โคมไฟสนามพลังงานแสงอาทิตย์ คือตัวเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา พื้นที่ที่มีแสงไฟน้อยหรือกั้นพื้นที่ส่วนบุคคล
เบื่อมั้ย? กับแสงสว่างไม่เพียงพอ จะติดไฟทั้งที ต้องมาเสียค่าแรงติดตั้งเดินสายไฟ!!
ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006
ดาวน์โหลด แค็ตตาล็อก ร้านไทยจราจร แหล่งรวมอุปกรณ์จราจร กว่า 1,000 ชนิด!!
ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
วัตถุประสงค์ของการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง
การช่วยเพิ่มความสามารถในการขับขี่ในช่วงเวลากลางคืนเพื่อให้การมองเห็นเส้นทาง และวัตถุข้างทางที่ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็ว ทําให้ผู้ใช้ทางสามารถหลบหลีกหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุการออกแบบเพื่อติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างนั้นผู้ออกแบบต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งานจริงของผู้ใช้ทาง การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างที่ดี และมีประสิทธิภาพนั้น ควรคํานึงถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และความปลอดภัยต่อผู้ใช้ทาง โดยมีวัตถุ ประสงค์ดังนี้
- เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุ ทางถนนในช่วงเวลากลางคืน และลดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้ทางหลวง
- เพื่อลดปัญหาอาชญากรรม และเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้ทางหลวง
- เพื่อเพิ่มความคล่องตัว และการมองเห็นแก่ผู้ใช้ทางหลวง
เหตุอันควรในการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง
ข้อพิจารณาถึงเหตุอันควรในการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างทั้งแบบต่อเนื่อง และเฉพาะบริเวณ
การติดตั้งแบบต่อเนื่อง (Continuous Lighting)
เป็นการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนถนนที่ยาวต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ 500 เมตร ขึ้นไปโดยพิจารณาติดตั้งจากเหตุอันควรดังนี้
- ปริมาณจราจรเฉลี่ยต่อวันเกินกว่า 25,000 คันต่อวัน
- บริเวณเกาะกลางแบบยก (Raised Median) และสะดวกต่อการบำรุงรักษา
- บริเวณที่การจราจรมีความขัดแย้งกันสูง เช่น ถนนที่ช่องทางเดินรถกว้าง บริเวณที่มีความสําคัญต่อการพัฒนา (พื้นที่ธุรกิจหรือเขตที่พักอาศัย)
- บริเวณที่มีสัดส่วนรถขนาดใหญ่มากกวา 28%
- พื้นที่ข้างเคียงมีแสงสว่างจ้ามาก รบกวนการมองเห็นของผู้ขับขี่
- เป็นช่วงทางสั้นๆ ที่อยู่ระหว่างเส้นทางมีการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างเดิม
- บริเวณเขตชุมชนที่มีสถิตออุบัติเหตุ ช่วงเวลากลางคืนมากกว่าช่วงเวลากลางวัน 2 เท่า
- บริเวณที่มีคนเดินเท่าจํานวนมากในช่วงเวลากลางคืน
**หมายเหตุ: บริเวณเกาะกลางแบบยก (Raised Median) จะแนะนําการติดตั้งดวงโคมแบบติดกิ่งคู่
การติดตั้งเฉพาะบริเวณ (Specific Lighting)
- บริเวณที่มีการติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบเพื่อแจ้งเตือนจุดอันตรายหรือทางแยก
- บริเวณที่มีสัดส่วนปริมาณจราจรกลับรถ (U-Turn) สูง
- บริเวณทางหลวงที่มีการเปลี่ยนแปลงกายภาพถนน เช่น ทางต่างระดับวงเวียน และสะพาน
- บริเวณที่มีลักษณะทางเรขาคณิตที่ไม่ปลอดภัย เช่น ทางโค้งที่ระยะการมองเห็นจํากัด ทางลาดชันมาก
