Showing all 66 results


   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

ดาวน์โหลด แค็ตตาล็อก ร้านไทยจราจร แหล่งรวมอุปกรณ์จราจร กว่า 1,000 ชนิด!!

ร้านไทยจราจร
แค็ตตาล็อค ร้านไทยจราจร

สันชะลอความเร็ว

               “สันชะลอความเร็ว” หมายถึง ส่วนก่อสร้างเพิ่มเติมในแนวขวางทิศทางการจราจรที่ยกสูงจากถนนปกติ เพื่อชะลอความเร็วของยานพาหนะที่สัญจรบนถนน โดยการทําให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะรู้สึกถึงความไม่สะดวกในการขับขี่ผ่านสันชะลอความเร็วด้วยความเร็วที่มากกว่าที่ออกแบบไว้

1. ถนนสายหลัก (arterial roads)  ได้แก่ ถนนซึ่งทําหน้าที่ให้บริการ และสนับสนุนงานด้านการจราจรเป็นหลัก และการเข้าออกพื้นที่ข้างเคียงและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามแนวถนนจะได้รับการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่การทํางานของถนนซึ่งเน้นในเรื่องการให้บริการแก่การจราจร

 
2.ถนนสายรอง (collector roads) ได้แก่ ถนนซึ่งทําหน้าที่ให้บริการแก่การจราจร และการเข้าออกพื้นที่และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามแนวถนนร่วมกัน โดยหน้าที่ทั้งสองประการนี้มีความสําคัญ
ใกล้เคียงกัน 

3.ถนนสายย่อย (local streets) ได้แก่ ถนนซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องการธํารงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตความปลอดภัยคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความผาสุกของผู้อยู่อาศัยที่อยู่ริมถนน และมีหน้าที่หลักในการบริการเข้าออกพื้นที่เป็นประเด็นที่สําคัญ และหน้าที่ในการให้บริการแก่การจราจรเป็นประเด็นรอง

การแบ่งประเภทของสันชะลอความเร็ว

             สันชะลอความเร็วที่พบได้โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.ลูกระนาด (speed bump)  ลูกระนาดที่พบได้โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นส่วนยกที่ก่อสร้างเพิ่มเติมจากพื้นถนน โดยมีระยะฐานกว้างตั้งแต่ 30 ถึง 90 เซนติเมตร (ดูรูป ก) ลูกระนาดโดยส่วนใหญ่ถูกก่อสร้างในบริเวณพื้นที่จอดรถหรือบนถนนส่วนบุคคล ทั้งนี้ความเร็วชะลอของยานพาหนะ ณ จุดที่สัญจรผ่านลูกระนาดอยู่ที่ประมาณ 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือน้อยกว่า

ข้อกําหนดในการใช้ ลูกระนาด(speed bump)

          ลูกระนาดสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเฉพาะกรณีที่ได้รับการก่อสร้างบนถนนในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น อาคารจอดรถ หมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เดินเท้าโดยกําหนดความสูงไม่ให้เกิน 7.5 เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับยานพาหนะที่สัญจรผ่าน

2.เนินชะลอความเร็ว (speed hump) เนินชะลอความเร็วที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ (ดูรูป ข ) ได้แก่ เนินชะลอความเร็วในรูปแบบที่เรียกว่า Watts profile hump วิจัยพัฒนาและทดสอบโดย Britain’s Transport and Road Research Laboratory ซึ่งเนินชะลอความเร็วที่พบได้โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นส่วนยกที่ก่อสร้างเพิ่มเติมจากพื้นถนน โดยมีระยะฐานกว้างมากกว่า 90 เซนติเมตร ทั้งนี้เนินชะลอความเร็วมีได้หลายรูปแบบแต่ในมาตรฐาน

