียว ส่วนป้าย ป1 และ ป2 ใช้คู่กันสําหรับสันชะลอความเร็วแรกในกรณีที่มีสันชะลอความเร็วหลายจุด และป้ายดังกล่าวเหล่านี้ไม่จําเป็นในกรณี
ของการใช้สันชะลอความเร็วเป็นกลุ่มครอบคลุมบริเวณกว้าง
2. รูปตัดด้านข้างของสันชะลอความเร็ว
การกําหนดระยะห่างระหว่างสันชะลอความเร็ว
กรณีของการใช้สันชะลอความเร็วมากกว่าหนึ่งจุด สันชะลอความเร็วแรกต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากผู้ขับขี่ยานพาหนะโดยไม่ทําให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะต้องลดความเร็วลงอย่างกะทันหัน (naturallylow) ในขณะที่ขับขี่ยานพาหนะเข้าสู่สันชะลอความเร็ว หากต้องการควบคุมความเร็วของยานพาหนะให้มีความเร็วช้าอย่างคงที่ในช่วงความยาวระยะหนึ่งของถนน อาจกําหนดให้ใช้สันชะลอความเร็วในหลายจุด ในกรณีดังกล่าวควรออกแบบระยะห่างระหว่างสันชะลอความเร็วให้มีความสม่ําเสมอกันมากที่สุด โดยให้คํานึงถึงการเผื่อระยะห่างพอสมควรสําหรับถนนที่เข้ามาเชื่อมต่อด้วย ทั้งนี้ระยะห่างของสันชะลอความเร็วควรมีระยะตั้งแต่ 80 ถึง 120 เมตร เนื่องจากระยะห่างระหว่างสันชะลอความเร็วที่มากกว่า 120 เมตร อาจทําให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะใช้ความเร็วที่มีค่าสูงกว่ามาตรฐานในขณะขับขี่ยานพาหนะอยู่ระหว่างสันชะลอความเร็ว
หมายเหตุ:
1. ป้าย ป1 ใช้สําหรับกรณีที่มีสันชะลอความเร็วจุดเดียว ส่วนป้าย ป1 และ ป2 ใช้คู่กันสําหรับ สันชะลอความเร็วแรกในกรณีที่มีสันชะลอความเร็วหลายจุด และป้ายดังกล่าวเหล่านี้ไม่จําเป็นในกรณีของการใช้สันชะลอความเร็วเป็นกลุ่มครอบคลุมบริเวณกว้าง
2. ในกรณีที่สันชะลอความเร็วถูกใช้เป็นทางคนเดินข้าม (ทางม้าลาย) ให้ใช้เครื่องหมายจราจร และป้ายเตือนคนข้ามทางแทนที่ป้ายเตือนรถกระโดด
3. รูปตัดด้านข้างของสันชะลอความเร็ว
การจัดระบบสันชะลอความเร็ว
การจัดระบบสันชะลอความเร็วมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้สันชะลอความเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากสาธารณชน การจัดระบบสันชะลอความเร็วควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังต่อไปนี้
1. สันชะลอความเร็วแรกควรอยู่ในระยะ 100 เมตร จากต้นถนนสายย่อย เพื่อให้สามารถควบคุมความเร็วของยานพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สันชะลอความเร็วต้องอยู่ห่างจากทางแยกต่าง ๆเป็นระยะพอสมควร เพื่อไม่เป็นการขัดขวางการจราจรที่เข้าสู่หรือออกจากถนนบริเวณทางแยก
2. สันชะลอความเร็วต้องไม่กีดขวางทางเข้าออกของพื้นที่ส่วนบุคคล
3. ระยะการมองเห็นสันชะลอความเร็วต้องมีระยะตามสมควร ซึ่งเทียบเคียงได้กับทัศนวิสัยในการขับขี่ยานพาหนะได้อย่างปลอดภัยที่ความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
4. สันชะลอความเร็วควรถูกก่อสร้างตั้งฉากกับทิศทางของการจราจร
5. ระยะห่างระหว่างสันชะลอความเร็วแต่ละจุดควรมีระยะตั้งแต่ 80 ถึง 120 เมตร
6. สันชะลอความเร็วควรมีความยาวด้านข้างเต็มพื้นที่ถนนที่ยานพาหนะสามารถสัญจรผ่านได้ยกเว้นกรณีที่จะต้องเผื่อสําหรับการระบายน้ํา เนื่องจากสันชะลอความเร็วที่มีความยาวด้านข้างไม่เต็มพื้นที่ถนน อาจเป็นเหตุให้ผู้ขับขี่เลี่ยงไปขับผ่านทางด้านข้างที่ไม่ถูกปกคลุมด้วยสันชะลอความเร็ว
7. บริเวณทางสัญจรที่มีสันชะลอความเร็วควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะสามารถมองเห็นสันชะลอความเร็วได้อย่างชัดเจน
ไม่ต้องกังวล!! ลูกค้ากว่า 300,000 รายในประเทศไทย ที่เชื่อใจ และ รับบริการจาก ร้านไทยจราจร
ทำไมต้องร้านไทยจราจร?
เสียงตอบรับจากผู้ใช้งานจริง!! ลูกค้าประทับใจ ร้านไทยจราจร ประสบการณ์10 ปี
คุณจุฬาพร ทรงพัฒนากุล
ฝ่ายความปลอดภัย
อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ สาทร
คุณกิตติคุณ สามัคคีนิชย์
Project Manager
บริษัท พีแอนด์เค จำกัด
คุณธนพล จิรวรรบดี
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท อริธเมทิค จำกัด
คุณณัชชานน ยุชังกุล
เจ้าของกิจการ
งาน EVENT และการแสดง
คุณสมศักดิ์ ไกรสูง
ผู้รับเหมา
กรมการขนส่งทางบก
คุณ เจนณรงค์ มงคลจรัสชัย
เจ้าของกิจการ
ทำป้าย โฆษณา
คุณชัยณงค์ จงจำรัส
หน่วยงานซ่อมบำรุง
โรงพยาบาลบางประกอก 3
คุณ ยคนธร จิตอารีย์รัตน์
เจ้าของกิจการ
โรงแรม มนเต แม่สอด
ทุกการสนับสนุนของลูกค้า....เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมไทยให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น!
กิจกรรมตอบแทนสังคม ในโครงการ "สมาร์ท ทำดีเพื่อสังคม"
ขอบพระคุณลูกค้าที่สนับสนุนร้านไทยจราจร หรือ บริษัท สมาร์ท เบสท์บายส์จำกัด เรานำรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายสินค้าและบริการ มาตอบแทนสังคมไทย และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้ประเทศไทย น่าอยู่ยิ่งขึ้น
เพราะ เราเข้าใจว่า "การให้ ต้องไม่หวังผลตอบแทน และ เราต้องช่วยเหลือสังคม แบบไม่มีที่สิ้นสุด " โดยทุกๆปี เราจะจัดโครงการ "สมาร์ท ทำดีเพื่อสังคม" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรอยยิ้ม และโอกาสพัฒนาสังคม ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น เราขอเป็นตัวแทนจากมูลนิธิที่เราไปช่วยเหลือ ขอบพระคุณลูกค้าที่สนับสนุนเรามีใน ณ ที่นี่ด้วย
เราช่วยเหลือสังคมที่ไหนบ้าง ?