- บริเวณทางข้ามหรือทางม้าลายที่มีจํานวนคนเดินข้ามถนนเป็นจํานวนมาก
- บริเวณจุดตัดทางรถไฟ
- บริเวณเขตชุมชนที่มีสถิติอุบัติเหตุช่วงเวลากลางคืนมากกว่าช่วงเวลากลางวัน 2 เท่าหรือมี
การศึกษาที่ระบุได้ว่าการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ ในเวลากลางคืนได้
วัสดุและอุปกรณ์
เสาไฟฟ้าแสงสวางประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานดังต่อไปนี้
- ฐานราก (Foundations)
- เสา (Pole) และฐานเสา (Pole Base)
- กิ่งโคม (Bracket)
- โคมไฟฟ้า (Lanterns)
**ระยะต่างๆ และตําแหน่งสําคัญของโครงสร้างเสาไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวงแสดงดังรูป
ส่วนประกอบโครงสร้างเสาไฟฟ้าแสงสว่างความสูงไม่เกิน 12 เมตร
ฐานราก (Foundations)
เมื่อกำหนดจุดที่เป็นติดตั้งเป็นที่เรียนร้อยแล้ว จะต้องขุดระยะฝังฐานให้มีความลึกเพียงพอสำหรับวางฐานราก การเทคอนกรีตหล่อฐานรากให้เทครั้งเดียว และหล่อให้สูงจากระดับผิวเดิม 5 ซม. เพื่อให้เหลือพื้นที่สำหรับปรับระดับและเชื่อมต่อกับตัวเสา บริเวญฐานเสาจะใช้แผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกับโคนเสา และเชื่อมต่อกับฐานรากคอนกรีตโดยใช้สลักเกลียวจำนวน 4 ตัวยึดแน่นทั้ง 4 ด้านของแผ่นเหล็กโลหะสี่เหลี่ยมดังรูป
เสา (Pole) และ ฐานเสา (Pole Base)
เสาที่ใช้สําหรับงานไฟฟ้าแสงสว่าง มีข้อกําหนดโดยทั่วไปดังนี้
- ตัวเสาควรทำจากวัสดุ เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) เป็นรูปเรียวกลวงยึดติดกับฐาน
- โคนเสาควรจะต้องมีช่องปิดเปิดได้ขนาดพอเหมาะที่จะบํารุงรักษา ฝาที่ปิดเปิดจะต้องมีระบบล๊อคเป็นรูปแบบเดียวกันทุกเสา
- ความสูงของดวงโคมจะต้องไม่ต่ำกว่า 7.5 เมตร และไม่เกินกว่า 12 เมตร (โดยทั่วไปจะใช้ความสูงของดวงโคมที่ 9 และ 12 เมตรขึ้นอยู่กับกำลังความส่องสว่างและลักษณะพื้นที่ใช้งาน)
- สวนของเสาที่อยู่เหนือพื้นดินจะต้องตั้งตรง ไม่เอียงออกจากแนวตรงเกิน 2.1 มม.ต่อเมตร
- วัสดุ ที่ใช้ทําเสาไฟฟ้าและกิ่งโคมบนทางหลวงจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ
การติดตั้งเสาที่มีฐานแบบ Breakaway
ในปัจจุบัน หลายประเทศได้พัฒนา และประยุกต์ใช้เสาไฟฟ้าแสงสว่างชนิดที่มีฐานแบบ Breakaway ที่สามารถหกล้มได้เมื่อเกิดการชนดังรูปที่ 5-4 และรูปที่ 5-5 หลักการสำคัญของการออกแบบฐานชนิดนี้คือ การสร้างกลไก (Mechanism) เพื่อรับแรงเฉือนแทนที่จะเป็นการรับแรงดัด ดังนั้น เมื่อเกิดการชน บริเวณข้อต่อควรรับแรงเฉือนได้น้อยกว่าการโก่งตัวของเสาเพื่อให้เกิดการเฉือนขาด และล้มในแนวเดียวกันกับทิศทางการชน ส่งผลให้ผู้ใช้ทางที่ประสบอุบัติเหตุมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นกลไกดังกล่าวได้ถูกออกแบบให้ทํางานเมื่อยานพาหนะพุ่งเข้าชนที่ความสูงประมาณ 50 ซม. กายภาพถนนที่สามารถติดตั้งเสาที่มีฐานแบบ Breakaway
เสาไฟฟ้าส่องสว่างที่มีส่วนรองรับฐานแบบ Breakaway
เสาไฟฟ้าแสงสว่างที่มีส่วนรองรับแบบ Breakaway ประเภท Frangible Coupling
กิ่งโคม (Bracket)
โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการติดตั้งดวงโคม (กิ่งเดี่ยว กิ่งคู่) ตําแหน่งดวงโคมที่ติดบริ เวณปลายของกิ่งโคมต้องมีระยะยื่นเข้าไปในช่องจราจรเพื่อประสิทธิภาพการกระจายแสง ขณะที่โครงสร้างเสาจะติดตั้งทั้งขอบทางเดินรถ ซึ่งการติดตั้งกิ่งโคมจะมีข้อกําหนดเบื้องต้นดังนี้