ข้อกําหนดในการใช้ เนินชะลอความเร็ว

         เนินชะลอความเร็วสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุดเมื่อถูกก่อสร้างบนถนนที่มีลักษณะเข้าเกณฑ์ในทุกข้อ ดังต่อไปนี้
2.1 ถนนสายย่อย (local streets) ที่ไม่ใช่ถนนสายหลัก (arterial roads) หรือถนนสายรอง (collector roads)
2.2 ถนนที่มีการจํากัดความเร็วของยานพาหนะไว้ไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2.3 ถนนที่มีปริมาณการจราจรของยานพาหนะซึ่งมีการสัญจรน้อยกว่า 400 คันต่อชั่วโมง
ในชั่วโมงที่มีการสัญจรสูงสุด
2.4 ถนนที่มีปริมาณการจราจรเฉพาะรถบรรทุกซึ่งมีน้ําหนักตั้งแต่ 4.5 ตันขึ้นไป สัญจรน้อยกว่า 50 คันต่อวัน
2.5 ถนนที่มีความลาดชันตามทางยาวของถนนน้อยกว่าร้อยละ 5
2.6 ถนนที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลักซึ่งมียานพาหนะสัญจรเข้าสู่ย่านธุรกิจ
2.7 ถนนซึ่งไม่ถูกใช้เป็นทางผ่านเข้าออกประจําของหน่วยงานที่ให้บริการด้านงานฉุกเฉินต่าง ๆ

2 รูปแบบเนินชะลอความเร็วตามมาตรฐานสากล

1.เนินชะลอความเร็วแบบโค้งพาราโบล่า รูปแบบ Watts profile hump ซึ่งมีลักษณะเป็นเสี้ยวโค้งพาราโบล่า กําหนดให้มีฐานกว้าง 3.7 เมตรโดยประมาณ และมีความสูง 76.2 มิลลิเมตร 

2.เนินชะลอความเร็วแบบผิวบนแบนราบ กําหนดให้มีความสูงไม่เกิน 75 มิลลิเมตร และมีทางลาดขึ้นและลาดลงที่มีความชันตั้งแต่ 1:12 ถึง 1:15 โดยให้มีความยาวของผิวราบด้านบนในทิศทางที่ยานพาหนะสัญจรผ่านเป็นระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ซึ่งสามารถใช้เป็นทางคนเดินข้าม (ทางม้าลาย) ได้

                 หมายเหตุ: รายละเอียดของลักษณะของสันชะลอความเร็วที่แตกต่างไปจากที่กําหนดอาจทําให้ประสิทธิภาพในการควบคุมความเร็วของยานพาหนะบนท้องถนนลดลงหรืออาจทําให้เกิดความเสียหายต่อยานพาหนะของผู้ขับขี่ได้

ข้อกําหนดในการก่อสร้างสันชะลอความเร็ว


           การก่อสร้างสันชะลอความเร็วควรสร้างให้ตั้งฉากกับเส้นทางการสัญจรของยานพาหนะ และควรสร้างให้ด้านข้างของสันชะลอความเร็วชิดขอบทางให้มากที่สุด ทั้งนี้ต้องเว้นที่ไว้สําหรับการระบายน้ําได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย สันชะลอความเร็วต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากผู้ขับขี่ยานพาหนะ และมีแสงสว่างที่เพียงพอจากไฟถนนตามสมควร บริเวณทางขึ้นเนินจะต้องมีการทําเครื่องหมายจราจรไว้บนพื้นผิวตามที่ระบุไว้ในข้อ

หมายเหตุ:
1. ป้าย ป1 ใช้สําหรับกรณีที่มีสันชะลอความเร็วจุดเดียว ส่วนป้าย ป1 และ ป2 ใช้คู่กันสําหรับสันชะลอความเร็วแรกในกรณีที่มีสันชะลอความเร็วหลายจุด และป้ายดังกล่าวเหล่านี้ไม่จําเป็นในกรณี
ของการใช้สันชะลอความเร็วเป็นกลุ่มครอบคลุมบริเวณกว้าง
2. รูปตัดด้านข้างของสันชะลอความเร็ว