- โครงสร้างของกิ่งโคมต้องแข็งแรง พยุงดวงโคมได้ในทุกสภาวะโดยปราศจากการเคลื่อนไหว และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะติดดวงโคม
- กิ่งโคมที่ติดตั้งจะทำมุมกับแนวราบประมาณ 15 องศา และจะถูกตรึงแน่นอยู่ที่ส่วนรองรับ โดยวิธีการเชื่อมสลักเกลียวหรือแผนโลหะ (Wall Plates)
- ในบางกรณีที่สภาพข้างทางไม่เหมาะต่อการติดตั้งตัวเสาไฟฟ้าแสงสว่างกิ่งโคมสามารถติดตั้งด้วยวิธีเชื่อมต่อกับโครงสร้างเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้แต่ต้องขออนุญาตและได้รับการยินยอมจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ข้อกําหนดด้านระยะห่างจากขอบไหลทาง หรือคันหิน
ระยะติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง จะแบ่งเป็นบริเวณนอกเมืองและในเมืองหรือเขตชุมชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ถนนในเขตนอกเมือง ให้ทําการติดตั้งเสาห่างจากไหล่ทางไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร แต่ในกรณีเป็นบริเวณที่ไม่มีไหล่ทาง ให้ติดตั้งห่างจากขอบผิวทางไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ดังรูป เว้นแต่
บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่จํากัดหรือบริเวณสะพาน ซึ่งอาจจะลดระยะห่างลงได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1.0 เมตร
ระยะห่างของเสาไฟฟ้าแสงสว่างจากขอบไหล่ทางและขอบผิวจราจร
- ถนนในเขตเมืองหรือเขตชุมชนที่ขอบทางเป็นคันหิน (Curb) ควรมีระยะห่างระหว่างเสาและขอบทางอยางน้อย 1.5 เมตร ดังรูปแต่สามารถลดลงได้ ตามสัดส่วนความลาดหลังทางเข้าหาคันหิน ดังต่อไปนี้
ระยะห่างของเสาไฟฟ้าแสงสว่างจากขอบคันหิน
รูปแบบการติดตั้งดวงโคม
การติดตั้งดวงโคมแบบกิ่งเดี่ยวติดด้านเดียว (Single Side)
การติดตั้งดวงโคมแบบกิ่งเดี่ยวติดด้านเดียวดังรูป เหมาะที่จะติดตั้งบนทางหลวงที่มีความกว้าง ถนนน้อยกว่าความสูงดวงโคม และเป็นพื้นที่ที่ต้องการการกระจายแสงด้านข้างประเภท Type ll และ Type lll ได้แก่ ทางลาดเชื่อมกับทางต่างระดับ (Ramp) สะพานกลับรถ ทางขนาน และทางสายรองหรือถนนท้องถิ่นขนาด 2 ช่องจราจรที่ไม่แบ่งทิศทางจราจร
รูปแบบการติดตั้งดวงโคมแบบกิ่งเดียวติดด้านเดี่ยว
การติดตั้งดวงโคมแบบกิ่งเดียวติดตรงข้าม
การติดตั้งดวงโคมแบบกิ่งเดียวติดตรงข้ามดังรูป เหมาะที่จะติดตั้งบนทางหลวงที่มีความกว้างบนถนนมากกว่า 1.5 เท่าของความสูงดวงโคม และเป็นพื้นที่ต้องการกระจายแสงด้านข้างประเภท Type lll และ Type lv ได้แก่ ถนน 4 หรือ 6 ช่องจราจรทั้งที่มีเกาะกลางถนน และไม่มีเกาะกลาง
รูปแบบการติดตั้งดวงโคมแบบกิ่งเดียวติดตรงข้าม
การติดตั้งดวงโคมแบบกิ่งเดี่ยวติดสลับ
การติดตั้งแบบกิ่งเดี่ยวติดสลับดังรูป เหมาะที่จะติดตั้งบนทางหลวงที่มีความกว้างถนนระหว่าง 1 ถึง 1.5 เท่าของความสูงดวงโคม และเป็นพื้นที่ที่ต้องการ การกระจายแสงด้านข้างประเภท Type lll และ Type lv ได้แก่ ถนนหลายช่องจราจรที่ไม่มีเกาะกลาง หรือมีเกาะกลางถนน หรือมีเกาะกลางแคบ เช่น เกาะสี เป็นต้น
รูปแบบการติดตั้งดวงโคมแบบกิ่งเดี่ยวติดสลับ
การติดตั้งดวงโคมแบบติดกิ่งคู่เกาะกลาง
การติดตั้งดวงโคมแบบติดกิ่งคู่เกาะกลางดังรูป เหมาะที่จะติดตั้งบนถนน 6 ช่องจราจรในเขตเมืองที่มีเกาะกลางถนนแบบยก (Raised Median) โดยเกาะกลางต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 6 เมตร