การกําหนดระยะห่างระหว่างสันชะลอความเร็ว


           กรณีของการใช้สันชะลอความเร็วมากกว่าหนึ่งจุด สันชะลอความเร็วแรกต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากผู้ขับขี่ยานพาหนะโดยไม่ทําให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะต้องลดความเร็วลงอย่างกะทันหัน (naturallylow) ในขณะที่ขับขี่ยานพาหนะเข้าสู่สันชะลอความเร็ว หากต้องการควบคุมความเร็วของยานพาหนะให้มีความเร็วช้าอย่างคงที่ในช่วงความยาวระยะหนึ่งของถนน อาจกําหนดให้ใช้สันชะลอความเร็วในหลายจุด ในกรณีดังกล่าวควรออกแบบระยะห่างระหว่างสันชะลอความเร็วให้มีความสม่ําเสมอกันมากที่สุด โดยให้คํานึงถึงการเผื่อระยะห่างพอสมควรสําหรับถนนที่เข้ามาเชื่อมต่อด้วย ทั้งนี้ระยะห่างของสันชะลอความเร็วควรมีระยะตั้งแต่ 80 ถึง 120 เมตร เนื่องจากระยะห่างระหว่างสันชะลอความเร็วที่มากกว่า 120 เมตร อาจทําให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะใช้ความเร็วที่มีค่าสูงกว่ามาตรฐานในขณะขับขี่ยานพาหนะอยู่ระหว่างสันชะลอความเร็ว

หมายเหตุ:
1. ป้าย ป1 ใช้สําหรับกรณีที่มีสันชะลอความเร็วจุดเดียว ส่วนป้าย ป1 และ ป2 ใช้คู่กันสําหรับ    สันชะลอความเร็วแรกในกรณีที่มีสันชะลอความเร็วหลายจุด และป้ายดังกล่าวเหล่านี้ไม่จําเป็นในกรณีของการใช้สันชะลอความเร็วเป็นกลุ่มครอบคลุมบริเวณกว้าง
2. ในกรณีที่สันชะลอความเร็วถูกใช้เป็นทางคนเดินข้าม (ทางม้าลาย) ให้ใช้เครื่องหมายจราจร และป้ายเตือนคนข้ามทางแทนที่ป้ายเตือนรถกระโดด
3. รูปตัดด้านข้างของสันชะลอความเร็ว

การจัดระบบสันชะลอความเร็ว

           การจัดระบบสันชะลอความเร็วมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้สันชะลอความเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากสาธารณชน การจัดระบบสันชะลอความเร็วควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังต่อไปนี้
1. สันชะลอความเร็วแรกควรอยู่ในระยะ 100 เมตร จากต้นถนนสายย่อย เพื่อให้สามารถควบคุมความเร็วของยานพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สันชะลอความเร็วต้องอยู่ห่างจากทางแยกต่าง ๆเป็นระยะพอสมควร เพื่อไม่เป็นการขัดขวางการจราจรที่เข้าสู่หรือออกจากถนนบริเวณทางแยก
2. สันชะลอความเร็วต้องไม่กีดขวางทางเข้าออกของพื้นที่ส่วนบุคคล
3. ระยะการมองเห็นสันชะลอความเร็วต้องมีระยะตามสมควร ซึ่งเทียบเคียงได้กับทัศนวิสัยในการขับขี่ยานพาหนะได้อย่างปลอดภัยที่ความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
4. สันชะลอความเร็วควรถูกก่อสร้างตั้งฉากกับทิศทางของการจราจร
5. ระยะห่างระหว่างสันชะลอความเร็วแต่ละจุดควรมีระยะตั้งแต่ 80 ถึง 120 เมตร
6. สันชะลอความเร็วควรมีความยาวด้านข้างเต็มพื้นที่ถนนที่ยานพาหนะสามารถสัญจรผ่านได้ยกเว้นกรณีที่จะต้องเผื่อสําหรับการระบายน้ํา เนื่องจากสันชะลอความเร็วที่มีความยาวด้านข้างไม่เต็มพื้นที่ถนน อาจเป็นเหตุให้ผู้ขับขี่เลี่ยงไปขับผ่านทางด้านข้างที่ไม่ถูกปกคลุมด้วยสันชะลอความเร็ว
7. บริเวณทางสัญจรที่มีสันชะลอความเร็วควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะสามารถมองเห็นสันชะลอความเร็วได้อย่างชัดเจน

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006