รูปแบบการติดตั้งดวงโคมแบบติดกิ่งคู่เกาะกลาง
รูปแบบการติดตั้งดวงโคมแบบเสาสูง
เสาไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไปทั้งแบบต่อเนื่อง หรือเฉพาะบริเวณจะมีความสูงของเสาไม่เกิน 15 เมตร แต่ในบางพื้นที่ อาจมีลักษณะทางกายภาพบางประการที่จําเป็นจะต้องติดตั้งเสาที่มีความสูง 20 เมตรหรือมากกว่านั้นซึ่งจะเรียกเสาประเภทนี้ว่าเป็น “เสาสูง” (โดยทั่วไปมีความสูง 20 25 และ 30 เมตร) การติดตั้งดวงโคมบนเสาสูงดังรูป เหมาะที่จะติดตั้งในพื้นที่ที่มีลักษณะกายภาพถนนดังนี้
การติดตั้งแบบต่อเนื่อง (Continuous Lighting)
- ถนน 6 ช่องจราจรขึ้นไปที่มีเกาะกลางถนน
- บริเวณที่ต้องการการส่องสว่างอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างประเภทอื่นๆได้เช่น ถนนที่มีเขตทางกว้างมาก (80-100 เมตร)
การติดตั้งเฉพาะบริเวณ (Specific Lighting)
- บริเวณสะพานต่างระดับหรือทางแยกที่มีความซับซ้อน
- บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง (Toll Plazas)
- บริเวณจุดพักรถริมทางหลวง (Rest Areas)
หากถนนที่มีขนาด 8 ช่องจราจร แตลักษณะพื้นที่ และสภาพแวดล้อมโดยรอบไม่เหมาะที่จะติดตั้งแบบเสาสูง ผู้ออกแบบสามารถเลือกติดตั้งดวงโคม 2 ประเภทควบคู่กัน คือ บริเวณเกาะกลางและข้างทางของแต่ละทิศทางการจราจร โดยเลือกตั้ดดวงโคมแบบกิ่งเดี่ยวติดตรงข้าม (Opposite -Both Sides)
รูปแบบการติดตั้งดวงโคมแบบเสาสูง
ไม่ต้องกังวล!! ลูกค้ากว่า 300,000 รายในประเทศไทย ที่เชื่อใจ และ รับบริการจาก ร้านไทยจราจร
ทำไมต้องร้านไทยจราจร?
เสียงตอบรับจากผู้ใช้งานจริง!! ลูกค้าประทับใจ ร้านไทยจราจร ประสบการณ์10 ปี
คุณจุฬาพร ทรงพัฒนากุล
ฝ่ายความปลอดภัย
อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ สาทร
คุณกิตติคุณ สามัคคีนิชย์
Project Manager
บริษัท พีแอนด์เค จำกัด
คุณธนพล จิรวรรบดี
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท อริธเมทิค จำกัด
คุณณัชชานน ยุชังกุล
เจ้าของกิจการ
งาน EVENT และการแสดง
คุณสมศักดิ์ ไกรสูง
ผู้รับเหมา
กรมการขนส่งทางบก
คุณ เจนณรงค์ มงคลจรัสชัย
เจ้าของกิจการ
ทำป้าย โฆษณา
คุณชัยณงค์ จงจำรัส
หน่วยงานซ่อมบำรุง
โรงพยาบาลบางประกอก 3
คุณ ยคนธร จิตอารีย์รัตน์
เจ้าของกิจการ
โรงแรม มนเต แม่สอด
ทุกการสนับสนุนของลูกค้า....เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมไทยให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น!
กิจกรรมตอบแทนสังคม ในโครงการ "สมาร์ท ทำดีเพื่อสังคม"
ขอบพระคุณลูกค้าที่สนับสนุนร้านไทยจราจร หรือ บริษัท สมาร์ท เบสท์บายส์จำกัด เรานำรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายสินค้าและบริการ มาตอบแทนสังคมไทย และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้ประเทศไทย น่าอยู่ยิ่งขึ้น
เพราะ เราเข้าใจว่า "การให้ ต้องไม่หวังผลตอบแทน และ เราต้องช่วยเหลือสังคม แบบไม่มีที่สิ้นสุด " โดยทุกๆปี เราจะจัดโครงการ "สมาร์ท ทำดีเพื่อสังคม" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรอยยิ้ม และโอกาสพัฒนาสังคม ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น เราขอเป็นตัวแทนจากมูลนิธิที่เราไปช่วยเหลือ ขอบพระคุณลูกค้าที่สนับสนุนเรามีใน ณ ที่นี่ด้วย
เราช่วยเหลือสังคมที่ไหนบ้าง ?